ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
-
คำสำคัญ:
ปัจจัยการมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล, การมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรทุกกลุ่ม ทุกสาขาวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อให้แสดงข้อคิดเห็น ปัญหา ข้อขัดข้อง และข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2562 ถึง เดือนตุลาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจ บรรยากาศวัฒนธรรมองค์กร ผู้นำ/ทีมพี่เลี้ยง และการสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.724, r=0.718, r=0.706, r=0.681 ตามลำดับ) พบว่าปัจจัยด้านบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านแรงจูงใจ สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 65 (R=0.650) โดยเรียงจากตัวแปรที่มีน้ำหนักในการพยากรณ์สูงสุด คือ บรรยากาศวัฒนธรรมองค์กร การสื่อสาร และแรงจูงใจ ตามลำดับ
จากผลการศึกษา ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยส่งเสริมปัจจัยด้านบรรยากาศ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านแรงจูงใจร่วมกัน
คำสำคัญ: ปัจจัยการมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล การมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
References
บรรณานุกรม
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, ผลึกความคิด HA. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล; 2545.
สงวน นิตยารัมภ์พงศ์, ปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2541.
จิตรวดี สุทธิอาภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพของบุคลากร ทางการแพทย์ โรงพยาบาลในสังกัดสำนัก การแพทย์กรุงเทพมหานคร[วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสุข ศึกษา].กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.
สุวัฒน์ แก้วเชาว์รัมย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมของฝ่ายวิศวกรรมจราจร ทางอากาศบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศ ไทย จำกัด[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการ บริหารทั่วไป].ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2544.
ขวัญตา กีระวิศาสกิจ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมี ส่วนร่วมในโครงการการบริหารคุณภาพ โดยรวม (TQM) ของพนักงานบริษัท ทีพีไอ โพลี จำกัด (มหาชน). [ออนไลน์ สาระสังเขป]. 2545 {เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 62} เข้าถึงได้จาก www.Thaihrhub.com/index.php/archi ves/research- view/research-788/-25k
ระวิวรรณ เตชทวีทรัพย์. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรอง คุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง {วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2548.
พรทิพย์ รักบุรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมี ส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ: ศึกษา เฉพาะกรณีสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 6,1 (ม.ค.–มิ.ย. 2546):161-185
กัลยาณี รุ่งโรจน์วิทยกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการมี ส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขในการ ดำเนินโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนใน เขตนิเทศงานที่ 1 ของจังหวัดบุรีรัมภ์ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา]. บุรีรัมภ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมภ์; 2545.
ตาบทิพย์ ฐิติพงษ์พานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ยอมรับการบริหารงานคุณภาพโดยรวมของ เจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาบริหาร สาธารณสุขบัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.
นินนาท หมอยาดี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการมี ส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา [วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจสาขาวิชาวิทยาการ จัดการ]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.
Yamane T. Statistics: An introductory analysis (3rd Ed.). The Journal of Marketing 1970; 49(4):41-50.
บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้ง ที่ .กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์; 2553.
รังสิมา เมฆมงคล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วน ร่วมในการประกันคุณภาพในบุคลากรสาย บริการ มหาวิทยาลัยนเรศวร.{วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตแขนงวิชาการ ประกันคุณภาพการศึกษา].พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2549.
อุไรวรรณ เมืองสุวรรณ์. การมีส่วนร่วมของ บุคลากรโรงพยาบาลระยองในการพัฒนา คุณภาพระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรอง คุณภาพโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา]. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราช ภัฎรำไพพรรณี; 2550.
จินตนา ส่องแสงจันทร์. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มี ผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการ พัฒนาเพื่อรับรองคุณภาพโรงพยาบาลท่า ตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา {วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์; 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง