สมรรถนะการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

Onnitcha inkong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินสมรรถนะการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนนทบุรี ด้วยการพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระดับจังหวัดนนทบุรี เพื่ออธิบายขั้นตอนการบริหารจัดการและกระบวนการทำงานภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ค้นหาปัจจัยสนับสนุน และปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจ และผู้ปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจ ในระดับจังหวัด ครอบคลุมทั้ง 12 กลุ่มภารกิจ จำนวน 34 คน ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือประเมินที่ใช้ได้กำหนดสมรรถนะการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับจังหวัดประกอบด้วยเนื้อหา 9 เสาหลัก และมีด่าดรรชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.99 ขั้นตอนการบริหารจัดการภายใต้ศูนย์ปฏิบัติภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี มีสมรรถนะตามที่กำหนดในการจัดการภาวะฉุกเฉินตามโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ ทั้ง 12 กลุ่มภารกิจ ซึ่งทุกกลุ่มภารกิจมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีได้ทันท่วงที และป้องกันการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดภายในชุมชนเพิ่มขึ้น ด้วยการใช้หลักการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHEM) ประกอบด้วย (1)ด้านกำลังคนที่มีสมรรถนะ (Staff) ระดมกำลังคนจากทุกระดับ ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มงาน และทุกด้านเพื่อปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ภายใต้มาตรการเดียวกันทั้งจังหวัด (2)ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Stuff) โดยในแต่ละกลุ่มภารกิจได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งรายละเอียดของเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไปเพื่อตอบสนองให้ตรงตามเป้าหมายของแต่ละกลุ่มภารกิจและ (3)ด้านระบบงาน (System) พบว่าศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 จังหวัดนนทบุรี จัดตั้งขึ้นในรูปแบบเฉพาะกิจ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ความรับผิดชอบประจำไปพร้อมกับการสวมบทบาทหน้าที่ภายใต้โครงสร้างในระบบบัญชาการเหตุการณ์ และขึ้นกับการบังคับบัญชาของผู้บัญชาการเหตุการณ์โดยตรง ซึ่งระบบการบัญชาการและสั่งการในจังหวัดนนทบุรีเป็นลักษณะบนลงล่าง โดยผู้บัญชาการเหตุการณ์จะถ่ายทอดคำสั่งลงมาตามระบบการบัญชาการเหตุการณ์ของจังหวัดนนทบุรี  ซึ่งการมีโครงสร้างการทำงานในภาวะฉุกเฉินที่ชัดเจน การตัดสินใจเด็ดขาดของผู้นำบนพื้นฐานทางวิชาการ การมีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง และความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในการยับยั้งวงจรของการแพร่ระบาดในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้จังหวัดควบคุมการระบาดของโรคโควิค 19 หรือโรคติดต่ออบุติใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสถานการณ์

Article Details

How to Cite
1.
inkong O. สมรรถนะการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จังหวัดนนทบุรี. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 19 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 14 เมษายน 2025];8(2):233-50. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/265811
บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization [Internet]. Geneva: R&D Blue Print; c2020. COVID-19 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) Global research and innovation forum [Internet]; 2020. [cited 2021 Oct 19]; [about 2 screens]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-research-and-innovation-forum

สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 . วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2563;45:1-3.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: สำนักงาน; c2022.แผนปฏิบัติการรองรับโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19); 2565. [เข้าถึงเมื่อ 14 มี.ค. 2565]; [น.1-2]. เข้าถึงได้จาก : http://odpc9.ddc.moph.go.th/EOC/Content/2565-HSP.pdf

กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; c2020. ข้อสั่งการการประชุมทางไกล เรื่อง โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 21 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/137947/

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; c2021. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง (รายงานผลการวิจัย); 2564. [เข้าถึงเมื่อ 30 ต.ค. 2565]; [ประมาณ 3 น.]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; c2020. Joint Intra-Action Review of the Public Health Response to COVID-19 in Thailand; 2020. [cited 2021 Mar 7]; [about 4 screens]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/health-security-preparedness/cer/iar/iar-response-to-covid19-thailand-july.2020.pdf?sfvrsn=e6f43d34_3&download=true

Cao Y, Shan J, Gong Z, Kuang J, Gao Y. Status and Challenges of Public Health Emergency Management in China Related to COVID-19. Front Public Health. 2020 May 29;8(250):1-6.

นรินทิพย์ ชัยพรมเขียว, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, สุธี อยู่สถาพร. มาตรการในการควบคุมและป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีศึกษาเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด่านพรมแดน แม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2560;3(2):193-210.

เกษร แถวโนนงิ้ว, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, วันทนา กลางบุรัมย์ . การประเมินความพร้อมระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระดับจังหวัดและอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7 : กรณีศึกษาการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ปี 2559. วารสารควบคุมโรค, 2560;43(4):448-59.

World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO IRIS; c2015. Framework for a Public Health Emergency Operations Centre November 2015; 2015. [cited 2021 Dec 30]; [about 6 screens]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/196135

World Health Organization Thailand [Internet]. Bangkok: WHO; c2020. Joint Intra-Action Review of the Public Health Response to COVID-19 in Thailand; 2020. [cited 2021 Jul 20]; [about 5 screens]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/iar-covid19-en.pdf

กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน ; c2019. หลักสูตรการ

จัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำหรับผู้บริหารกรมควบคุมโรค.หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 สรุปบทเรียนและแนวทางการนำไปใช้; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.พ. 2563]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/ddce/news.php?news=5846

Worakitkasemsakul S. Research methods in behavioral sciences and social sciences. Udon Thani Word Art Printing: UdonthaniRajabhat University; 2011.

Therasorn S. The basic concept of research. Bangkok: V. Print; 2007.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; c2022. ถอดบทเรียนโควิด 19; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2565]; [ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก:https://www.nrct.go.th/ebook/covid-19

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2021. รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 เม.ย. 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8966

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; c2020. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกรมควบคุมโรค; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2564]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_km.php

ชาญเลขา กุลละวณิชย์. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2564;11(2):218-38.