การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

Development of Clinical Nursing Practice Guidelines for prevention of postpartum hemorrhage Nong Bua Lamphu Hospital

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สวนีย์ อ่อนอุบล

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก, ภาวะตกเลือดหลังคลอด, การป้องกันอุณหภูมิกายต่ำ

บทคัดย่อ

บทนำภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage: PPH) เป็นภาวะเลือดออกอย่างรุนแรงและเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอด การพยาบาลที่เหมาะสมมีบทบาทในการลดอุบัติการณ์หรือความรุนแรงของภาวะตกเลือดหลังคลอด

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด (CNPG-PPH) ในห้องคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

วิธีการวิจัย: การดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดตามกรอบ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ของ William Edwards Deming  ขั้นตอนที่ 2 นำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการดูแลผู้คลอด จำนวน 80 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด และความคิดเห็นของพยาบาลต่อความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดตาม 4 สาเหตุหลัก (4T) 2) การพยาบาลเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 3) การพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมของมารดาเพื่อทำหัตถการในห้องผ่าตัด (กรณีฉุกเฉิน) และ 4) การส่งต่อผู้คลอดเพื่อย้ายไปดูแลต่อเนื่องในระยะหลังคลอด ผ่านการประเมินคุณค่าตามแบบประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (The AGREE II) เมื่อนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในห้องคลอด พบว่า อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดลงและไม่พบมารดาเสียชีวิต ผลการประเมินความคิดเห็นของพยาบาลต่อความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.44, SD=0.71)

สรุปผลแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด (CNPG-PPH) ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับพยาบาลในห้องคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอดได้

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ภาวะตกเลือดหลังคลอด การป้องกัน

References

1. นววรรณ มณีจันทร์และอุบล แจ่มนาม.การศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต11. 2560;
31(1):145-155.
2.ทิพวรรณ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด:บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560; 6(2): 146-157.
3. สุภิชชา ปันแก้ว อภิรดี นันทศุภวัฒน์และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. พยาบาลสาร. 2563; 47(4): 372-383.
4. ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์ ,สุชาดา วิภวกานต์,และอารี กิ่งเล็ก.การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.
2559; 3(3): 127 – 141.
5. ปทุมมา กังวานตระกูลและอ้อยอิ่น อินยาศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดใน ระยะ2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอดโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ. 2560; 33(2):
121–134.
6. อุบล ศรีนากรุง.การศึกษาแนวปฏิบัติการคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2560; 26(3): 126-134.
7. พิกุล บัณฑิตพานิชชา , นงลักษณ์ พลแสน,และสุภาวดี เหลืองขวัญ. การพัฒนาระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2560; 32(2): 131-144.
8. คณะกรรมการการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานห้องคลอด.การคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยง เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก.ห้องคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู 2561.
9. คณะกรรมการควบคุมคุณภาพบริการผู้คลอด.การป้องกันดูแลมารดาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด.กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. 2562.
10.ทีมนำทางคลินิกสาขาสูติ-นรีเวชกรรม(CLT สูติ-นรีเวชกรรม ).แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตกเลือดหลังคลอด. กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู.2563.
11. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับงานวิจัยและการประเมินผล(ฉบับภาษาไทย) [อินเตอร์เน็ต]. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556
[เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-AGREE-II.pdf
12. ยุพดี ธัมมิกะกุล. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการบันทึกสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า
จังหวัดเพชรบุรี. 2563; 3(1):31-46.
13. สุทธิวรรณ ทองยศ ศิรพร ชมงาม สุภาวดี เหลืองขวัญและพิกุล บัณฑิตพานิชชา. การพัฒนาแนวทางป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดที่มีสาเหตุจากการหดรัดตัวไม่ดีในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด. วารสารวิชาการ
สาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2563]; 28(ฉบับพิเศษ พฤษภาคม-มิถุนายน): 176-183. เข้าถึงได้จาก เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/7176
14. บำเหน็จ แสงรัตน์, รุจิรัตน์ ผัดวัน, มยุรี ศรีธิการ, กชวรรณ นงค์แย้มและมณฑารัตน์ ประยูรพัฒนะ. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลมหาราชนคร
เชียงใหม่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559; 17(1):124-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03