ผลการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ในสถาบันบำราศนราดูร

ภาวะโภชนาการ

ผู้แต่ง

  • ปิยะวดี สุมาลัย กลุ่มการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร

คำสำคัญ:

การประเมิน, ภาวะโภชนาการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในสถาบันบำราศนราดูร และเพื่อศึกษาภาวะโภชนาการของผู้ป่วยอายุรกรรม และผู้ป่วยศัลยกรรม ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2561 - 15 มกราคม 2562 กลุ่มตัวอย่างจำนวน246รายคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและนอนพักในสถาบันบำราศนราดูร ระหว่าง 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินNutrition Alert Form (NAF) ที่พัฒนาโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรัตน์ โคมินทร์ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบค่าที

           ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 185 ราย (75.25%) ศัลยกรรม จำนวน 61 ราย (24.8%) โดยมี BMI อยู่ในช่วง 18.1 - 29.9 จำนวน 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.2 รูปร่างผู้ป่วย ปกติ – อ้วนปานกลาง จำนวน 103 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.9 น้ำหนักคงเดิมใน 4 สัปดาห์ จำนวน 105 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.7 ความสามารถในการเข้าถึงอาหารปกติ จำนวน 153 ราย คิดเป็นร้อยละ 62.2  ด้านโภชนาการ ลักษณะอาหาร อาหารปกติ จำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.9 ไม่มีปัญหาทางการเคี้ยว/กลืนอาหาร จำนวน 184 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.9 ไม่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร จำนวน 187 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.0 ไม่มีปัญหาระหว่างกินอาหาร จำนวน 193 ราย คิดเป็นร้อยละ78.5 สำหรับคะแนนรวม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงให้แพทย์รักษาภายใน 3 วัน จำนวน 91 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.0 และมีความเสี่ยงต้องให้แพทย์รักษาภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 72 ราย คิดเป็นร้อยละ29.3 ความแตกต่างของภาวะโภชนาการในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม และศัลยกรรมพบว่า ค่า BMI รูปร่างของผู้ป่วย น้ำหนักเปลี่ยนใน 4 สัปดาห์ ของผู้ป่วยอายุรกรรม และศัลยกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในด้านลักษณะอาหาร ปริมาณที่รับประทาน ปัญหาทางการเคี้ยว/กลืนอาหาร ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ปัญหาระหว่างกินอาหาร ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร ของผู้ป่วยอายุรกรรม และศัลยกรรมไม่แตกต่างกัน

References

1. สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. โภชนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541.

2. กาญจนา เกียรติกานนท์. แนวคิดด้านโภชนาการและโภชนบำบัด. เอกสารประกอบการสอนวิชาโภชนการเพื่อสุขภาพ. วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 2559.

3. วีรวรรณ เตชะเกรียงไกร. การศึกษาเพื่อประเมินความสอดคล้องของการคัดกรองภาวะโภชนาการ โดยแบบคัดกรอง Nutrition Alert Form. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ; 2557.

4. กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, คัคนางค์ โสงวน และอุษา ฉายเกล็ดแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องช่องว่างของการวินิจฉัยและการรักษาภาวะความเสี่ยงด้านโภชนาการในโรงพยาบาล. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, 2556.

5. งานเวชสถิติ สถาบันบำราศนราดูร, สถิติประจำปี 2560.นนทุบรี: สถาบันบำราศนราดูร 2561.

6. ประกาย จิโรจน์กุล. การวิจัยทางการพยาบาล แนวคิดหลักการ และวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โครงการสวัสดิการ
สถาบันพระบรมราชชนก 2552.

7. ธนพรรณ พรมกัญญา. ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มารักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น :
ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30