พัฒนาระบบการจัดการคลังเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลเฝ้าไร่

ผู้แต่ง

  • พรรณอร บุญพสิษฐ์ โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, ระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงาน รวมถึงหาแนว ทางการพัฒนาระบบการจัดการคลังเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา และประเมินผลการพัฒนาระบบการจัดการคลัง เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลเฝ้าไร่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน เครือข่าย อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษาคือ หัวหน้าและเจ้าหน้าที่กลุ่มการพยาบาล ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในครือข่าย จำนวน 70 คน สุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การตรวจสอบ เอกสารจากใบเบิก และจากแบบฟอร์มเบิกจ่ายจากแผนกต่างๆ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2560 - เมษายน 2561 นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติอนุมานใช้ การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระต่อกัน นำเสนอ ด้วยค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความพึงพอใจและการดำเนินการคลังเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ก่อนและหลังการพัฒนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการคลังเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยาประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ศึกษา บริบทการระบบการจัดการคลังเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา จัดประชุมเชิงระบบการจัดการคลังเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา การปฏิบัติตามแผนกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ/แผนงาน นิเทศติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน และ สังเกตการดำเนินงาน และสรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานและวางแผนในการแก้ไขปัญหาใน วงรอบต่อไปและ ทำให้การจัดซื้อเป็นไปตามแผนจัดซื้อประจำปี ไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ มีผู้รับผิดชอบ ดำเนินการชัดเจน และช่วยลดปัญหาการเก็บเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยาในหน่วยงาน เวชภัณฑ์ไม่เสื่อมสภาพ ไม่ หมดอายุ ขั้นตอนการเบิก –จ่าย เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยาของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลเฝ้าไร่ชัดเจน รวมถึง การรายงานผลและการจัดทำเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง เป็นไปตามกำหนดเวลา และถูกต้องตามเกณฑ์ สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ควรมีการสะท้อนผลการดำเนินงาน กระบวนการวิเคราะห์หลัง ปฏิบัติการ รวมถึงถอดบทเรียนการดำเนินครั้งนี้ เพื่อนำผลมาวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข อย่างต่อเนื่องตลอดวงจร

References

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรม ในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ; 2553.

การอบรมฟื้นฟูความรู้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. การบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ; 15-16 กรกฎาคม 2553; ณ โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่น; 2553.

โรงพยาบาลเฝ้าไร่. รายงานผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560 หน่วย คู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย.หนองคาย; 2560.

Kemmis,S.. Action Research. Hammersley. in: M. (Ed) Educational Research: Current Issues. London: Paul Chapman Publishing Ltd; 1993.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (Eds.). The action research reader. Victoria: Deakin University; 1988.

Cronbach, L. J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334; 1951.

นันท์นภัส ฟุ้งสุขและอัษฎางค์ พลนอก. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสาร มฉก.วิชาการ. 2560; 41:109-122.

เสาวคนธ์ อัศวศรีสุพรรณ. ประสิทธิภาพของระบบการนิเทศงานบริการด้านยาในศูนย์สุขภาพชุมชนของ CUP วังจันทร์ จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2550. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551;15(3),487-98.

สุภาวดี ศรีลามาตย์ และประจักร บัวผัน. การบริหารเวช ภัณฑ์ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.).2556;121-132

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018