การจัดการภูมิปัญญาพืชสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

Thapach Kansorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน และรูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการดูแล สุขภาพและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร เลือกศึกษาในพื้นที่ ที่มีการใช้สมุนไพรอย่างแพร่หลาย ได้แก่พื้นที่ ชุมชนบ้านสนวน ชุมชนบ้านสวายจีก จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลระหว่าง เดือน ตุลาคม 2563 ถึง เมษายน 2564 คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ซึ่งประกอบไปด้วย ปราชญ์ด้านสมุนไพร หมอยาพื้นบ้าน และเครือญาติที่ได้รับการถ่ายทอดทางภูมิปัญญาในด้านสมุนไพร จำนวน 20 คน และหญิงหลังคลอดที่มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและแบบสอบถามปลายเปิด โดยเนื้อหาของแบบสอบถามประกอบด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการดูแลรักษาสุขภาพ บนพื้นฐานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บริบทชุมชน รูปแบบการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร และรูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาด้านสมุนไพร


                ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของชุมชนทั้งสองแห่ง มีลักษณะเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากพื้นที่อื่น เช่นจังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา ส่วนใหญ่สื่อสารกันด้วยภาษาเขมร เมื่อระยะเวลาผ่านไปการหลอมรวมวัฒนธรรมจึงทำให้เกิดการใช้ภาษาเขมรและภาษาไทยกันมากขึ้น มีการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรค บำรุงร่างกาย อาหาร และเพื่อความงาม 2) รูปแบบการใช้ประโยชน์ สมุนไพรที่ใช้ในครอบครัวส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรแก้แพ้ สัตว์มีพิษกัด และแก้ปวดบวม วิธีการใช้สมุนไพรได้แก่การต้มเพื่อกินน้ำ การกินสดไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ การพอกและประคบ รวมถึงการขยี้แล้วสูดดม รวมทั้งการเคี้ยวสมุนไพรรวมกับการใช้แอลกอฮอล์เพื่อลดอาการปวดบวม นอกจากนี้บางครอบครัวยังสามารถใช้สมุนไพรร่วมกับการใช้เวทย์มนตร์คาถาเพื่อรักษาโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อและจิตใจ ทำให้อาการป่วยดีขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ความนิยมในการใช้สมุนไพรด้านการรักษาได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย และขับเสมหะ เป็นต้น 3) รูปแบบการสืบทอดภูมิปัญญาด้านสมุนไพร มีการจัดการโดยการสอน และสาธิตให้ปฏิบัติติตาม ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กระบวนการถ่ายทอดความรู้นี้เกิดขึ้นเฉพาะในครอบครัว เท่านั้น ด้วยการบอก สอนและสาธิตตัวต่อตัว เนื่องจากภูมิปัญญาด้านสมุนไพรนับว่าเป็นสมบัติของแต่ละครอบครัวที่จะดำรงรักษาไว้ไม่ให้สูญหายไป และไม่เผยแพร่ให้กับบุคคลอื่นเด็ดขาด เมื่อขาดการถ่ายทอดหรือขาดความสนใจ ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรจึงค่อยๆหายไป


The samples selected by using purposive sampling consisted of 20 persons, including herbal specialists, folk healers, and herb-inherited relatives, and 30 postpartum women with experience in herb utilization. The research instruments were an in-depth interview, a focus group, and an open-ended questionnaire. The questionnaire content included the folk wisdom of healthcare based on the sufficiency economy philosophy, the community contexts, the form of herb utilization, and the form of inheriting the folk wisdom of herbs.


          The research findings revealed that 1) people in both communities have migrated from other areas, such as Surin and Nakhon Ratchasima, and most of them communicate in Khmer. As time passed, their cultures were integrated, resulting in more use of both Khmer and Thai. Moreover, herbs are used for curing diseases, nourishing the body, and enhancing beauty; 2) regarding utilization, most of the herbs used in the family are for curing allergies, poisonous animal bites, and relieving swelling and pain. The forms of utilization are drinking boiled herbal water, eating fresh herbs, masking and compressing, crushing and inhaling, and chewing herbs together with using alcohol to reduce pain and swelling. In addition, some families also combine herbs with the use of magic to treat ailments with unknown causes. It can boost morale and make the patients feel better. With the COVID-19 pandemic from 2019 onwards, herbs have gained more popularity, especially ones that help clear the airway, enhance the body’s immune system and eliminate phlegm, etc.; 3) for the forms of inheriting the folk wisdom of herbs, it is managed by teaching and demonstration without written records. This process of transferring knowledge only takes place in families through telling, teaching, and demonstrating one-on-one because the wisdom of herbs is considered a treasure of each family that should be preserved, and disseminating it to any other person is strictly prohibited. When there is a lack of transfer or a lack of interest, the wisdom of herbs is gradually disappearing.

