การศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำในการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยวิธีการของแดร์กับการตรวจ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวปกติและมากกว่าปกติ
คำสำคัญ:
คาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์, คลื่นเสียงความถี่สูง, วิธีการแดร์บทคัดย่อ
บทนำ: การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการคลอดและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะคลอดติดไหล่จากทารกตัวโต แต่ปัจจุบันการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์แต่ละวิธียังไม่ค่อยมีความแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์และภาวะอ้วนซึ่งพบมากขึ้นในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำในการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยวิธีการของแดร์กับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวปกติและมากกว่าปกติ
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์เดี่ยว ที่คลอดครบกำหนด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ที่โรงพยาบาลบางบัวทอง เพื่อเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงภายใน 5 สัปดาห์ก่อนคลอด กับการตรวจวัดหน้าท้องเพื่อคาดคะเนน้ำหนักทารกด้วยวิธีการแดร์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีค่าดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5-22.9 กก./ม.2) และกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (> 23กก./ม.2) กำหนดความแม่นยำของการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Absolute percent error) ไม่เกินร้อยละ 10
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ 215 คน แบ่งเป็นกลุ่มน้ำหนักปกติ 103 ราย น้ำหนักเกิน 112 ราย อายุเฉลี่ย 26.4+6.3 และ 28.4+6.3 (p=.02) ตามลำดับ พบว่าหญิงตั้งครรภ์กลุ่มน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์เกินเกณฑ์ มีโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักสูงกว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์น้ำหนักปกติ ความแม่นยำของการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์โดยใช้วิธีการแดร์และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงของสตรีตั้งครรภ์โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 60 และ 79.5 p<0.0001) โดยพบว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความแม่นยำมากกว่าวิธีการของแดร์ทั้งในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ค่าดัชนีมวลกายปกติและค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (ร้อยละ 83.5 และ 57.3, p<0.0001), (ร้อยละ 75.9 และ 62.5 p<0.03) ตามลำดับ
สรุป: การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความแม่นยำในการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์มากกว่าการตรวจด้วยวิธีการแดร์ในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่คลอดครบกำหนด
References
Aekplakorn W, Mo-Suwan L. Prevalence of obesity in Thailand. Obesity reviews. 2009 Nov;10(6):589-92.
Jitnarin N, Kosulwat V, Rojroongwasinkul N, Boonpraderm A, Haddock C, Poston W. Prevalence of overweight and obesity in Thai population: Results of the National Thai Food Consumption Survey. Eating and Weight Disorders. 2011;16(4):e242-e9.
Consultation WE. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet (London, England). 2004 Jan 10;363(9403):157-63.
Somprasit C, Tanprasertkul C, Rattanasiri T, Saksiriwuttho P, Wongkum J, Kovavisarach E, et al. High pre-pregnancy body mass index and the risk of poor obstetrics outcomes among Asian women using BMI criteria for Asians by World Health Organization Western Pacific Region (WPRO): a large cohort study. J Med Assoc Thai. 2015;98(Suppl 2):S101-S7.
Begum KS, Sachchithanantham K, Somsubhra SD. Maternal obesity and pregnancy outcome. Clinical and experimental obstetrics & gynecology. 2011;38(1):14-20.
Alwash SM, McIntyre HD, Mamun A.
The association of general obesity, central obesity and visceral body fat with the risk of gestational diabetes mellitus: Evidence from a systematic review and meta-analysis. Obesity Research & Clinical Practice. 2021;15(5):425-30.
He X-J, Dai R-x, Hu C-L. Maternal prepregnancy overweight and obesity and the risk of preeclampsia: A meta-analysis of cohort studies. Obesity research & clinical practice. 2020 Jan-Feb;14(1):27-33.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS. Williams obstetrics, 26e: Mcgraw-hill New York, NY, USA; 2022.
Menticoglou S. Shoulder dystocia: incidence, mechanisms, and management strategies. International Journal of Women's Health. 2018 Nov 9;10:723-32.
Prajapati DG, Patel RM. Comparison of various method of fetal birth weight estimation in term pregnancy. International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics, and Gynecology. 2018;7(3):1058-65.
Odekunle JO, Yohanna S, Ariyo BO. Accuracy of the product of the symphysis-fundal height and abdominal girth in prediction of birth weight among term pregnant women at Keffi, Nigeria. African Journal of Primary Health Care and Family Medicine. 2020;12(1):1-6.
Wisarutkasempong A, Chobkhayan S. การศึกษาเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนัก ทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธีการของ Dare และ Johnson และความสัมพันธ์กับ น้ำหนักทารกเมื่อแรกเกิด. Journal of Health Science-วารสารวิชาการ สาธารณสุข. 2020;29(4):637-45.
Aueamnuay S., Chara T. Estimation of Foetal Weight Using Johnson’s Formula and Dare’s Formula. Kuakarun Journal of Nursing. 2020;27(2):155-63.
Lertrat W, Kitiyodom S. Accuracy of intrapartum fetal weight estimation using dare’s formula and transabdominal ultrasonography in pregnant women with normal and high prepregnant BMI at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2021:313-21.
Sánchez-Fernández M, Corral ME, Aceituno L, Mazheika M, Mendoza N, Mozas-Moreno J. Observer Influence with Other Variables on the Accuracy of Ultrasound Estimation of Fetal Weight at Term. Medicina. 2021;57(3):216.
Zahran M, Tohma YA, Erkaya S, Evliyaoğlu Ö, Çolak E, Çoşkun B. Analysis of the effectiveness of ultrasound and clinical examination methods in fetal weight estimation for term pregnancies. Turkish Journal of Obstetrics and Gynecology. 2015 Dec;12(4):220-5.
Borisut P, Kovavisarach E. Standard intrauterine growth curve of Thai neonates delivered at Rajavithi hospital. J Med Assoc Thai. 2014;97(8):798-803.
Dhand NK, Khatkar, M. S. Statulator: An online statistical calculator. Sample Size Calculator for Comparing Paired Proportions. 2014 [Available from: https://statulator.com/SampleSize/ss 2PP.html#.
Itarat Y, Buppasiri P, Sophonvivat S. Fetal weight estimation using symphysioundal height and abdominal girth measurements in different pre-pregnancy body mass indices. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2017:167-74.
Okafor CO, Okafor CI, Mbachu II, Obionwu IC, Aronu ME. Correlation of ultrasonographic estimation of fetal weight with actual birth weight as seen in a private specialist hospital in southeast Nigeria. International journal of reproductive medicine. 2019;2019:3693797.
Benacerraf BR, Gelman R, Frigoletto Jr FD. Sonographically estimated fetal weights: accuracy and limitation. American Journal of obstetrics and gynecology. 1988 Nov;159(5):1118-21.
Benson-Cooper S, Tarr GP, Kelly J, Bergin CJ. Accuracy of ultrasound in estimating fetal weight in New Zealand. Australasian Journal of Ultrasound in Medicine. 2021Jan 12;24(1):13-9.
Moraitis AA, Shreeve N, Sovio U, Brocklehurst P, Heazell AE, Thornton JG, et al. Universal third-trimester ultrasonic screening using fetal macrosomia in the prediction of adverse perinatal outcome: A systematic review and meta-analysis of diagnostic test accuracy. PLoS medicine. 2020 Oct;17(10):e1003190.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลหัวหิน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง