ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้โรคหลอดเลือดสมองของประขาชนผู้มาออกกำลังกาย ในสวนสาธารณะ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนไทยและทั่วโลกมานานแล้วและปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตยังไม่ลดลง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้โรคหลอดเลือดสมอง ของประชาชนผู้มาออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มาออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบ multistage random sampling เก็บรวบรวม โดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองมีค่า ความเที่ยงจากสูตร KR-20 = 0.91 และ 0.92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้โรคหลอดเลือดสมอง และจำแนกรายด้าน ได้แก่ การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้โรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง
ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้โรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ประวัติเคยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และความสม่ำเสมอในการออกกำลังกาย ข้อเสนอแนะ:ทีมสุขภาพ จากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมความรู้ และการรับรู้โรคหลอดเลือดสมองในผู้ประชาชนที่มาออกกำลังกายด้วยการส่งเสริมความรู้โดยใช้สื่อแอพพลิเคชัน ลงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ เพราะส่วนใหญ่สามารถใช้สื่อออนไลน์ได้ดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; c2022. กรมควบคุมโรครณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. กองโรคไม่ติดต่อ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/180623
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, อามีนะห์ เจะปอ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:
http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก_ปี_2561.pdf
ธัญญารัตน์ วงค์ชนะ, พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร, ณรงศักดิ์ หนูสอน. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอด
เลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.วารสารควบคุมโรค. 2565;48(2):293-306.
ผุสดี ก่อเจดีย์, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, นุสรา นามเดช, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ. ปัจจัยทำนายระดับความรู้เกี่ยวกับปัจจัย
เสี่ยงและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในจังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2565;32(2):65-76.
สายสุนี เจริญศิลป์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
นัชชา ยันติ, ฉัตรประภา ศิริรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแห่งหนึ่ง ในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2561;11(2):23-32.
ยุทธนา ชนะพันธ์, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21(2):109-19.
สถาบันประสาทวิทยา. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง(อัมพาต อัมพฤกษ์ สำหรับประชาชน). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2560.
ปฐมพร ศิรประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุล, บรรณาธิการ. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถี
ใหม่ แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.
ประยุทธ ตั้งสงบ, นพดล อินทร์จันทร์, ศรีรัฐ ภัดีรณชิต. การออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ศิลปกรรมสาร. 2565;15(2):1-17.
กองโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ; c2022. ประกาศกองโรคไม่ติดต่อ เรื่อง การคัดเลือกผลงานรูปแบบบริการ (Service Model) เชิงนวัตกรรม ที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความกันโลหิตสูง รอบที่ 1; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565]; [ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/images/PRNCD/OUT/servicemodel_รอบที่1.65.pdf
เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, กาญจนา ปัญญาธร, นิตยากร ลุนพรหม, อุมาพร เคนศิลา,ผาณิต คาหารพล, กนธิชา จีนกลั่น
และคณะ. ผลของการใช้สื่อแอพพลิเคชั่นเรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อคะแนนความรู้ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2563;8(2):89-104.
จันทร์จิรา สีสว่าง, ปุลวิชช์ ทองแตง, ศิริรัตน์ วิชิตตระกูลถาวร, สุจิตรา ชัยวุฒิ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้
โอกาสเสี่ยงของตนเองต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์.
;40(3):42-59.
กรรณิการ์ เงินดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2564.
ศุภณัฐกรณ์ มูลฟู. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยการประยุกต์ใช้
ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพ ในพื้นที่อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2565;31(1):68-78.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, ทิพวัลย์ พราหมณ์น้อย, ผุสดี สระทอง, พิชญ์สินี มงคลศิริ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้
และทัศนคติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2566;39(2):173-83.
กรมพลศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา; c2023. ข้อมูลตามแบบสำรวจการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และประกอบกิจกรรมนันทนาการของประชาชน; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/exercise
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2021. รายชื่อสวนสาธารณะกรุงเทพมหานคร; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2564]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/oIGme
Yamane T. Statistics. An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row; 1973.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice- Hall; 1977.
อาณัติ วรรณะ, นิภา กิมสูงเนิน, รัชนี นามจันทรา. การรับรู้และการจัดการเมื่อมีสัญญาณเตือนในผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิด
โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563;2(1):30-44.
สายทิพย์ จ๋ายพงษ์, วีรยุทธ ศรีทุมสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง อาการเตือนและการจัดการในภาวะฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(2):44-56.
สายฝน เติบสูงเนิน, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดัน
โลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32(5):482-90.
นิศาชล นุ่มมีชัย, นิภาวรรณ สามารถกิจ, เขมารดี มาสิงบุญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่ออาการของ
โรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2560;10(3):23-38.