พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายตำบลรัตนวาปี อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพระดับอำเภอ, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษาคือทีมสหวิชาชีพ จำนวน 13 คน และผู้ป่วยกลุ่ม โรคเบาหวานจำนวน 60 คน ดำเนินการวิจัยในช่วง เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือน มีนาคม 2561 แบ่งการ วิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมวิจัย ระยะวิจัยและระยะประเมินผลการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย จากโปรแกรมฮอสเอกซ์พี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และใช้การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระต่อกันกำหนดนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่แอลฟา P< 0.05 เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพคือ กิจกรรมการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ การจัดบริการดูแลผู้ป่วยอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามแนวทาง UCCARE การพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน การให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และการติดตาม เยี่ยมผู้ป่วยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ด้านผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแล ตนเองในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ76.27 เป็นร้อยละ 84.22 และการควบคุมโรคเบาหวานประเมินโดยใช้ ค่าระดับเอฟบีเอส ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลสะสม(ฮีโมโกรบิน เอ วันซี) และค่าการทำงานของไต(อี-จีเอฟอาร์) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 สรุปและข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบหรือระบบบริการต้องร่วมมือกันระหว่างทีมภาคีเครือข่าย และต้องสอดคล้องตามความต้องการของผู้ป่วยและภายใต้ความเป็นไปได้ของศักยภาพของหน่วยบริการ และเสนอแนะให้การขยายหรือนำรูปแบบการบริการสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลอื่น ๆ ในเขต รับผิดชอบ ตลอดจนการจัดตั้งกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่2. บริษัทร่มเย็น มีเดีย จำกัด ปทุมธานี. 2560
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Chronic Link)(online),https://wwwnko.moph.go.th/main_new/# service. (เข้าถึงเมื่อ 12/12/2560)
อรวรรณ สัมภวมานะ,ลินดา คล้ายปัดษี, พนิดา อาวุธ, โศรตรีย์ แพน้อย. การพัฒนาการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะลวน อ.พูนพิน จ.สุราษฏร์ธานี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2559:157-167
ระพีพร วาโยบุตร และ พิมภา สุตรา. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน บ้านหนองโดน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสามรคาม.วารสารกองการพยาบาล. 2557.ปีที่41 ฉบับที่ 2:72-83
นันทพร บุษราคัมวดี และยุวมาลย์ ศรีปัญญาวุฒิศักดิ์.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก. วาสารการพยาบาลและการศึกษา. 2555 ปีที่ 5 ฉบับที่ 2; 114-129.
วงเดือน ฤาชา และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วาสารกองการพยาบาล. 2554.ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 , 2554 : 31-41
พันธิภา พิญญะคุณ, อารี ชีวเกษมสุข และเพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560.ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ : 280-290.
ธนาฒย์ อามาตย์มุลตรี ,ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล และอุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์ .การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร.วารสารเกื้อการุณย์. 2559 ปีที่23 ฉบับที่ 2 ; 69-85.
กิติวรรณ จรรยาสุทธิวงศ์, วรพจน์พรหมสัตยพรต, จิราพรวรวงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2558 ; Vol 34. No 6: 551-559
ชื่นจิตร เพชรชิต. พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วาสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุขภาคใต้. 2557.2(2):15-28
สุพัฒน์ สมจิตรสกุล, นางพรรณทิวา สมจิตรสกุล, นางทิพย์สุดา หริกุลสวัสดิ์, นางกรรณิการ์ รัชอินทร์และนางมติกา สุนา. การพัฒนาระบบการให้บริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม.2554.(เอกสารอัดสำเนา มปป.).
ศิริมา มณีโรจน์,นัชพร ลาภจุติ และกัญจนา ปุกคำ . การพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560.27(2):126-139
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว