การศึกษาคุณลักษณะของผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ตรวจ rapid SARS-CoV-2 antigen test เป็นบวก แต่ด้วยวิธี RT-PCR ได้ผลลบ ณ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้รับบริการที่มีผลการตรวจชุดตรวจหาแอนติเจนแบบรวดเร็วด้วยตนเอง (rapid SARS-CoV-2 antigen test หรือ Antigen test kit (ATK)) เป็นบวก และเข้ารับการตรวจยืนยันที่คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ด้วยวิธี Realtime RT- PCR ได้ผลลบ ระหว่างวันที่ 1 – 31 มีนาคม 2565 จำนวน 61 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบบันทึกข้อมูล ICN TRACKING ของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และมีการติดตามผลการตรวจยืนยันซ้ำอีกครั้งด้วย RT – PCR จากหน่วยงานอื่น วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 61 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.02 เพศชาย ร้อยละ 40.98 อายุเฉลี่ย 33.39 ปี อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 36.07 อาชีพพนักงานบริษัท ร้อยละ 47.53 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 21.31 ประวัติความเสี่ยงคือ ใกล้ชิดผู้ป่วย ร้อยละ 63.93 รองลงมาคือ อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ร้อยละ 34.43 ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 อย่างน้อย 1 เข็ม ร้อยละ 95.08 ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีน 3 เข็ม ร้อยละ 63.93 มีอาการแสดง ร้อยละ 77.05 และพบว่า ร้อยละ 36.07 ไปรับการตรวจซ้ำอีกในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน และพบผลตรวจ Detected ร้อยละ 81.82 ของคนที่ตรวจซ้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการ ร้อยละ 68.18 และได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ร้อยละ 72.73 การพิจารณาการรักษาและการป้องกัน นอกจากผลการตรวจด้วยวิธี RT PCR ที่เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานแล้ว ควรพิจารณาถึงการคัดกรองเรื่องอาการและประวัติเสี่ยงร่วมด้วย ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดและ/หรือมีอาการที่เข้าได้กับโควิด 19 ควรแยกตัวหรือกักตัวจนครบตามแนวทางของกรมการแพทย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
References
กลุ่มเฝ้าระวังและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. รายงานผลการวิเคราะห์สถานการณ์ และข้อมูลระบบเฝ้าระวัง 5 มิติ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2564.
เกียรติภูมิ วงศ์รจิต, บรรณาธิการ. แผนและมาตรการ Endemic การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19). กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาะรณสุข; 2565.
ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. เรียนรู้วิจัยระบบและนโยบายสุขภาพของไทยและโลกจากโควิด-19. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2563;14(4):375-376.
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2022. สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19); 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2566]; [ประมาณ 10 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/310365.pdf
พันธนีย์ ธิติชัย, ภันทิลา ทวีวิกยการ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2021. รายงานผลการทบทวน สถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย; 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2566]; [ประมาณ 28 น.]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2022. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 11 กรกฎาคม 2564; 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2566]; [ประมาณ 9 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=175
Matsuda EM, de Campos IB, de Oliveira IP, Colpas DR, Carmo AMDS, Brígido LFM. Field evaluation of COVID-19 antigen tests versus RNA based detection: Potential lower sensitivity compensated by immediate results, technical simplicity, and low cost. J Med Virol. 2021; 93(7):4405-10.
ศิวนาฏ พีระเชื้อ, กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์. ความถูกต้องในการตรวจวินิจฉัยของชุดทดสอบแอนติเจนอย่างรวดเร็วในการระบุผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 ที่เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขล้านนา [อินเทอร์เน็ต]. กรกฏาคม-ธันวาคม 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566];17(2):14-25. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/255102/173877
Chaimayo C, Kaewnaphan B, Tanlieng N, Athipanyasilp N, Sirijatuphat R, Chayakulkeeree M, et al. Rapid SARS-CoV-2 antigen detection assay in comparison with real-time RT-PCR assay for laboratory diagnosis of COVID-19 in Thailand. Virology journal 2020; 17(1):1-7.
Rohde J, Himmel W, Hofinger C, Lam T, Schrader H, Wallstabe J, et al. Diagnostic accuracy and feasibility of a rapid SARS-CoV-2 antigen test in general practice – a prospective multicenter validation and implementation study. BMC Primary Care [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 20];13:1-9. Available from: https://bmcprimcare.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12875-022-01756-1
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2022. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 1 มีนาคม 2565; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2565]; [ประมาณ 11 น.] เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=161
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2022. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 1 มีนาคม 2565; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2565]; [ประมาณ 10 น.] เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=164
Fernandez-Montero A, Argemi J, Rodríguez JA, Arino AH, Moreno-Galarraga M. Validation of a rapid antigen test as a screening tool for SARS-CoV-2 infection in asymptomatic populations. Sensitivity, specificity and predictive values. EClinicalMedicine [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 20];37:1-6. Available from: https://www.thelancet.com/journals/eclinm/article/PIIS2589-5370(21)00234-0/fulltext
ไมลา อิสสระสงคราม. การประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจ Antigen Test Kits 3 บริษัท ผู้ผลิตที่นำเข้าในประเทศไทยในการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19. วารสารสำ นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566];20(1):36-48. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/255703
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2020 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/64/covid/covid_lab16102020.pdf
U.S. FOOD & DRUG ADMINISTRATION [Internet]. United States: FDA; 2021. Genetic Variants of SARS-CoV-2 May Lead to False Negative Results with Molecular Tests for Detection of SARS-CoV-2 - Letter to Clinical Laboratory Staff and Health Care Providers; 2021 [cited 2023 Mar 28]; [about 1 p.] Available from: https://www.fda.gov/medical-devices/letters-health-care-providers/genetic-variants-sars-cov-2-may-lead-false-negative-results-molecular-tests-detection-sars-cov-2
Cloud JL, Hymas W, Carroll KC. Impact of nasopharyngeal swab types on detection of Bordetella pertussis by PCR and culture. Journal of Clinical Microbiology. 2002;40(10):3838-40.
Jindal H, Jain S, Suvvari TK, Kutikuppala L, Rackimuthu S, Rocha ICN, Goyal S, Radha. False-Negative RT-PCR Findings and Double Mutant Variant as Factors of an Overwhelming Second Wave of COVID-19 in India: an Emerging Global Health Disaster. SN Compr Clin Med. 2021;3(12):2383-8.