การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • สิรินันท์ วิสุทธิรัตนกุล กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

การเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากตรวจพบมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาพบว่ามีบางรายที่มีภาวะจุดรับภาพชัดบวม จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าตา ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง นำไปสู่การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม เพื่อช่วยป้องกันหรือลดการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective analytic study) จากแบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะเวลาตั้งแต่            1 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 เป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมด 451 คน โดยใช้แบบบันทึกเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ระดับของเบาหวานขึ้นจอตา ระดับความดันเลือด ระดับไขมันในเลือด ระดับการทำงานของไตจากเลือด ภาวะโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ การใช้ยารักษาไขมันกลุ่ม Statins และภาวะจุดรับภาพชัดบวม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยการวิเคราะห์ t-test independent, Chi-square test และ Binary logistic regression

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ในโรงพยาบาลหัวหินทั้งหมด 451 ราย      พบการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม ร้อยละ 10.4 จากการศึกษา โดยนำตัวแปรเดี่ยวมาวิเคราะห์เชิงพหุ          พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวมกับระยะเวลาการเป็นเบาหวานและระดับของเบาหวานขึ้นจอตา โดยระยะเวลาการเป็นเบาหวานมากกว่า 10 ปี ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวมสูงกว่าระยะเวลาการเป็นเบาหวาน 1-5 ปีถึง 9.76 เท่า และระดับของเบาหวานขึ้นจอตาขั้นรุนแรงและรุนแรงมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม สูงกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับของเบาหวานขึ้นจอตาขั้นเล็กน้อยถึง 55.43 และ 42.53 เท่า ตามลำดับ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ระดับความดันเลือด, ระดับไขมันในเลือด, ระดับการทำงานของไตจากเลือด ภาวะโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ และการใช้ยารักษาไขมันกลุ่ม Statins ไม่พบความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม

สรุป: การเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือร้อยละ 10.4 ระยะเวลาการเป็นเบาหวานและระดับของเบาหวานขึ้นจอตามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจุดรับภาพชัดบวม

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึง วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:http:// ddc.moph.go.th/brc/ news.php?news=21692&deptcode=brc&news_views=5357.

Lin KY, Hsih WH, Lin YB, Wen CY, Chang TJ. Update in the epidemiology, risk factors, screening, and treatment of diabetic retinopathy. J Diabetes Investig. 2021 Aug;12(8):1322-5.

Klein R, Klein BE. Epidemiology of ocular functions and diseases in persons with diabetes. Chapter 21 in Diabetes in America. December. 2016.

Wang Y, Lin Z, Zhai G, Ding XX, Wen L, Li D, Zou B, Feng KM, Liang YB, Xie C. Prevalence of and Risk Factors for Diabetic Retinopathy and Diabetic Macular Edema in Patients with Early-and Late-Onset Diabetes Mellitus. Ophthalmic Res. 2022 Apr 30;65(3):293-9.

Acan D, Calan M, Er D, Arkan T, Kocak N, Bayraktar F, Kaynak S. The prevalence and systemic risk factors of diabetic macular edema: a cross-sectional study from Turkey. BMC Ophthalmol. 2018 Dec;18:1-8.

Graue-Hernandez EO, Rivera-De-La-Parra D, Hernandez-Jimenez S, Aguilar-Salinas CA, Kershenobich-Stalnikowitz D, Jimenez-Corona A. Prevalence and associated risk factors of diabetic retinopathy and macular oedema in patients recently diagnosed with type 2 diabetes. BMJ Open Ophthalmol. 2020;5(1).

Acan D, Karahan E, Kocak N, Kaynak S. Evaluation of systemic risk factors in different optical coherence tomographic patterns of diabetic macular edema. Int J Ophthalmol. 2018;11(7):1204.

Angaramo S, Liu Y, Chen Q, Padovani-Claudio DA. Impact of Hypertension severity on risk of Diabetic Macular Edema development. Invest Ophthalmol Vis Sci. 2021 Jun 21;62(8):1059-.

Zhuang X, Cao D, Yang D, Zeng Y, Yu H, Wang J, Kuang J, Xie J, Zhang S, Zhang L. Association of diabetic retinopathy and diabetic macular oedema with renal function in southern Chinese patients with type 2 diabetes mellitus: a single-centre observational study. BMJ open. 2019;9(9).

Yamamoto M, Fujihara K, Ishizawa M, Osawa T, Kaneko M, Ishiguro H, Matsubayashi Y, Seida H, Yamanaka N, Tanaka S, Kodama S. Overt proteinuria, moderately reduced eGFR and their combination are predictive of severe diabetic retinopathy or diabetic macular edema in diabetes. Invest Ophthalmol Vis Sci. 2019 Jun 3;60(7):2685-9.

Hammes HP, Welp R, Kempe HP, Wagner C, Siegel E, Holl RW, DPV Initiative—German BMBF Competence Network Diabetes Mellitus. Risk factors for retinopathy and DME in type 2 diabetes—results from the German/Austrian DPV database. PLoS One. 2015 Jul 15;10(7):e0132492.

Chung YR, Park SW, Choi SY, Kim SW, Moon KY, Kim JH, Lee K. Association of statin use and hypertriglyceridemia with diabetic macular edema in patients with type 2 diabetes and diabetic retinopathy. Cardiovasc Diabetol. 2017 Dec;16:1-7.

Neelakshi B, MD, FACS. Diabetic Macular Edema. American Academy of Ophthalmology; 2022(June 6, 2022). เข้าถึงได้จาก http:// eyewiki.aao.org/Diabetic_Macular_Edema.

Paisley KE, Beaman M, Tooke JE, Mohamed-Ali V, Lowe GD, Shore AC. Endothelial dysfunction and inflammation in asymptomatic proteinuria. Kidney Int. 2003 Feb 1;63(2):624-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30