ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • ศุภวิวัชร โรจนสิงหะ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

การกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน , โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือ COPD (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) เป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทย รวมทั้งในโรงพยาบาลหัวหิน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบรุนแรง แม้ว่าจะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว แต่ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็มีอาการกำเริบจนต้องกลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลหัวหินเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อการกำเริบของผู้ป่วย

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Retrospective study) ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหัวหิน ระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลหัวหิน เพื่อศึกษาอัตราความชุกผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่กลับมารักษานอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน และหาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการกลับมารักษานอนโรงพยาบาลซ้ำดังกล่าว 

ผลการศึกษา: ในระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 มีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเข้ารับการรักษา 1,225 ราย ความชุกของผู้ป่วยที่ต้องกลับมาเข้ารับการรักษานอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน จำนวน 34 ราย (ร้อยละ 13.18) จากผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน มีความสัมพันธ์กับการรักษาโดยใช้ยาสเตียรอยด์ในโรงพยาบาล ในการเข้ารับการรักษาครั้งก่อน (Systemic Steroids) (OR=1.39) การมีโรคประจำตัวร่วมมากกว่า 3 โรคขึ้นไป (OR=6.71) การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ภายในระยะเวลา 1 ปี (OR=8.05) และผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Unit: ICU) หรือต้องใส่ท่อช่วยหายใจ/ใช้เครื่องช่วยหายใจ (OR=4.28)

สรุป: ความชุกของการกลับมารักษานอนโรงพยาบาลซ้ำในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหัวหิน เป็นร้อยละ 13.18 และผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาโดยใช้ Systemic Steroids ระหว่างการรักษามีโรคประจำตัวร่วมมากกว่า 3 โรคขึ้นไป ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ภายในระยะเวลา 1 ปี ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาใน ICU หรือต้องใส่ท่อช่วยหายใจ/ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพิ่มความเสี่ยงในการกลับมารักษาซ้ำจนต้องนอนโรงพยาบาล (Readmission) ในเวลา 28 วัน

คำสำคัญ: การกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ปัจจัยเสี่ยง

Author Biography

ศุภวิวัชร โรจนสิงหะ, กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหัวหิน

 

 

 

 

References

บรรณานุกรม (bibliography)

World health organization. (2018). Chronic respiratory disease. Retrieved from HUhttp://www.who.int/respiratory /COPD/diagnosis/en/index.htmlU

Kerdsin, S., & Suphanchaimat, R. (2016). Outcome of service development program on within-28-days readmissions of chronic obstructive pulmonary diseases (COPD) patients: A Case Study of Somdej phrajao taksin maharaj hospital, Tak province. Journal of Health Science, 25(2),246-254.

จเร บุญเรือง, จอม สุวรรณโณ, เจนเนตร พลเพชร, เรวดี เพชรศิราสัณห์, และลัดดา เถียมวงศ์. ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงใน ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วารสารพยาบาล โรคหัวใจและทรวงอก. (2560); 28(1): 111-128.

รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.คณะที่ 2 การ พัฒนาระบบบริการ (Service Plan) หัวข้อ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (NCD:COPD) จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5 .วันที่ 25 มิถุนายน 2562.

Harries, T.H., Thornton, H., Crichton, S. et al. Hospital readmissions for COPD: a retrospective longitudinal study. npj Prim Care Resp Med 27, 31 (2017)

Chia Wei Kong, Tom M.A. Wilkinson. Predicting and preventing hospital readmission for exacerbations of COPD.ERJ Open Research Apr 2020, 6 (2) 00325-2019

Kanokrat Palanupap, Kuntida Wacharamaneekan, Thidanai Khameiad,Pichit Treetrisit, Phenphan Kantasa, Kanokrot Chowjiriyapan, Yongyuth Chumkomlue, Pannathon Chachvarat, Verapol Chandeying, Risk factors associated 28-day readmission for a chronic obstructive pulmonary disease Exacerbation, Naresuan Phayao J. 2016;9(2):13-16

Pichet Puapankijcharoen, Emergency Room Visit of Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease at Nakhonnayok Hospital,Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, Vol. 3 No. 1, Jan. – Apr. 2008

Usa Iamlaor, Yaowares Saisawang, Piyaluck Chaisuwan and Aree Kopattanakit, Incidence and Risk Factors Associated with Readmission within 28 Days of COPD Patients at Ang Thong Hospital, EAU Heritage Journal Science and Technology; Vol. 12 No. 2 May-August 2018.

Garcia-Aymerich, J., Farrero, E., Félez, M. A., Izquierdo, J., Marrades, R. M., &Antó, J. M. (2003). Risk factors of readmission to hospital for a COPD exacerbation: A prospective study. Thorax,58(2), 100-105.

Vogelmeier CF, Criner GJ, Martinez FJ, Anzueto A, Barnes PJ, Bourbeau J, Celli BR, Chen R, Decramer M, Fabbri LM, Frith P, Halpin DM, López Varela MV, Nishimura M, Roche N, Rodriguez-Roisin R, Sin DD, Singh D, Stockley R, Vestbo J, Wedzicha JA, Agustí A. Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Lung Disease 2017 Report. GOLD Executive Summary. Am J Respir Crit Care Med. 2017 Mar 1;195(5):557- 582. doi: 10.1164/rccm.201701- 0218PP. PMID: 281289

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09

How to Cite

โรจนสิงหะ ศ. (2023). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลหัวหิน. หัวหินเวชสาร, 2(3), 1–14. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/253760