การเปรียบเทียบผลการผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยวิธีผ่าตัดใช้เยื่อหุ้มรกกับใช้สารมัยโตมัยซินซีความเข้มข้น 0.02% ในผู้ป่วยโรคต้อเนื้อที่มารับบริการในโรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • เทียนชัย เมธานพคุณ กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

การผ่าตัดโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก, เยื่อหุ้มรก, สารมัยโตมัยชินซี, การกลับมาเป็นซ้ำ, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคต้อเนื้อ (Pterygium) เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร มีหลายเทคนิคที่นำมาใช้ในการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้มีผลต่อการกลับมาเป็นซ้ำ และภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อโดยวิธีใช้เยื่อหุ้มรกกับใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% ในโรงพยาบาลหัวหิน

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการกลับมาเป็นซ้ำ และภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรกโดยวิธีผ่าตัดใช้เยื่อหุ้มรกกับใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02%

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรกโดยใช้เยื่อหุ้มรกกับใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% ที่มารับบริการในโรงพยาบาลหัวหิน ในระหว่างเดือนมีนาคม 2564 ถึง เดือนกันยายน 2565 จำนวน 80 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่             Chi square test , Independent t –test และ Odds ratio

ผลการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยโรคต้อเนื้อที่ผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยวิธีผ่าตัดใช้เยื่อหุ้มรกกับ         กลุ่มที่ใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% มีข้อมูลทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน พบการกลับมาเป็นซ้ำภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรกที่ 6 เดือนและ 1 ปี เป็นร้อยละ 15 ทั้งโดยวิธีผ่าตัดใช้เยื่อหุ้มรกและการใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% โดยไม่พบความแตกต่างของการกลับมาเป็นซ้ำและภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: จากผลการวิจัยที่ได้ควรจะนำวิธีผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรกโดยใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% มาใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อเนื่องจากเป็นวิธีที่ราคาถูก ปลอดภัย ง่าย สะดวก และภาวะแทรกซ้อนต่ำ

References

Lan Ping Sun, et al. Friedman, Xiao Hui Yang, Li Xia Guo, Yi Peng. The Prevalence of and Risk Factors Associated with Pterygium in a Rural Adult Chinese Population: The Handan Eye Study. Ophthalmic Epidemiology. 2013;20(3):148-154.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสรุปรายงานการป่วย. สรุปรายงานการป่วย ปี พ.ศ. 2564.

Aminlari A., et al. Management of Pterygium. American Academy of Ophthalmology (Nov-Dec 2013):37-48.

โกศล คำพิทักษ์. ผลการผ่าลอกต้อเนื้อตาต่อ ค่าสายตาเอียงที่กระจกตา. วารสารจักษุธรรมศาสตร์. 2549;3(2):19-24.

เกวลิน เลขานนท์. ต้อเนื้อตา. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559]; เข้าถึงได้จาก: http://eyebank thai.redcross. or.th/?page_id=641

พัชรี สินีทธ์วรากุล. การลอกต้อเนื้อโดยใช้สาร มัยโตมัยซิน ซี ความเข้มขนต่ำ (0.005%) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2551;2:651-656.

Meller D, Tseng SCG. Conjunctival epithelial differentiation on amniotic membrane. Invest Ophthalmol Vis Sci. 1999;40:878-86.

Hon-Chun Cheng, M.D., Sung-Huei Tseng, M.D., Ping-Lin Kao, M.D., and Fred Kuanfu Chen, M.B.B.S. (Hons). Low-dose Intraoperative Mitomycin C as Chemoadjuvant for Pterygium Surgery. Lippincott Williams & Wilkins, Inc., Philadelphia. Cornea 2001;20(1):24–29.

Jingbo Liu1, Hosam Sheha, Yao Fu, Lingyi Liang, and Scheffer CG Tseng. Update on amniotic membrane transplantation. Expert Rev Ophthalmol. 2010 October ; 5(5): 645-661. doi:10.1586/eop.10.63.

David Hui-Kang Ma, et al. Comparison of amniotic membrane graft alone or combined with intraoperative mitomycin C to prevent recurrence after excision of recurrent pterygia. Cornea. 2005;24(2):141-50.

Panda A, et al. Randomized trial of intraoperative mitomycin C in surgery for pterygium. Am J Ophthalmol. 1998;125(1):59-63.

Asadollah Katbaab, et al. Amniotic Membrane Transplantation for Primary Pterygium Surgery. J Ophthalmic Vis Res. 2008;3(1):23–27.

Mitra Akbari, et al. Comparison of free conjunctival autograft versus amniotic membrane transplantation for pterygium surgery. Journal of Current Ophthalmology. 2017;29(4)282-286.

Levartovsky S, Moskowitz Y. Application of mitomycin C 0.02% for 2 minutes at the end of pterygium surgery. Br J Ophthalmol. 1998;82(1):97-98.

โกศล คําพิทักษ์, อนันต์พรมาตา ภูมิหลัง. ผลการผ่าตัดลอกต้อเนื้อในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. J Med Assoc Thai. 2015;98(5):495-500.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30