ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พิชาภรณ์ สุรวงษ์สิน กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

หลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน, สมองขาดเลือด, ยาละลายลิ่มเลือด, เลือดออกในสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ: ในปัจจุบันอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ที่มีอาการภายใน 4.5 ชั่วโมง คือ การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (Intravenous recombinant tissue plasminogen activator; IV rt-PA) จากข้อมูลการศึกษาถึงประสิทธิผลของการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ พบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นร้อยละ 31-50 และมีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในสมองรุนแรงพบได้ร้อยละ 1.7-6.42 ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในสมองรุนแรงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การผ่าตัด และเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมองหลังได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาโดย การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective analytical study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน และได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำทั้งหมดที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลหัวหิน ในช่วง 1 มกราคม 2562 – 31 ธันวาคม 2565 โดยใช้การคำนวณทางสถิติโดย Logistic regression analysis

ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 84 ราย และมีผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในสมองหลังจากได้ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำทั้งหมด 15 ราย (ร้อยละ 17.85) โดยมีการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบเพศ อายุ โรคประจำตัว ภาวะหัวใจหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว การใช้ยาต้านเกร็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือด การได้รับยาลดความดัน คะแนน NIHSS ระยะเวลาตั่งแต่มีอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด ค่าการทำงานของไต, ค่าน้ำตาลในเลือด, ค่าการแข็งตัวของเลือด, ค่าเกร็ดเลือด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดออกในสมองหลังได้รับการรักษาด้วยละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ ปริมาณเกร็ดเลือด (adj.OR 15.94, 95%CI 1.84 - 138.18, P=0.012) ปัจจัยที่อาจจะมีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ คะแนน NIHSS ที่มากกว่า 13 (adj.OR 3.24, 95%CI 0.86 - 12.15, P=0.082), ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่มากกว่าเท่ากับ 210 นาที (adj.OR 2.61, 95%CI 0.68 - 10.07, P=0.164)

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในสมองหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลหัวหิน คือ ปริมาณเกร็ดเลือด

References

สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์ โรคหลอด เลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย.2021;4(37):54-60.

Powers, W. J., et al. Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association Stroke.2019;50(12).

Teekaput C, Thiankhaw K, Tanprawate S, Teekaput K, Chai-Adisaksopha C. Outcomes of asymptomatic recombinant tissue plasminogen activator associated intracranial hemorrhage. PLoS One. 2022 ;17(8)

Wardlaw JM, Murray V, Berge E, del Zoppo GJ. Thrombolysis for acute ischaemic stroke. Cochrane Database Syst Rev. 2014;2014(7)

Seet RC, Rabinstein AA. Symptomatic intracranial hemorrhage following intravenous thrombolysis for acute ischemic stroke: a critical review of case definitions. Cerebrovasc Dis. 2012;34(2):106-14.

Stead LG, Gilmore RM, Decker WW, Weaver AL, Brown RD Jr. Initial emergency department blood pressure as predictor of survival after acute ischemic stroke. Neurology. 2005;65:1179–1183.

Demchuk AM, Morgenstern LB, Krieger DW, Linda Chi T, Hu W, Wein TH, et al. Serum glucose level and diabetes predict tissue plasminogen activator-related intracerebral hemorrhage in acute ischemic stroke. Stroke. 1999;1:34-9.

Wahlgren N, Ahmed N, Eriksson N, Aichner F, Bluhmki e, Davalos A, et al. Safe implementation of Thrombolysis in Stroke-MOnitoring Study Investigators..Mutlivariable analysis of outcome predictors and adjustment of main outcome results to baseline data profile in randomized controlled trials: Safe Implementation of Thrombolysis in Stroke-Monitoring Study (SITS-MOST). Stroke. 2008;1

Xie X, Yang J, Ren L, Hu S, Lian W, Xiao J, Pan L, Deng L, Ma J. Nomogram to Predict Symptomatic Intracranial Hemorrhage after Intravenous Thrombolysis in Acute Ischemic Stroke in Asian Population. Curr Neurovasc Res. 2021;18(5):543-551

Dharmasaroja PA, Meungtaweepongsa S, Pattaraarchachai J, Dharmasaroja P. Intracerebral hemorrhage following intravenous thrombolysis in Thai patients with acute ischemic stroke. J Clin Neurosci. 2012 Jun;19(6):799-803.

Zhu J, Shen X, Han C, Mei C, Zhou Y, Wang H, Kong Y, Jiang Y, Fang Q, Cai X. Renal Dysfunction Associated with Symptomatic Intracranial Hemorrhage after Intravenous Thrombolysis. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2019 Nov;28(11)

Tanne D, Kasner SE, Demchuk AM, Koren-Morag N, Hanson S, Grond M, et al. Markers of increased risk of intracerebral hemorrhage after intravenous recombinant tissue plasminogen activator therapy for acute ischemic stroke in clinical practice: the Multicenter rt-PA Stroke Survey. Circulation. 2002 Apr 9;105(14):1679-85.

Zhu J, Shen X, Han C, Mei C, Zhou Y, Wang H, Kong Y, Jiang Y, Fang Q, Cai X. Renal Dysfunction Associated with Symptomatic Intracranial Hemorrhage after Intravenous Thrombolysis. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2019 Nov;28(11)

Tanne D, Kasner SE, Demchuk AM, Koren-Morag N, Hanson S, Grond M, et al. Markers of increased risk of intracerebral hemorrhage after intravenous recombinant tissue plasminogen activator therapy for acute ischemic stroke in clinical practice: the Multicenter rt-PA Stroke Survey. Circulation. 2002 Apr 9;105(14):1679-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สุรวงษ์สิน พ. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเลือดออกในสมองหลังได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. หัวหินเวชสาร, 4(3), 1–9. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/269702