ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ จังหวัดสมุทรสาคร
การจัดการตำบลสุขภาพ
คำสำคัญ:
บุคลากรสุขภาพ, การดำเนินงาน, ตำบลจัดการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยจูงใจของบุคลากรสาธารณสุขในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ และ4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพจังหวัดสมุทรสาครศึกษาระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2561ถึง 31 ธันวาคม 2561 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้แก่บุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพในจังหวัดสมุทรสาครจำนวน40 คน จาก 40 ตำบลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบไค–สแควร์ (Chi-squaretest) สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี มีจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 47.50 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ มีจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 10-15 ปี มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 35.00 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนมีผลระดับสูง( =4.06, S.D. =0.65) เป็นอันดับแรก, รองลงมาปัจจัยจูงใจมีผลระดับสูง (
=4.01, S.D. =0.66) และบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง(
=16.50, S.D. =1.64)เป็นอันดับสุดท้ายตามลำดับ, 2. การปฏิบัติงานตามบทบาทของบุคลากรสาธารณสุขในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพอยู่ในระดับสูง (
=3.98, S.D. =0.62) 3. เพศตำแหน่งอายุระยะเวลาในการปฏิบัติงานและความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพจังหวัดสมุทรสาครส่วนปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และ 4. ตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยจูงใจ สามารถร่วมกันทำนายการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพได้ร้อยละ 24.30
ข้อเสนอแนะคือผู้บริหารระดับจังหวัดควรมีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ควรมีการประสานงานที่ดีและสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน
References
2. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานปฏิบัติพื้นที่ต้นแบบ. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. รายงานสรุปผลการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพประจำปี 2560. (อัดสำเนา); 2560.
4. ศิริทัศ ลาวะลี. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองหน่อง ตำบลอี่ง่อง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด[สารนิพนธ์]. อยุธยา : ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย; 2557.
5. พรพันธ์ คชเดช. ศักยภาพการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหมู่บ้านจัดการสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2558.
6.วีระวัฒน์ หมื่นมา. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเมืองไทยแข็งแรงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น[วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น : คณะสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
7. ยุคนธ์ ปัญญะบุตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตอำเภอแกลง จังหวัดระยอง[วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี : ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
8. คุณากร สุวรรณพันธุ์. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดหนองคาย[วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น : ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง