ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เสียชีวิต ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นาริฐา ทาคำสุข
มัณฑนา สินทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์ ลักษณะทางประชากรและระบาดวิทยาของผู้เสียชีวิต
จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในระยะที่ 3 ของการระบาดของโรค (1 เมษายน  – 30 มิถุนายน 2564 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากฐานข้อมูลรายงานการสอบสวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19  ของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน  – 30 มิถุนายน 2564
จำนวน 1,159 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษา ลักษณะทั่วไปของผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ทั้งหมด 1,159 ราย เป็นเพศชาย (55.91%) มากกว่า เพศหญิง (44.09%) อายุเฉลี่ย 65.88 ± 15.44 ปี ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ (74.89%) มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย (89.82%) ได้รับยาต้านไวรัส (87.66%) ผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาล (99.05%) และบางส่วนเสียชีวิตระหว่างการนำส่งโรงพยาบาล (0.95%) เมื่อจำแนกข้อมูลผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่เสียชีวิตตามกลุ่มอายุ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีอาชีพที่แตกต่างกัน (p-value<0.001) กลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ ไม่ได้ประกอบอาชีพ (69.49%)  ในขณะที่กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี เป็นพนักงานเอกชน/พนักงานบริษัท (22.75%) และมีโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคหัวใจ  โรคมะเร็ง โรคอ้วน และภาวะติดเตียง (p-value<0.05) รวมถึงมีอาการที่แตกต่างกัน ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ และปวดศีรษะ (p-value<0.05) อีกทั้งยังพบว่า กลุ่มอายุที่แตกต่างกัน มีการใส่เครื่องช่วยหายใจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) การลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ควรมีการกระตุ้นให้มีการเพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มสูงอายุ หรือที่เรียกว่า กลุ่ม 608 การให้บริการที่สามารถเข้าถึงได้ ในประชาชนทุกระดับ การรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการอบรมการดูแลเบื้องต้น การเฝ้าระวังการสังเกตอาการที่เข้าข่ายการติดเชื้อโควิด 19 ให้กับบุคลากรในระดับพื้นที่ และประชาชน เพื่อการรับการรักษาที่รวดเร็ว สามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
1.
ทาคำสุข น, สินทรัพย์ ม. ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เสียชีวิต ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 19 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 14 เมษายน 2025];8(2):265-78. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/265935
บท
บทความวิชาการ

References

Chilamakuri R, Agarwal S. COVID-19: Characteristics and Therapeutics. Cells. 202;10(2):1-29.

World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; 2021. Weekly Operational Update on COVID-19 (5 April 2021); 2021 [cited 2023 Aug 31]; [about 1 p.]. Available from: https://reliefweb.int/report/world/weekly-operational-update-covid-19-5-april-2021

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด 19 (ศบค.) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ศบค; 2564. สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19); 2021 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2566]; [ประมาณ 37 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/300464edit.pdf

Renu K, Prasanna PL, Gopalakrishnan AV. Coronaviruses pathogenesis, comorbidities and multi-organ damage - A review. Life Sci. 2020;255:1-16.

Kang SJ, Jung SI. Age-Related Morbidity and Mortality among Patients with COVID-19. Infect Chemother. 2020;52(2):154-64.

พิศาล ชุ่มชื่น, สิทธิชัย บรรจงเจริญเลิศ.อัตราตาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี.วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2565;2:25-37.

ธวัชชัย ล้วนแก้ว. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 จังหวัดตรัง.วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข.2566;1:186-99.

Peng M, He J, Xue Y, Yang X, Liu S, Gong Z. Role of Hypertension on the Severity of COVID-19: A Review. J Cardiovasc Pharmacol. 2021;78(5):78(5):648-55.

de Gier B, van Asten L, Boere TM, van Roon A, van Roekel C, Pijpers J, et al. Effect of COVID-19 vaccination on mortality by COVID-19 and on mortality by other causes, the Netherlands, January 2021-January 2022. Vaccine. 2023;41(31):4488-96.

Hfocusเจาะลึกระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; c2021. วัคซีนโควิดล็อตแรก ซิโนแวค ถึงไทยแล้ว; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.] เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2021/02/21115

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร:โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย; c 2021. การกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก:https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7/

พันธนีย์ ธิติชัย, ภันทิลา ทวีวิกยการ. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. นนทบุรี: กลุ่มเทคโนโลยีและระบาดวิทยา; 2564.

กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี:กรมควบคุมโรค ; c2021. วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/

AnamaiMediaสื่อมัลติมิเดียกรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:กรมอนามัย; c2022. กลุ่ม 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากที่สุด; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/anamai-toons/covid-vaccine-4/