การศึกษาภาวะกระดูกพรุนในผู้ที่มารับการตรวจมวลกระดูกส้นเท้าด้วยเครื่อง อัลตราซาวด์ในบุคคลทั่วไป

Main Article Content

Chantip Juntakarn
วรัญญา ทาสมบูรณ์
กชนิภา ทอนมาตย์
สุวิภา อุดมพร
รมนปวีร์ บุญใหญ่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง  เพื่อศึกษาภาวะกระดูกพรุนในประชากรที่มารับการตรวจมวลกระดูกส้นเท้าด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลการตรวจวัดมวลกระดูกส้นเท้าด้วยเครื่อง Quantitative Ultrasound (QUS) ในประชาชนทั่วไป  ซึ่งเป็นข้อมูลจากการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกลุ่มงานวิจัยและประเมินเทคโนโลยี โรงพยาบาลเลิดสิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึงปี พ.ศ.2560  ในงานศึกษานี้การวินิจฉัยภาวะมวลกระดูกจะพิจารณาจากค่า T-score ที่ได้จากการตรวจด้วยเครื่อง QUS หากค่า T-score ≤ -2.5 จะวินิจฉัยว่ามีภาวะกระดูกพรุน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่อาจส่งผลต่อความแตกต่างของภาวะมวลกระดูก โดยใช้สถิติ Chi-square Test  ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ที่มารับบริการตรวจมวลกระดูกส้นเท้าด้วยเครื่อง QUS ทั้งหมด 2,121 ราย  พบผู้มีภาวะกระดูกพรุน 268 ราย (ร้อยละ 12.6) ผู้มีภาวะกระดูกพรุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและมีอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่อเปรียบเทียบเพศและอายุกับภาวะมวลกระดูก (ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกบางและ ภาวะกระดูกปกติ) พบว่ามีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่อมีเพศแตกต่างกันจะพบภาวะมวลกระดูกที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.014)  จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังพบภาวะโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกบางได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในอนาคต ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุนควรได้รับการสนับสนุนให้มีในทุกกลุ่มประชากรในโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
Juntakarn C, ทาสมบูรณ์ ว, ทอนมาตย์ ก, อุดมพร ส, บุญใหญ่ ร. การศึกษาภาวะกระดูกพรุนในผู้ที่มารับการตรวจมวลกระดูกส้นเท้าด้วยเครื่อง อัลตราซาวด์ในบุคคลทั่วไป. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];6(1):44-53. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/249121
บท
บทความวิจัย

References

1. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยและมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย,
แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคกระดูกพรุน พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ, 2553.
2. Campion JM, Maricic MJ. Osteoporosis in men. Am Fam Physician 2003; 1:1521-6.
3. Jarupanich T. Prevalence and risk factors associated with Osteoporosis in Woman Attending Menopause Clinic at Hat Yai Regional Hospital. J Med Assoc Thai , 2007;90 :865-869.
4. Chaovisitsaree S, Namwongprom S, Suntornlimsiri N. Comparison of Osteoporosis Self Assessment Tool for Asian (OSTA) and standard assessment in menopause clinic, Chiang Mai. J Med Assoc Thai , 2007;90 :420-425.
5. Pongchaiyakul C, Panichkul S, Songpatanasilp T. Combined clinical risk indices with Quantitative Ultrasound Calcaneus Measurement for Identifying Osteoporosis in Thai Postmenopausal Woman. J Med Assoc Thai, 2007;90 :2016-2023.
6. World Health Organization. Assessment of fracture risk and its application to screening for postmenopausal osteoporosis. No. 843 of technical reports series. Geneva, 1994.
7. Ho-pham L, Nguyen U, Pham H et al. Reference Ranges for bone mineral density and prevalence of Osteoporosis in Vietnamese men and woman. BMC Musculoskeletal Disorders 2011;12:182-8.

8.
Bucuras D, Poenaru D, Golea O. Quantitative heel ultrasound compared with dual-energy x-ray absorptiometry in evaluation of bone mineral density in chronic haemodialysis patients. TMJ 2009;59:27-33.
9. R.B. Cook, D. Collins, J. Tucker and P. Zioupos. Comparison of questionnaire and Quantitative Ultrasound techniques as screening tools for DXA. Osteoporos Int 2005; 16:1565-1575.
10. Thanumpai S, Soontrapa S and Chaikitpinyo S. Thestudy of Short-Term Precision of Calcaneal Quantitative Ultrasound (Achilles Express). Srinagarind Med J 2010; 25(2):115-119.
11.
J-D Lin, J-F Chen, H-Y Chang and C Ho. Evaluation of bone mineral density by quantitative ultrasound of bone in 16,862 subjects during routine health examination. Br J Radiol 2001;74:602-606.
12. ลดาชาติ แตพงษโสรัถ. กระดูกพรุน: ระบาดวิทยา สาเหตุการตรวจวินิจฉัย การรักษา Osteoporosis: Epidemiology, Causes, Diagnosis, Treatments. J Sci Technol MSU 2014; 33(5):526-536.
13. ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรตั้งแต่ ปี 2544, 2547, 2550, 2554 และ 2557, การสำรวจอนามัยและสวัสดิการปี 2556, สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
http://cas.or.th/wp-content/uploads/2016/04/Alc-consumption-statistics-Thailand-10y.pdf
14. The Asia-Pacific Regional Audit. Epidemiology, costs & burden of osteoporosis [Internet]. 2013 [cited 2013 December 12]. Available from: http://www.iofbonehealth.org/data-publications/ regional-audits/asia-pacific-regional-audit
15. พัชรินทร์ ชนะพาห์. โรคกระดูกพรุนในเพศชายร้ายแรงกว่าที่คิด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2554; 41: 283-294
16. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอื่นๆ.
https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth /ThaiHealth2020/thai2020_9.pdf: February 2021.
17. สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานควบคุมการบริโภคยาสูบปี 2560-2564. http://plan.ddc.moph.go.th/meeting30_1augsep/meetting30_1/Documents/7.% 20NATI/3.%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A.pdf: 17 February 2021.