ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 และพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

Main Article Content

เรณุกา ณปุณยฤกษ์
พรรณพชร ศรีกุลยนันทน์
ษุภากร เปรมปรีดิ์
ปวริศา เทพเสนา
ศศิชา โชติคุต
ปาณิสรา อิงคภาคย์
ณัฐพรรษ เนาว์แก้ว
ธรรมาภรณ์ พิมพ์ทอง
ปุญณิศา พงศ์ธนาพาณิช
ปานชีวา ประสงค์
อัญชิสา พงศ์ชัยศรีกุล
กรัญญู อ่อนนางาม
เขมิกา ศรีปานวงศ์
ปิญชาน์ ตันติศักดิ์
ศุจิมน มังคลรังษี

บทคัดย่อ

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นทุกปี และ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การได้รับฝุ่น PM 2.5 สร้างปัญหาต่อสุขภาพ ประชาชนควรต้องมีความรู้ และการป้องกันการได้รับฝุ่น PM 2.5 ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งระยะสั้น และระยะยาว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 และพฤติกรรมป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM 2.5 การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทำนาย (Predictive Research) เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) ศึกษาประชากรกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากร (infinite population) คำนวณด้วยสูตรของ Cochran ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 346 คน แต่มีอาสาสมัครเต็มใจเข้าร่วมการศึกษานี้ จำนวน 918 คน เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1-15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน Multiple regression analysis


จากผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 918 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.8 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 81.7 ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพจากช่องทางอินเทอร์เน็ต / สื่อสังคมออนไลน์ร้อยละ 80.2 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.8 คำถามที่ตอบถูกมากสุดเป็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่เกี่ยวกับระบบ ทางเดินหายใจจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 และการลดความเสี่ยงการได้รับฝุ่น PM 2.5 ส่วนคำถามที่ส่วนใหญ่ตอบไม่ถูก เป็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 ทางด้านพฤติกรรม การป้องกันฝุ่น PM 2.5 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการป้องกันอยู่ระดับดี โดยพฤติกรรมที่ปฏิบัติตามทุกครั้ง มากสุดเกี่ยวกับการสำรองหน้ากาก N 95 หรือหน้ากากอนามัย เอาไว้ป้องกันฝุ่น PM 2.5 เตรียมยาและอุปกรณ์สำหรับ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และสังเกตอาการหากพบความผิดปกติ ทางด้านพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ปฏิบัติตามทุกครั้ง น้อยสุด ได้แก่พฤติกรรมเกี่ยวกับ การป้องกันฝุ่น PM 2.5 เข้าบ้าน การติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และการรับประทาน อาหารให้ครบ 5 หมู่ จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) พบว่าปัจจัยที่มีอำนาจ ทำนายพฤติกรรมป้องกันฝุ่น PM 2.5 คือความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 สามารถทำนายได้ร้อยละ 9.8 สรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 อยู่ระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM 2.5 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการป้องกัน อยู่ระดับดี ควรเพิ่มความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรม การป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ดีอย่างสม่ำเสมอ


               มีผู้เข้าร่วมการศึกษานี้ทั้งหมดจำนวน 918 เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.8 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 81.7 ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพจากช่องทางอินเทอร์เน็ต / สื่อสังคมออนไลน์ร้อยละ 80.2 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.8 คำถามที่ตอบถูกมากสุดเป็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่เกี่ยวกับระบบ ทางเดินหายใจจากการได้รับฝุ่น PM2.5 และการลดความเสี่ยงการได้รับฝุ่น PM2.5 ส่วนคำถามที่ส่วนใหญ่ตอบไม่ถูก เป็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพต่อระบบต่างๆของร่างกายจากการได้รับฝุ่น PM2.5 ทางด้านพฤติกรรม การป้องกันฝุ่น PM2.5 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤิตกรรมการป้องกันอยู่ระดับดี โดยพฤติกรรมที่ปฎิบัติตามทุกครั้ง มากสุดเกี่ยวกับการสำรองหน้ากาก N95 หรือหน้ากากอนามัย เอาไว้ป้องกันฝุ่น PM2.5 เตรียมยาและอุปกรณ์สำหรับ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และสังเกตอาการหากพบความผิดปกติ ทางด้านพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่ปฎิบัติตามทุกครั้ง น้อยสุด ได้แก่พฤติกรรมเกี่ยวกับ การป้องกันฝุ่น PM2.5 เข้าบ้าน การติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 และการรรับประทาน อาหารให้ครบ 5 หมู่ จากการวิเคราะหสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) พบว่าปัจจัยที่มีอำนาจ ทำนายพฤติกรรมป้องกันฝุ่น PM2.5 คือความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 สามารถทำนายได้ร้อยละ 9.8 สรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 อยู่ระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤิตกรรมการป้องกัน อยู่ระดับดี ควรเพิ่มความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับฝุ่นฝ PM2.5 เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรม การป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่ดีอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

