การศึกษาอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านและอัตราสำเร็จในการรักษาผู้ติดเชื้อ วัณโรคระยะแฝง ด้วยสูตรยา 3HP ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ปี 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคมีโอกาสได้รับและติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสูงกว่าบุคคลอื่น ปัจจุบันพื้นที่จังหวัดสุรินทร์มีผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ จำนวน 816 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.36 จึงส่งผลให้ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคเพิ่มจำนวนขึ้น แต่ความสำเร็จในการรักษากลับลดลง วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาอัตราการเกิดการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค และอัตราสำเร็จในการรักษาผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงด้วยสูตรยา 3HP ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ในปี 2565
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยตรวจด้วยเครื่อง IGRA QuantiFERON-TB Gold Plus (QF-Plus) ผลจากการศึกษา พบว่า อัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงมีจำนวน 169 ราย จากทั้งหมด 816 ราย ร้อยละ 20.72 ยินยอมและได้รับประทานยารักษาวัณโรคระยะแฝง จำนวน 164 ราย ร้อยละ 97.04 ความสำเร็จในการรับประทานยาสูตร 3HP ครบ จำนวน 149 ราย ร้อยละ 90.85 และหยุดยา จำนวน 15 ราย เนื่องจากมีไข้ และมีผื่น คัน ตามร่างกายมากที่สุด จำนวน 6 ราย และ 5 ราย ร้อยละ 3.66 และ 3.05 วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขประเทศไทยและทั่วโลก ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงและพัฒนาเป็นวัณโรคได้ ดังนั้นควรมีการให้คำปรึกษาในการตรวจ รักษา และติดตามอาการป่วยทุกปีเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยเอกซเรย์ทรวงอกทุก 6 เดือน ในช่วงระยะเวลา 2 ปี เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การป่วยเป็นวัณโรคในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
World Health Organization. Global tuberculosis report 2018. Developing a draft multisectoral accountability framework to accelerate progress to end TB. Geneva: World Health Organization; 2018.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองวัณโรค. แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, สำนักวัณโรค. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองวัณโรค. การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. สุรินทร์: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ; c2022. สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2565]; [ประมาณ 17 น.] เข้าถึงได้จาก: http://surin.moph.go.th/SPHO_Meeting_sys/upload/Files/53_1100_905_372895.pdf
WHO consolidated guidelines on Tuberculosis. Module 1: prevention – tuberculosis preventive treatment. Geneva: World Health Organization; 2020.
Arguello Perez E, Seo SK, Schneider WJ, Eisenstein C, Brown AE. Management of Latent Tuberculosis Infection Among Healthcare Workers: 10-Year Experience at a Single Center. Clin Infect Dis. 2017;65(12):2105-11.
บุญเชิด กลัดพ่วง, ชำนาญ ยุงไธสง, ผลิน กมลวัทน์, กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. อัตราความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่จากการตรวจด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay (IGRA). วารสารโรคเอดส์ 2564;33(1):21-35.
สัญญา กิตติสุนทโรภาศ, พรเพ็ญ กิตติสุนทโรภาศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครนายยก 2564;1(1):1-14.
ชำนาญ ยุงไธสง, ผลิน กมลวัทน์, สายใจ สมิธิการ, อรนันต์ ลิลากุล. การศึกษาอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงและการป่วยเป็นวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2565;6(2):203-17.
วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ. เภสัชวิทยาของยารักษาวัณโรคระยะแฝง (Pharmacology of anti-tuberculosis drugs for treatment of latent tuberculosis infection). วารสารยาน่ารู้ 2563;63(2):61-68.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองวัณโรค. ยาและสูตรยารักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.
จตุกร ศิลาแก้ว, นรินทร์ จินดาเวช. ความสำเร็จในการค้นหาวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้าน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2554-2555. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2556;34(1):24-31.
ณัฐสิมา ปาทาน, ชนัญญา จิระพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2563;13(4):94-105.