ประสิทธิผลการดำเนินงานซุปเปอร์ไรเดอร์จิตอาสาในระบบดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ที่บ้าน ผ่านบริการสุขภาพทางไกล ณ สถานพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease: COVID-19) เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ระบาดทั่วโลกและเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ประเทศไทยเกิดการระบาดหลายระลอก สถานการณ์รุนแรงมากที่สุด ช่วงเดือนเมษายน - สิงหาคม 2564 ช่วงกลางเดือนสิงหาคม รายงานผู้ป่วยใหม่ เพิ่มขึ้นวันละ กว่า 20,000 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นวันละ กว่า 300 ราย ผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มรวดเร็วมากกว่าศักยภาพระบบสาธารณสุขของประเทศ ทำให้การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่บ้าน (Home Isolation) ถูกนำมาใช้ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) จัดตั้งระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่บ้านผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกล (Telehealth) ในกรุงเทพมหานคร ซุปเปอร์ไรเดอร์จิตอาสาเป็นอาสาสมัครในระบบดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ที่บ้านของ สปคม. ปฏิบัติงานโดยใช้รถจักรยานยนต์ตนเอง ขนส่งพัสดุภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ไปยังบ้านผู้ป่วยและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงาน ภาระงาน และประเมินประสิทธิผลงานซุปเปอร์ไรเดอร์จิตอาสา วิธีการศึกษาย้อนหลัง ข้อมูลผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 พฤศจิกายน 2564 ผลการศึกษาพบว่า ซุปเปอร์ไรเดอร์จิตอาสาปฏิบัติงาน 38 คน 961 ครั้ง การมอบหมายงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานใช้แอปพลิเคชันไลน์ งานส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.41 ส่งยา อุปกรณ์การแพทย์ พื้นที่ส่งพัสดุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90.11 คือกรุงเทพมหานคร ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.43 มีผลการประเมิน “ผ่าน” (ได้ 4 คะแนน) คะแนนเฉลี่ย+ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.84+0.46 ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยบริการสาธารณสุขพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตเมืองอื่นๆ ในการนำจิตอาสาร่วมปฏิบัติงานในระบบดูแลผู้ป่วยที่บ้านผ่านบริการสุขภาพทางไกล ในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หน่วยบริการควรจัดให้มีระบบบันทึก ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และแสดงคุณค่างานจิตอาสา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; c2020. WHO Director-General's statement on IHR Emergency Committee on Novel Coronavirus (2019-nCoV); 2020 [cited 2023 May 18]; [about 1 p.]. Available from: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-statement-on-ihr-emergency-committee-on-novel-coronavirus-(2019-ncov)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2022. ข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อ SAR-CoV-2 ที่พบในประเทศไทย (SARS-CoV-2 variants in Thailand) โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/en/dataset/sars-cov-2-variants
World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; c2020. Thailand Situation; 2020 [cited 2023 May 18]; [about 1 p.]. Available from: https://covid19.who.int/region/searo/country/th
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด 19 (ศบค.) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2021. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 20 สิงหาคม 2564; [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/200864.pdf
กรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2021. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด - 19 แบบ Home Isolation ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 กรณีระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือระหว่างรอครบกำหนด 14 วัน หรือหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้ก่อนกำหนด; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566]; [ประมาณ 4 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=136
World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO; c2021.Telemedicine: opportunities and developments in Member States: report on the second global survey on eHealth; 2021 [Cited 2023 May 18]; [about 1 p.]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/44497
Romay-Barja M, Pascual-Carrasco M, De Tena-Dávila MJ, Falcón M, Rodriguez-Blazquez C, Forjaz MJ, et al. How patients with COVID-19 managed the disease at home during the first wave in Spain: a cross-sectional study. BMJ Open. 2021;11(5):1-11.
Alishan S, Ali F, Iqbal Z, Ammar A, Muhammad AS, Farooq F, et al. Home Management of COVID-19 Patients: A Successful Model in Non-severe COVID-19 Patients in the Developing World. Cureus. 2022;14(1):1-7.
Khoshrounejad F, Hamednia M, Mehrjerd A, Pichaghsaz S, Jamalirad H, Sargolzaei M, et al. Telehealth-based services during the COVID-19 pandemic: A systematic review of features and challenges. Frontiers in Public health. 2021;9:1-14.
Monaghesh E, Hajizadeh A. The role of telehealth during COVID-19 outbreak: A systematic review based on current evidence. BMC Public Health. 2020;20(1):1-9.
วรัญญา จิตรบรรทัด, ภัทรธิดา ฟองงาม, ขัตติยา เสมอภพ, ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น, ฮัสสัน จิตรบรรทัด. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ถอดบทเรียนรูปแบบการดูแลทางไกลด้วยระบบแยกกักตัวที่บ้าน ในมุมมองของกำลังคนด้านสุขภาพ ในเขตสุขภาพที่ 12. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565.
กฤติยาพร พลาเศรษฐ, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, ภูษณิศา มีนาเขตร, สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์. การจัดการของชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565;16(3):908-23.
Mak HW, Fancourt D. Predictors of engaging in voluntary work during the COVID-19 pandemic: analyses of data from 31,890 adults in the UK. Perspect Public Health. 2022;142(5):287-96.
Mao G, Fernandes-Jesus M, Ntontis E, Drury J. What have we learned about COVID-19 volunteering in the UK? A rapid review of the literature. BMC Public Health. 2021;21:1-15.
GRID COVID-19 Study Group. Combating the COVID-19 pandemic in a resource-constrained setting: insights from initial response in India. BMJ Global Health. 2020;5(11):1-15.
พีพีทีวี39 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; c2021. อาสาสมัครส่งยาให้ผู้ป่วยโควิดรักษาที่บ้าน; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/153053
Srinon R, Kritchanchai D, Srisakunwn S, Keitdumrongwong P. Policy Brief - Logistics and Supply Chain Management Strategy to Support Patient Home Isolation During the COVID-19 Pandemic in Thailand. J Med Assoc Thai 2022;105(11):1160-70.
วรัญญา จิตรบรรทัด, พิมพวรรณ เรืองพุทธ, ดลปภัฏ ทรงเลิศ, จิฑาภรณ์ ยกอิ่น, วิเชียร ไทยเจริญ, สุรเชษฐ์ เชตุทอง, และคณะ. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในเขตสุขภาพที่ 11. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ราม รังสินธุ์, กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์, อรุโนทัย ศิริอัศวกุล, ปารวี ชีวะอิสระกุล, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, และคณะ. ผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยระบบการแยกกักตัวที่บ้าน. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565.
Bazan D, Nowicki M, Rzymski P. Medical students as the volunteer workforce during the COVID-19 pandemic: Polish experience. Int J Disaster Risk Reduct. 2021;55:1-7.
Bahethi RR, Liu BY, Asriel B, Blum JR, Huxley-Reicher Z, Agathis AZ, et al. The COVID-19 Student WorkForce at the Icahn School of Medicine at Mount Sinai: A Model for Rapid Response in Emergency Preparedness. Acad Med. 2021;96(6):859-63.
ธีระพันธ์ โต้หนองแปน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 กรณีกักตัวที่บ้าน โรงพยาบาลกมลาไสย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;16(1):151-64.
สุมิตร ชินภักดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โดยการกักตัวที่บ้านของอำเภอแกดำ. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565;2(2):6-21.