How to Cite
1.
ณปุณยฤกษ์ เ, ศรีกุลยนันทน์ พ, เปรมปรีดิ์ ษ, เทพเสนา ป, โชติคุต ศ, อิงคภาคย์ ป, เนาว์แก้ว ณ, พิมพ์ทอง ธ, พงศ์ธนาพาณิช ป, ประสงค์ ป, พงศ์ชัยศรีกุล อ, อ่อนนางาม ก, ศรีปานวงศ์ เ, ตันติศักดิ์ ป, มังคลรังษี ศ. ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 และพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 . วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 19 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];8(2):95-109. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/264734
บท
บทความวิจัย

References

Weng YL, Liang CC, Tseng CC, Lee SY, Yeh GL. A survey of PM2.5 preventive behavioral intention and related factors among community elderly in Northern Taiwan. Medicine (Baltimore). 2021 Jul 23;100(29):1-8.

มัตติกา ยงอยู่. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.ค. 2566]; 44(2):83-96. เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org/index.php/tjha/article/view/11241/9764

World health organization [Internet]. Geneva: World health organization. c2020. The cost of clean air in Thailand; 2022 [update 2022 June 8; cited 2023 Jul 2]; [about 1 p.]. Available from: https://www.who.int/thailand/news/detail/08-06-2022-the-cost-of-clean-air-in-thailand

สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์, นิธินันท์ ศิรบารมีสิทธิ์, ชนินทร รัตตสัมพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2565;42(3):53-62.

California Air Resources Board [Internet]. California: California Air Resources Board; c2023. Inhalable Particulate Matter and Health (PM2.5 and PM10); 2023 [cited 2023 Jul]; [about 4 p.]. Available from: https://ww2.arb.ca.gov/resources/inhalable-particulate-matter-and-health#:~:text=For%20PM2.5%2C%20short%2D,symptoms%2C%20and%20restricted%20activity%20days

Air Now [Internet]. North Carolina: The U.S. Air Quality Index; 2023. Extremely High Levels of PM2.5: Steps to Reduce Your Exposure; 2023 [cited 2023 Jul 2]; [about 1 p.]. Available from: https://www.airnow.gov/aqi/aqi-basics/extremely-high-levels-of-pm25/

Bangkok Hospital [Internet]. Bangkok: Bangkok Hospital; c2023. 5 Tips For Coping With Air Pollution PM2.5; 2023 [cited 2023 Jul 2]. Available from: https://www.bangkokhospital.com/en/content/5-ways-to-deal-with-toxic-dust-should-be-shared

มัตติกา ยงอยู่. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564;44(2):83-96.

Wannalai S, Nokaew S, Siriwong W. Assessment of knowledge and perception of adverse health effects associated with self-prevention from air pollution in traffic policemen in Bangkok, Thailand. J Health Res. 2016;30(Suppl 2):S147-S152.

Wang J, Chen L, Yu M, He J. Impact of knowledge, attitude, and practice (KAP)-based rehabilitation education on the KAP of patients with intervertebral disc herniation. Annals of Palliative Medicine. 2020;9(2):388-93.

Uakarn C, Chaokromthong K, Sintao N. Sample Size Estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. APHEIT International Journal. 2021;10(2):76-88.

จิตติมา รอดสวาสดิ์ ,กชพรรณ นราวีรวุฒิ ,วรวรรณ พงษ์ประเสริฐ ,ประทุม สีดาจิตต์ ,ชวิศา แก้วสอน. การศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ปี 2563; 26-28 พฤษภาคม, 2563; กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2563.

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลไทยนครินทร์: c2023. ค่าฝุ่น PM 2.5 สูง กระทบสุขภาพสะสมระยะยาว; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.ค. 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://thainakarin.co.th/ค่าฝุ่น-pm-25/

กรมอนามัย, กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. คู่มือฉบับประชาชน การเฝ้าระวัง PM2.5 อย่างไรให้ปลอดภัย. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

ญาณิศา พึ่งเกตุ, ปัญจ์พัชรภร บุญพร้อม, เบญจมาศ ทองไข่มุกต์, นวลนิตย์ แสงศิริวุฒิ, อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กของบุคลากร กรณีศึกษา: องค์กรแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2565;26(1):98-107.

ปวีณา แก้วเขียว. ผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เขตสุขภาพที่ 2. พิษณุโลก: ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก; 2565.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. วรางคณา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560;28(1):122-128.

Cirruzzo C. US news [Internet]. U Washington, D.C.: U.S. News & World Report: 2021 [update 2021 Jan 21; cited 2023 Jul 2]; [about 2 p.]. Available from: https://www.usnews.com/news/health-news/articles/2021-01-21/high-school-students-still-dont-eat-enough-fruits-or-vegetables