ความเหมาะสมของการใช้ยา Atorvastatin และประสิทธิผลในการเปลี่ยนแปลง ระดับไขมันในเลือด ในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอู่ทอง

ผู้แต่ง

  • ณัฐญา ปานสังข์ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลอู่ทอง

คำสำคัญ:

Atorvastatin, ความเหมาะสมของการใช้ยา, ประสิทธิผล, ผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

บทนำ : Atorvastatin เป็นยากลุ่ม Statins ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลอู่ทอง พบว่ามีการสั่งใช้ยา Atorvastatin เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยปี 2564 และปี 2565 มีมูลค่า 2,374,833 บาท และ 2,637,646 บาท ตามลำดับ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา Atorvastatin และประสิทธิผลในการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด ในผู้ป่วยนอกที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนาจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล อู่ทอง ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและได้รับการสั่งใช้ยา Atorvastatin เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล และการประเมินความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา และใช้สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับไขมันในเลือดก่อนและหลังได้รับยา Atorvastatin ในผู้ป่วยกลุ่มเดียวกัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยนอกที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น 94 ราย ส่วนใหญ่ได้รับยา Atorvastatin เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ มากกว่าแบบทุติยภูมิ   ร้อยละ 89.4 และร้อยละ 10.6 ตามลำดับ พบว่าการสั่งใช้ยาสำหรับการป้องกันแบบปฐมภูมิมีการใช้ยาเหมาะสม ร้อยละ 60.7 ส่วนการใช้ยาแบบทุติยภูมิมีความเหมาะสมทั้งหมดร้อยละ 100 ด้านประสิทธิผลของยา พบว่า Atorvastatin มีประสิทธิผลในการลดระดับไขมัน LDL-C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value < 0.05 โดยยา Atorvastatin 20 mg ลดระดับไขมัน LDL-C ลงจากระดับเริ่มต้นเฉลี่ยร้อยละ 20.08 ส่วน Atorvastatin 40 mg ลดระดับไขมัน LDL-C ลงเฉลี่ยร้อยละ 38.73 ผลการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ไม่พบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ทั้งผู้ป่วยที่ใช้ยา Atorvastatin 20 mg และ 40 mg อย่างไรก็ตามการบรรลุเป้าหมายการควบคุมระดับ LDL-C ในการป้องกันแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นร้อยละ 60.7 และ 20 ตามลำดับ

สรุป: การสั่งใช้ยา Atorvastatin ครั้งแรก เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ มีความเหมาะสมมากกว่าร้อยละ 60 โดยที่ Atorvastatin 40 mg มีประสิทธิผลในการลดระดับไขมัน LDL-C ได้มากกว่า Atorvastatin 20 mg และไม่พบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

References

Linton MRF, Yancey PG, Davies SS, et al. The role of lipids and lipoproteins in atherosclerosis. MDText.com, Inc. [Update 2019 January 3; cited 2023 July 18]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK343489/

กองโรคไม่ติดต่อ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. รณรงค์วันหัวใจโลก ปี 2562 “Be A Heart Hero…Make A Heart Promise จงกล้าท้าทาย พันธสัญญาแห่งใจ” [อินเทอร์เน็ต]. 26 กันยายน 2562 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=9632&deptcode=brc

กองโรคไม่ติดต่อ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก 2565เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 28 ตุลาคม 2565 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29284&deptcode=brc

กฤติน บัณฑิตานุกูล. Primary prevention of cardiovascular disease. Center for continuing pharmacy education. No. 2005-1-000-004-10-2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=88

กฤติน บัณฑิตานุกูล. Update and review for hyperlipidemia management. Center for continuing pharmacy education. No. 2005-1-000-001-01-2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=769

Loetthiraphan S. Medication for dyslipidemia in cardiovascular disease prevention. J Med Health Sci 2020; 27(1):147-59.

พิชญ์พงศ์ โฆษิตชัยวัฒน์. Update and review for hypercholesterolemia management. ใน: กฤติน บัณฑิตานุกูล, ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in cardiometabolic disease. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นานนะภงค์; 2560. หน้า 111-41.

สมาคมโรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: โรงพิมพ์ เอ-พลัส พริ้น; 2560: 6-13.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138; 2564: 19.

นงลักษณ์ พร้อมเพรียง, กฤษณะ สายทอง. ความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา Atovastatin ครั้งแรกในผู้ป่วยนอก ตามเกณฑ์กำหนดของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/f077f09263035a909b4603315350a3f3.pdf

อัจฉราแหลมทอง. การศึกษาการสั่งใช้ยา Atorvastatin และ Rosuvastatin ในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ที่ใช้ยาเป็นครั้งแรก. วารสารโรงพยาบาลเจริญ กรุงประชารักษ์ 2554; 7(1): 22-32.

จารุต อนันตวิริยา. การประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statins ตามเงื่อนไขบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2558 ของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล วัดเพลง จังหวัดราชบุรี. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20170825154024_391/20170825154257_713.pdf

สำอางค์ เกียรติเจริญสิน, พิศาล ภักคีรี. ผลลัพธ์การประเมินความเหมาะสมในการใช้ยา Atorvastatin ในโรงพยาบาลระยอง. วารสารโรงพยาบาลระยอง [อินเทอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rayonghospital.go.th/images/webpage/19f2388518e8b5.pdf

นิภาพร เชาว์บวร, พรรณี ยิ่งยง, วรุณกาญจน์ ทุ่งสว่าง. ความเหมาะสมของการใช้ยา Atorvastatin ครั้งแรกในผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช: เปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการด้วยกลยุทธ์การจัดการ. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2562; 25(3): 21-34.

Jones PH, McKenney JM, Karalis DG, Downey J. Comparison of the efficacy and safety of atorvastatin initiated at different starting doses in patients with dyslipidemia. Am Heart J 2005; 49(1): e1-e8.

เฉลิมชัย สันทัดรัมย์. ศึกษาผลการใช้ยาลดไขมันสแตติน ต่อระดับออกซิไดซ์แอลดีแอล [สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2563.

สุนันทา หล่อพงศ์ไพบูลย์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาอะโทรวาสตาตินที่เป็นยาสามัญและยาต้นแบบในการรักษาผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2562; 25(3):11-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30