นวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงวัยในชุมชนบ้านสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

Thapach Kansorn
Arnon Sangkapong
Bang-ern Pumipak
Rujirachai Muangkeaw
Suchart Natsuwan
Wandee Natsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา (research and development: R&D) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ดูแลผู้สูงวัย ผู้ให้การปรึกษาด้านวิชาการ ด้วยการใช้แอพพลิเคชันด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) พัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้สูงวัย  2) ศึกษาผลของโปรแกรมระบบเครือข่ายการสนับสนุนทางสังคมผู้สูงวัย เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งวิธีเชิงปริมาณ (quantitative method) และวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative method) ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือน มิถุนายน 2563 - มิถุนายน 2564 ประชากร ได้แก่เครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงวัย ที่อาศัยอยู่ในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 3 เครือข่าย ได้แก่ ผู้ดูแลในครอบครัว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อสม. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงวัย จำนวน 15 คน  อสม.จำนวน 10 คน และพยาบาลประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นและ แบบประเมินความพึงพอใจแอพพลิเคชั่น ผ่านการหาคุณภาพของเครื่องมือ (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ 0.96 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่าแอพพลิเคชันมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี (M = 4.38, SD = 0.62) โดยความเร็วมีคะแนนสูงสุด (M = 4.55, SD = 0.54) รองลงมาคือ ความถูกต้อง (M = 4.35, SD = 0.71) และความสามารถในการให้บริการ (M = 4.25, SD = 0.62) ความพึงพอใจแอพพลิเคชันอยู่ในระดับมาก (M = 4.26, SD = 0.68) โดยพึงพอใจด้านเนื้อหาสูงที่สุด (M = 4.46, SD = 0.57) รองลงมาคือด้านภาพ ภาษา และเสียง (M = 4.40, SD = 0.73) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผู้ประเมินพึงพอใจด้านเนื้อหาว่ามีความชัดเจนและความถูกต้องของข้อมูลมากที่สุด (M = 4.66, SD = 0.54)

Article Details

How to Cite
1.
Kansorn T, Sangkapong A, Pumipak B- ern, Muangkeaw R, Natsuwan S, Natsuwan W. นวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงวัยในชุมชนบ้านสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ . วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 22 สิงหาคม 2023 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];8(1):138-49. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/262040
บท
บทความวิจัย

References

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. บทความวิชาการ เรื่อง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของ ประเทศไทย=Aging society in Thailand. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2556.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย; c2021. สังคม สูงอายุ...แบบสมบูรณ์ คนไทยพร้อมแล้วหรือยัง?. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2566]; [ประมาณ 1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Aging-society-FB-30-04-21.aspx

กรมกิจการผู้สูงวัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงวัย; c2023. สถิติผู้สูงวัย. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2566]; [ประมาณ 1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159

ดารารัตน์ สุขแก้ว, สัมพันธุ์ จันทร์ดี, ประนอม ตั้งปรีชาพาณิชย์, ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร. การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุตาม อาชีพในจังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์. 2565;4(1):18-32.

ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์, วารี ศรีสุรพล. การดูแลผู้สูงวัยที่ อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2560;5(พิเศษ):387-405.

กชกร วัชรสุนทรกิจ, และสุภาณี แก้วพินิจ. ศูนย์อนามัยที่ 2 พ.ล. งานวิจัย งานวิชาการ [อินเทอรืเน็ต]. พิษณุโลก: ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hpc2service.anamai.moph.go.th/researchhpc2/view.php?id=172

กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, เผด็จการ กันแจ่ม, ธนากร ธนวัฒน์, ณิชารีย์ใจคำวัง, พิชชาภา คนธสิงห์. รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). 2562;14(1):65-78.

Chang SL. The Systematic Design of Instruction. Educational Technology Research and Development. 2006;54(4):417-420.

วิลัยพร ไชยสิทธิ์. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษาทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2555;4:143-51.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. กรณีศึกษาการใช้สื่อใหม่ผ่านโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริม คุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุกับ สมาชิกในครอบครัว ณ ประเทศนิวซีแลนด์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2558;8(3): 96-117.

จุฬาวลี มณีเลิศ.การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม.วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 2564;7(2): 83-94.

อนุชา จันทร์เต็ม, สรัญญา เชื้อทอง, ปกรณ์ สุปินานนท์. การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน

เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2561;11(1): 1371-85.