ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็ก จากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ของโรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ สตางค์ทอง กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี, ผู้ป่วยเด็ก, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

บทนำ: ไวรัสอาร์เอสวีเป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ในเด็กและมักก่อให้เกิดอาการรุนแรงในทารกและเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีจึงมีความสำคัญเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำมาต่อยอดวางแนวทางในการลดความรุนแรงของโรคต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีของโรงพยาบาลหัวหิน

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective analytic study) เก็บข้อมูลประชากรเด็กแรกเกิดถึงอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และไม่พบการติดเชื้ออื่นร่วมด้วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์และแฟ้มทะเบียนผู้ป่วย ของหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมและหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 5 ปีทั้งหมดจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบบันทึกการเก็บข้อมูลปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีของโรงพยาบาลหัวหิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, Chi-square test และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กทั้งหมดจำนวน 300 คนพบว่าผู้ป่วยเด็กร้อยละ 51.3 มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันที่มีอาการรุนแรง และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีคือ อายุ โรคประจำตัวหอบหืด การเลี้ยงดูที่บ้าน (p-value <0.05) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ของโรงพยาบาลหัวหิน

สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีคือ อายุ โรคประจำตัวหอบหืด การเลี้ยงดูที่บ้าน ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวีของโรงพยาบาลหัวหิน

References

อลิษา ขุนแก้ว, เสน่ห์ ขุนแก้ว, บุษกร ยอดทราย, ปณัชญา เชื้อวงษ์. บทบาทพยาบาลกับการดูแลเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV. NJPH. 2020;30(2):36-45.

Cai W, Buda S, Schuler E, Hirve S, Zhang W, Haas W. Risk factors for hospitalized respiratory syncytial virus disease and its severe outcomes. Influenza Other Respir Viruses. 2020;14(6):658-670.

Gong L, Wu C, Lu M, Huang C, Chen Y, Li Z, et al. Analysis of Incidence and Clinical Characteristics of RSV Infection in Hospitalized Children: A Retrospective Study. Risk Manag Healthc Policy. 2021;14:1525-1531.

น้ำทิพย์ เหนี่ยงจิตต์. อัตรายจากการติดเชื้อไวรัส RSV ในเด็กเล็ก. RTAFMG. 2018;64(3):96-100.

Aikphaibul P, Theerawit T, Sophonphan J, Wacharachaisurapol N, Jitrungruengnij N, Puthanakit T. Risk factors of severe hospitalized respiratory syncytial virus infection in tertiary care center in Thailand. Influenza Other Respir Viruses. 2020;15:1-8.

กรมควบคุมโรค. แนะผู้ปกครองดูแลบุตรหลานหวั่นป่วยด้วยโรคติดเชื้ออาร์เอสวี (RSV) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [17 กันยายน 2565].เข้าถึงได้จาก: https://goodhealth.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/178815/.

Walsh EE, Hall CB. Respiratory Syncytial Virus (RSV): Mandell, Douglas, and Bennett's Principles and Practice of Infectious Diseases. 2015:1948(e1)-1960(e3). doi:10.1016/B978-1-4557-4801-3.00160-0. Epub 2014 Oct 31.

พรอำภา บรรจงมณี, อมรรัตน์ โรจน์จรัสไพศาล, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์. ระบาดวิทยา อาการและอาการแสดง ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อ respiratory syncytial virus ในเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. TMJ.2016;16(3):370-378.

Havdal L, Bøås H, Bekkevold T, Kran A-M, Rojahn A, Størdal K, et al. Risk factors associated with severe disease in respiratory syncytial virus infected children under 5 years of age. Front Pediatr. 2022;10.doi: 10.3389/fped.2022.1004739. PMCID:9468371.

Nuntiyagul T. Clinical Characteristics and Factors Associated with Severity of Lower Respiratory Tract Infection from Respiratory Syncytial Virus (RSV) in Pediatric Patients at Chaoprayayommarat Hospital. Dis Control J. 2023;49(2):293-303. doi: 10.14456/dcj.2023.25

Shi T, Balsells Hernández E, Wastnedge E, Singleton R, Rasmussen Z, Zar H, et al. Risk factors for respiratory syncytial virus associated with acute lower respiratory infection in children under five years: Systematic review and meta-Analysis. J Glob Health. 2015;5(2):1-13. J Glob Health

Nguyen SN, Nguyen TNT, Vu LT, Nguyen TD. Clinical Epidemiological Characteristics and Risk Factors for Severe Bronchiolitis Caused by Respiratory Syncytial Virus in Vietnamese Children. Int J Pediatr. 2021;2021:

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30