Article Details

How to Cite
1.
Kansorn T. การจัดการภูมิปัญญาพืชสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 19 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 14 เมษายน 2025];8(2):110-21. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/264832
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานสถิติจังหวัดสตูล. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดสตูล พ.ศ. 2564. สตูล: สตูลการพิมพ์; 2564.

พรทิพย์ แก้วชิณ, นฤทธิ์ พลสูงเนิน. การศึกษาภูมปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2; 18-19 มิถุนายน 2558; วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2558.

สุโรจน์ แพงมา, สุโรจน์ แพงมา, ชยันต์ พิเชียรสุนทร, ประธาน ฦาชา. การศึกษาภูมิปัญญาหมอยาฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์; 2548.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, เสาวภา พรสิริพงษ์, พรทิพย์อุศภรุตน์. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน ไทย พ่อใหญ่จารย์เคน ลาวงศ์. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารรสุข; 2539.

ชาย โพธิสิตา.ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬา; 2564.

Lincoln YS, Guba FA. Naturalistic inquiry. CA: Sage. 1985.

วุฒินันท์ พระภูจํานงค์. การรักษาแบบพื้นบ้านโดยใช้สมุนไพรของชาวชนบท อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม; 2534.

วรชาติ โตแก้ว. การสำรวจเบื้องต้นของพืชล้มลุกกลุ่มกลีบดอกเชื่อมกันในอุทยานแห่งชาติภู ลังกา จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2558;7(13):79-88.

วรชาติ โตแก้ว, ปิยะ โมคมุล, ถวิล แสนตรง, วีรนุช วอนเก่าน้อย, กรรณิการ์ ทองดอนเปรียง. ความหลากชนิดของพรรณพืช เห็ด และการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนบ้านโพนทอง จังหวัด มหาสารคาม. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 2556;5(2):83-98.

สุธาสินี สายวดี, ปีติชา อะมริต, ศลิษา เจริญสุข. การศึกษางานวิจัยในประเทศจีนเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรจีนในการรักษาซีสต์เต้านม. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2562;23(1):120-31.

Promprasit P, Tokaew W. Species Diversity of Vascular Plants in Herbal Conservation Area, Kumantong Forest Temple, Nadun District, Maha Sarakham Province. Journal of Science and Technology, Rajabhat Maha Sarakham University. 2020;(3):44-57.

เนตรนภา พรหมมา, และพรพนา สมจิตร. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการดูแลสุขภาพตนเอง ท่ามกลางผู้สูงวัยในตำบลหนึ่งของจังหวัดพะเยา. วารสารนเรศวรพะเยา 2558;8(2):96-99.

กชมน อินทร์บัว, กฤติยา แก้วกุล, จรียวัฒน์ กลิ่นมาหอม และขวัญชนก เกณฑ์ขุนทด.ประสิทธิผลของยาลูกประคบสมุนไพรในการบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ ครั้งที่ 9; 8-9 กุมถาพันธ์ 2562; มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ; 2562.

Krasinhorm S, Kansorn T, Luangmongkholchai N. Effectiveness of Herbal hot compression to Pain on Dysmenorrhea among female nursing students at Buriram Rajabhat University. Institute for Urban Disease Control and Prevention Journal. 2022;7(1):61-74.

จิราลักษณ์ แก่นแท่น, นิฑากรณ์ ดำรักษ์, ธัญวรัตน์ กิจรัญ, พัชราภรณ์ สังข์พัน. ผลของยาประสะกานพลูและยาธาตุบรรจบในการบรรเทา อาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ ครั้งที่ 9; 8-9 กุมถาพันธ์ 2562; มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ; 2562.

Melzack R, Wall PD. Pain mechanisms: A new theory. Science. 1965;150:971–9.

ศุภรัตน์ ผุดวัฒน์, กาญจนา ปานจีน, มนภาส ธรรมโชติ, มาหามะดานิส ดิลฮาม, รัชนีกร แซ่ลิ้ม, สุไมรี่ หวันเต๊ะ และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ บ้านคลองใหญ่ จังหวัดพัทลุง.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):360-67.

ธรรมณพรรธ ดวงดี, กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, กังวล คัชชิมา, สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร.ยาสมุุนไพรรักษาโรคกษัยในตำราการแพทย์ ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์์ฉบับอนุรักษ์ ) เล่มที่ 1 เปรียบเทียบกับตำรับในคลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช: การวิเคราะห์ทางเภสัชกรรมไทย. เวชบันทึกศิราช.2566;16(2):97-106.