การเปรียบเทียบลักษณะและผลการรักษาของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เป็นคนไทยและไม่ใช่ไทย ณ ศูนย์บริการโรคในเขตเมือง ปี 2551 - 2560

Main Article Content

เขมกร เที่ยงทางธรรม
สุพัตรา นิลศิริ
วรงค์กช เชษฐพันธ์

บทคัดย่อ

ศูนย์บริการโรคในเขตเมือง เป็นคลินิกที่รักษาโรคเรื้อน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาลักษณะและผลการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคนไทยและไม่ใช่คนไทยในผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารับบริการ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี จำนวน 68 ราย เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่สร้างขึ้นจำเพาะ สอดคล้องกับแบบบันทึกข้อมูลที่  กรมควบคุมโรคใช้ในการบันทึก วิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Chi-square และ paired t- test


  ผลการศึกษา พบว่าตั้งแต่ปี 2551 - 2560 ผู้ป่วยคนไทย 59 ราย ร้อยละ 86.76  ไม่ใช่คนไทย  9  ราย ร้อยละ 13.24 ส่วนใหญ่ทั้งคนไทยและไม่ใช่คนไทย เป็น เพศชาย ร้อยละ 64.4, 66.7 คนไทยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 56-65 ปี ร้อยละ 23.7 ไม่ใช่คนไทย 26-35 ปี ร้อยละ 33.3   ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 52.5, 66.7 ตามลำดับ ภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับอัตราการป่วยของโรคเรื้อนคือผู้ป่วยไม่ใช่คนไทยอาศัยในพื้นที่ต่างประเทศและรองลงมาคือ จังหวัดปทุมธานี ร้อยละ 44.4, 33.3 ส่วนผู้ป่วยคนไทยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดปทุมธานี  ร้อยละ 30.5, 25.4 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มเป็นผู้ป่วยเชื้อมาก ร้อยละ 79.7, 88.9 ตามลำดับ ระยะเวลามีอาการก่อนมารักษา 1 - 5 ปี ร้อยละ 54.2, 55.6  ตามลำดับ  มีรอยโรคทั้ง 2 ข้าง และรับยาเชื้อมาก โดยส่วนใหญ่ไม่มีภาวะเห่อ ร้อยละ 54.2, 77.8 ตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยไม่ใช่คนไทยมีความสัมพันธ์ กับการแพ้ยาระหว่างรักษา ร้อยละ 11.1 (p < .05)  ผลการรักษาครบทั้งคนไทยและไม่ใช่คนไทย ร้อยละ 76.3, 66.8 ตามลำดับ แต่อัตราการขาดยาในผู้ป่วยไม่ใช่คนไทย มากกว่าคนไทย 3 เท่า ร้อยละ 22.2 และ 6.8  


สรุป ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ไม่ใช่คนไทยมีการแพ้ยา และอัตราการขาดยาสูงกว่าคนไทย จึงต้องมีการวางแผนติดตาม และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ไม่ใช่คนไทย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน และลดการเกิดความพิการ ตามเป้าหมายการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อน

Article Details

How to Cite
1.
เที่ยงทางธรรม เ, นิลศิริ ส, เชษฐพันธ์ ว. การเปรียบเทียบลักษณะและผลการรักษาของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เป็นคนไทยและไม่ใช่ไทย ณ ศูนย์บริการโรคในเขตเมือง ปี 2551 - 2560. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];6(1):67-86. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/249505
บท
บทความวิจัย

References

ธีระ รามสูต, ฉลวย เสร็จกิจ. (2559). ระบาดวิทยาของโรคเรื้อนหลังการกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จสมดังพระราชปณิธาน. ราชประชาสมาสัยสาร, ฉบับพิเศษ :27-37.

ธีระ รามสูต, ฉลวย เสร็จกิจ. (2559). ความก้าวหน้าของโครงการเฝ้าระวังและรักษาโรคเรื้อนในบุคคลและแรงงานต่างด้าว. ราชประชาสมาสัยสาร, ฉบับพิเศษ: 38-46.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์,พจนา ธัญญกิตติกุล. (2562). การประเมินประสิทธิผลโครงการกำจัดโรคเรื้อนภายใต้แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557)และแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี

(พ.ศ. 2558-2563) พ.ศ. 2561 เข้าถึงวันที่ 30 กันยายน 2562

http://thaileprosy.ddc.moph.go.th/site/research.html.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์และศิรามาศ รอดจันทร (2560, บทคัดย่อ). ศึกษาการรับรู้การตีตราต่อโรคเรื้อนและวัณโรคในบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ. วารสารกรมควบคุมโรค ปีที่ 43 ฉบับที่ 3 ก.ค - ก.ย. 2560

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. (2552). แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 2553-2557. สมุทรปราการ.

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. (2553). คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. (2557). แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี (2558-2563).

สมุทรปราการ.

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. (2561). สถานการณ์โรคเรื้อน 2507-2560. นนทบุรี

สุรพงษ์ กองจันทึก. (2554). การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติควรเป็นอย่างไร. เข้าถึงได้จาก

http://www.statelessperson.com/www/?q=node/3019

กองนโยบายและแผนสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (2559). รายงานการศีกษาผลกระทบจากการให้บริการสาธารณสุขแก่แรงงานต่างด้าวของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ.

สํานักบริหารแรงงานต่างด้าว. วารสารสถิติจํานวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทํางานทั่วราชอาณาจักร ประจําปี ๒๕๕๘. กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, ๒๕๕๙

ศิวิไล ชยางกูร.(2555) . แรงงานข้ามชาติกับความต้องการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ชัยรัตน์ เตชะไตรศักดิ์. (2561). ระบาดวิทยาของโรคเรื้อนในแรงงานต่างด้าว อพยพเข้ามาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2541 - 2559. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย,ปีที่ 8 ฉบับที่ 1

มกราคม-เมษายน 2561:1-13.

World Global Burden of disease: 2004 update. Geneva, Switzerland: World Health Organization, 2008. 2.

Jones KE, Patel NG, Levy MA, et al. Global trends in emerging and remerging disease. Nature, 2008; 451: 990-995.

Disease Buden due to Leprosy (Plan Period: 2011-2015). New Delhi. (2015). Global Leprosy Strategy 2016-2020.

Retrieved from: http://www.who.int/lep/resources/9789290225256/en/.

Diana L. (2012). Drug-resistant leprosy: Monitoring and current Status. Lepr Rev, 83:269–281.

ILEP. (2001). The Interpretation of Epidemiological Indicators in Leprosy. London.