การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ไชยวัฒนตระกูล หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำเกิน, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ของหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระยะเวลาในการวิจัย มีนาคม 2561 ถึง มิถุนายน 2561 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.6 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 75.6 การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 48.4 อาชีพรับราชการ ร้อยละ 35.5 ค่ามัธยฐานของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 บาท รูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการจัดการตนเอง ร่วมกับการประเมินพฤติกรรมการดูแล ตนเองและการให้ความรู้ โดยพยาบาลหน่วยไตเทียม ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) การตั้งเป้าหมายใน การควบคุมภาวะน้ำเกิน 3) การวางแผนและการปฏิบัติ ด้านการจัดการด้านการบริโภคอาหาร การ ควบคุมจำกัดน้ำดื่ม การจัดการยา และการควบคุมน้ำหนัก 4) การประเมินผล ตรวจสอบระดับน้ำหนัก เมื่อกลับมาฟอกเลือดในแต่ละครั้งร่วมกับการให้ผู้ป่วยและครอบครัวประเมินตนเองถึงพฤติกรรมการ จัดการต่อภาวะน้ำเกิน ประเมินปัญหาและอุปสรรค รวมถึงตรวจสอบสมุดบันทึกรายการอาหาร และให้ คำแนะนำการจัดการตนเองต่อภาวะน้ำเกินที่ถูกต้องและเหมาะสม ภายหลังนำรูปแบบไปใช้พบว่าผู้ป่วย สามารถควบคุมภาวะน้ำเกินได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.46 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง ( X ± S.D. :63.11 ± 13.26) ด้านความพึงพอใจภาพรวมของผู้ป่วยและญาติ อยู่ในระดับสูง ( X ± S.D. :4.71 ± 0.34) และทีมสหสาขาวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง ( X ± S.D. :4.06 ± 0.31) การกระตุ้นและส่งเสริมการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ ถึง ความสำคัญของการป้องกันภาวะน้ำเกิน จะสามารถป้องกันปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน

References

สมาคมพยาบาลโรคไต - ข้อแนะนำเวชปฏิบัติ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557 [Internet]. [cited 2018 Apr 1]. Available from: http://www.tnnsnurse.org/download/tnns-1/270--2557-15.html

โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. รายงานผลการดำเนินงานหน่วยหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลหนองบัวลำภู ปี 2561. หนองบัวลำภู: 2561.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: หจก.สำนักพิมพ์เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย).; 2552.

Creer LT. Self-management of chronic illness. Handbook of selfregulation. California: Academic; 2000. 601–629 p.

พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2. กรุงเทพฯ: ฮายาบุสะ กราฟฟิก; 2550.

วลี กิตติรักษ์ปัญญา, นิภาวรรณ สามารถกิจ, เขมารดี มาสิงบุญ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการจัดการทางคลินิกต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสภาการพยาบาล. 2556;28(2):109–22.

ชัชวาล วงค์สารี. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้นต่อความรู้เรื่องการจำกัดน้ำ ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, กรุงเทพฯ. 2557.

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดและล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. ยโสธรเวชสาร. 2557;16(1):18–24.

อมรรัตน์ ศรีวาณัติ, อรนันท์ หาญยุทธ. ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในศูนย์ไตเทียมเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. 1. 2560;9(1):187–96.

นพมาศ ขำสมบัติ, กัญญดา ประจุศิลป. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังต่อภาวะนำเกินและความพึงพอใจในบริการพยาบาล. 2014;15(2):405–13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018