Development of a health literacy building model for hypertension prevention among risk group of hypertension in theworking age group, Regional Health 9th in New Normal era

Main Article Content

Rattainee Thanaseth

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ     ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง กลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 9 ในยุควิถีใหม่ โดยประยุกต์ใช้ รูปแบบ PAOR คือ ขั้นวางแผนการด้านเนินการ (P: Planning) ขั้นลงมือปฏิบัติ (A: Action) ขั้นสังเกต (O: Observation) และขั้นสะท้อนผล (R: Reflection) เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สังเกต สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงกลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 9 ในยุควิถีใหม่ ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้ (1)การพัฒนาบุคลากร             ให้มีความพร้อมในการดำเนินงาน (2)การทำงานแบบบูรณาการในรูปแบบคณะทำงาน (3)การพัฒนาความรู้และทักษะของวิทยากรกระบวนการ (4) การคัดเลือกพื้นที่นำร่อง (5) การติดตามประเมินผล โดยทำการทดลองใช้รูปแบบฯ เป็นเวลา   3 เดือน กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯก่อนและหลังการทดลองพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและระดับ   ความดันโลหิตไดแอสโตลิกหลังเข้าร่วมการทดลอง พบว่าต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ         (p-value<0.05 )และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมฯอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้


การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงกลุ่มวัยทำงาน โดยประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(PAOR) กับงานป้องกันโรค          กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง กลุ่มวัยทำงาน ได้รับการพัฒนาความสามารถและทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพตามองค์ประกอบครบทั้ง 5 ด้าน  ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง กลุ่มวัยทำงานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น  สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ และช่วยลดอัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ได้


                 

Article Details

How to Cite
1.
Thanaseth R. Development of a health literacy building model for hypertension prevention among risk group of hypertension in theworking age group, Regional Health 9th in New Normal era. IUDCJ [Internet]. 2023 Aug. 22 [cited 2024 Dec. 22];8(1):167-86. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/262438
Section
Research Articles

References

World Health Organization.[Internet] Geneva:Organization.c2013. A global brief on hypertension silent killer, global public health crisis; 2013 [cited 2022 January 10 ]; [about 40 pages]. .Available from: https://www.who.int/publications/i/item/a-global-brief-on-hypertension-silent-killer-global-public-health-crisis-world-health-day-2013

กุลพิมน เจริญดี, ณัฐกฤตา บริบูรณ์, อรรถกร บุตรชุมแสง, สุพิน รุ่งเรือง, บรรณาธิการ. รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์; 2565.

นันทกร ทองแตง. มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2562.โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ค. 2564]; [ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1371

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์. โรคความดันโลหิตสูง. ใน: วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. ตำราอายุรศาสตร์4 . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550. น.175-201.

ลิวรรณ อุนนาภิทักษ์, จันทนา รณฤทธิวิชัย, วิไลวรรณ ทองเจริญ, วีนัส ลีฬหกุล, พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. พยาธิสรีรทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์; 2550.

ศุภนิมิต หนองม่วง, จตุพร เหลืองอุบล, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. การพัฒนาระบบบริการเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสื่องข้าว อำเภอ ศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2556;6(2):80-86.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์. ผลการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอในการแก้ไขปัญหาความดันโลหิตสูง อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):56-62.

World Health Organization [Internet]. Geneva: WHO publication; 1998. Health Promotion Glossary; 1998 [cited 2021 May 15]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HPR-HEP-98.1

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20ปีด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 2559; 3(6):67-85.

McNaughton CD, Jacobson TA, Kripalani S. Low literacy is associated with uncontrolled blood pressure in primary care patients with hypertension and heart disease. Patient Educ Couns [Internet]. 2014 [cited 2021 May 8];96(2):165-70. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0738399114001876?via%3Dihub

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รอบรู้...สุขภาพวัยทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dopah.anamai.moph.go.th/th/e-book/970#wow-book/

กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2554.

Robert VK, Daryle WM. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement [Internet]. 1970 [cited 2021 May 16];30(3): 607-10. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/001316447003000308

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2560. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ของกลุ่มวัยทำงาน; 2561 [ปรับปรุงเมื่อ 5 ม.ค. 2561; เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/333

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. K-shape 5 ทักษะเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ.วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 2563;35(2):22-6.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:ขั้นพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. กรุงเทพฯ: อาร์ เอ็น พี พีวอเทอร์จำกัด; 2564.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21 stcentury. Health promotion international [Internet]. 2000 [cited 2021 May 16];15(3):259-267. Available from: https://academic.oup.com/heapro/article/15/3/259/551108

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. หลักการ 4 M. 2561. ใน: บทความในวิชาเรียน หลักการจัดการเทคโนโลยี [อินเทอร์เน็ต]. เหมันต์ มงคลยะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ [เข้าถึงเมื่อ10 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://hemanmongkolya.blogspot.com/2018/08/4ms.html

นิคม พุทธา, พลอยประกาย ฉลาดล้น. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเอง ของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2565;9(3):46-64.

สมจิตต์ สินธุชัยและคณะ. รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การจัดการตนเอง และผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี.วารสารสภาการพยาบาล. 2565;37(1):58-74.

Yong BL, Liu L, Yan FL, Yan LC. Relationship between health literacy, health-related behaviors and health status: A survey of elderly Chinese. International journal of environmental research and public health [Internet]. 2015 [cited 2021 May 15];12(8):9714-25. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4555308/

Ceara TC, Lindsay L, Sykes, Amy M, Amy C, Muhammad R, et al. Ethnicity and health literacy: a survey on hypertension knowledge among Canadian ethnic populations. Ethnicity & disease [Internet]. 2014 [cited 2021 May 15];24(3):276-282. Available from: https://www.jstor.org/stable/48667258

กฤษณี เสือใหญ่, พัชนี เชยจรรยา. พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์( สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม); 2558 [เข้าถึงเมื่อ1 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5422