การจัดการความเสี่ยงในช่วงแรกของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเมืองขนาดใหญ่ของประเทศไทย

Main Article Content

สุขสันต์ จิตติมณี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความเสี่ยงช่วงแรกของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ผลการตอบสนองต่อการจัดการความเสี่ยง ด้านความรวดเร็วในการค้นหา และความรุนแรงของอาการป่วย รูปแบบการศึกษาเป็นภาคตัดขวาง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเป็นเอกสารในกระบวนการจัดการความเสี่ยง ณ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2563 และกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง ณ โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและได้รับการตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 4,638 ราย เก็บข้อมูลการจัดการความเสี่ยงตามวงจร Plan-Do-Check-Act วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและคำนวณใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาประกอบด้วยการจัดการความเสี่ยง 4 ขั้นตอน ขั้นแรก การวางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับการประเมินความเสี่ยงที่พบว่าการระบาดอยู่ในระยะที่ 2 มีผู้ป่วยในวงจำกัด และพบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามการแปลง 6 มาตรการระดับประเทศสู่กิจกรรมในพื้นที่ ขั้นที่สอง การดำเนินงานตามแผน ขั้นที่สาม การวิเคราะห์ผลการจัดการความเสี่ยง พบว่าผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังร้อยละ 55.5 ตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ภายในสัปดาห์แรกเมื่อเริ่มมีอาการ ตรวจพบผู้ป่วยยืนยันร้อยละ 8.4 (389/4,638)  ผู้ป่วยมีอาการไอมากที่สุด (ร้อยละ 49.9) และขั้นที่สี่การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการตอบสนองต่อการระบาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันโรค ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ช่วยให้ผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังเข้าถึงการตรวจการติดเชื้อโดยเร็ว ในขณะที่อาการไม่รุนแรง และป้องกันการระบาดในผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยได้

Article Details

How to Cite
1.
จิตติมณี ส. การจัดการความเสี่ยงในช่วงแรกของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเมืองขนาดใหญ่ของประเทศไทย. วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 5 กันยายน 2020 [อ้างถึง 11 เมษายน 2025];5(1):128-45. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/243659
บท
บทความวิจัย

References

1. Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Zhang L, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet 2020; 395: 497-507.
2. World Health Organization. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report–53 [Internet]. [cited 2020 Mar 18]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200313-sitrep-53-covid-19.pdf?sfvrsn=adb3f72_2
3. World Health Organization. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report–62 (21 March 2020) [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 18]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200322-sitrep-62-covid-19.pdf?sfvrsn=f7764c46_2
4. Pongpirul WA, Pongpirul K, Ratnarathon AC. Journey of a Thai taxi driver and novel coronavirus. N Eng J Med 2020; 382, 1067-8.
5. Department of Disease Control. Coronavirus disease 2019 situation report-78 (21 March 2020) [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 18]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no78-210363_1.pdf
6. World Health Organization. Health emergency and disaster risk management framework [Internet]. 2019 [cited 2020 Apr 18]. Available from: https://www.who.int/hac/techguidance/preparedness/health-emergency-and-disaster-risk-management-framework-eng.pdf?ua=1
7. Lo S, Chan E, Chan G, Murry V, Abrahams J, Ardalan A, et al. Health emergency and disaster risk management (Health-EDRM): developing the research field within the Sendai Framework Paradigm. Int J Disaster Risk Sci 2017; 8: 145-149.
8. Taylor MJ, McNicholas C, Nicolay C, Darzi A, Bell D, Reed JE. Systematic review of the application of the plan-do-study-act method to improve quality in health care. BMJ Quality and Safety 2014; 23: 290-298.
9. Li Y, Wang H, Jiao J. The application of strong matrix management and PDCA cycle in the management of severe COVID-19 patients. Critical care 2020; 24: 157.
10. Wood LM, Sebar B, Vecchio N. Application of rigor and credibility in qualitative document analysis: lessons learnt from a case study. The Qualitative Report 2020; 25 (2), 456-470.
11. กรมควบคุมโรค (2563). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแล รักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g05_010563.pdf
12. World Health Organization (2020a). Novel Coronavirus (2019-nCoV) situation report-1 (21 January 2020). Retrieved from https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200121-sitrep-1-2019-ncov.pdf?sfvrsn=20a99c10_4
13. World Health Organization. Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of Kingdom of Thailand [Internet]. 2016 [cited 2020 Apr 18]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272493/WHO-WHE-CPI-REP-2017.38-tha.pdf?sequence=5&isAllowed=y
14. Global Health Security Agenda. GHS Index map [Internet]. 2019 [cited 2020 June 6]. Available from: https://www.ghsindex.org/wp-content/uploads/2019/08/Thailand.pdf
15. Genereux M, Lafontaine M, & Eykelbosh A. From science to policy and practice: a critical assessment of knowledge management before, during, and after environmental public health disasters. Int J Environ Res Public Health 2019; 15: 587.
16. Lee KM, Jung K. Factors influencing the response to infectious diseases: focusing on the case of SARS and MERS in South Korea. Int J of Environ Res Public Health. 2019; 16: 1432.
17. Park PG, Kim CH, Heo Y, Kim TS, Part CW, Kim CH. Out-of-hospital cohort treatment of coronavirus disease 2019 patients with mild symptoms in Korea: an experience from a single community treatment center. J Korean Med Sci 2020; 35 (13): e140.
18. Gostic K, Gomez AC, Mummah RO, Kuchaski A, Lloyd-Smith JO. Estimated effectiveness of symptom and risk screening to prevent the spread of COVID-19. eLife 2020; 9: e55570.