ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • สุนันท์ ล้อเจริญ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำหนักเกิน, แรงสนับสนุนทางสังคม, บุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ รวมทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่ออื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ทำให้เพิ่มการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาในกลุ่มบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนวิชาชีพ จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา: บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78) มีอายุน้อยกว่า 35 ปี (ร้อยละ 53.3) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 66) และสถานภาพโสด (ร้อยละ 53) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.3 มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI 23.00-24.99 กิโลกรัม/เมตร2) ร้อยละ 24.0 อ้วนระดับ 1 (BMI 25.00-29.99 กิโลกรัม/เมตร2) และร้อยละ 15.7 อ้วนระดับ 2 (BMI ≥30.00 กิโลกรัม/เมตร2) พฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แรงสนับสนุนทางสังคมภาพรวมอยู่ในระดับน้อย พบว่าดัชนีมวลกาย มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน (p=.046) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน r=.413    (p<.001) ส่วนปัจจัยด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน

สรุป: บุคลากรควรได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกินเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะการเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์และด้านข้อมูลข่าวสารซึ่งอยู่ในระดับน้อยและการสนับสนุนด้านวัสดุสิ่งของซึ่งอยู่ในระดับปานกลางให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน

References

World Health Organization.World obesity day 2022 :Accelerating action to stop obesity. [Internet]. [cited 20 March 2024]. Available from: https://https://www.who.int/news/item/04- 03-2022-world-obesity-day-2022-accelerating-action-to-stop-obesity

World Health Organization. Global Health Observatory (GHO) data repository. Body mass index (BMI). [Internet]. 2014. [cited 20 March 2024].Available from: https://www.who.int/data/gho/data/ themes/topics/topic-details/GHO/body-mass-index

สุนิตรา ทองดี. ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2562;27(1):38-50.

World Obesity Federation, 2022. World Obesity Atlas 2022. [Internet]. 2022. [cited 18 March 2024]. Available from:https://www.worldobesity.org/resources/resource-library/world- obesity- atlas-2022.

กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายละเอียดตัวชี้วัดเฝ้าระวังทางโภชนาการประจำปีงบประมาณ 2566:84.

วิชัย เอกพลากรและคณะ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. กรุงเทพฯ:คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564:169.

โรงพยาบาลหัวหิน รายงานผลการตรวจสุขภาพบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน 2564.

ภัทราพร ตุ้ยนะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดน้ำหนักและความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร [อินเตอร์เนต].กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/365910.

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรพรรณ มนสัจจกุล ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563;14(35):464-482.

นัชชา ยันติ, กริช เรืองไชย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2564; 16(2):71-86

จงจิต เสน่หา, พรรณิภา บุญเทียร, วันดี โตสุขศรี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนด้วยตนเองในผู้ป่วยน้ำหนักเกินที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. NURS SCI J THAIL. 2564;39(1):77-91.

พลอยปารียา อายะนันท์, ตุนท์ชมชื่น, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วนของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษา ตอนปลายในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564;7(1):75-89.

อภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2560;10(37):58-66.

จุติมาพร เศษสุวรรณ, ณัฐภรณ์ เววา, นุพงษ์ สมศรี, ปิยฉัตร ดีสุวรรณ. (2563).ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นกะและภาวะน้ำหนักเกินของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2563;28(2):106-123.

กูลยา โต๊ะรายอ ,รวิสรา จันทะรัตน์ ,ณัฐวดี ศรีเอี่ยม,ประเสริฐ ประสมรักษ์,พรพรรณ ประพัฒน์พงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันตนเองจากภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2564;4(1):130-140.

คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทยตัวชี้วัดสุขภาพ.รายงานสุขภาพคนไทยกิจกรรมทางกาย เท่าไหร่ถึงจะพอ (ตอนที่ 2). [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล;2565 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=134

ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์, อูน ตะสิงห์.ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการลดน้ำหนักของผู้ที่มีภาวะอ้วน. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2565;30(4):618-620

จินดารัตน์ สมใจนึก, จอม สุวรรณโณ.ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับภาวะนํ้าหนักเกิน/อ้วนในกลุ่มวัยช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นตอนปลายสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น : การเปรียบเทียบความชุกในห้ากลุ่มอายุและสามกลุ่มอายุ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2563; 31(1):142-159.

กาญจนา ปัญญาธร, จุฬารัตน์ ดวงตาผา, ขนิษฐา แก้วกัลยา, รุ่งวิสา สว่างเนตร, พวงผกา อินทร์เอี่ยม. ผลลัพธ์ของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลาปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;40(1):81-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30