ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวาน, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2สบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานจานวน 30 คน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ปุวยโรคเบาหวาน เพื่อเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งประยุกต์จากแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส ของกลุ่มวัยทางานสำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ของกองสุขศึกษา1 นำมาทดลองใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่งจำนวน 30 ราย ได้ค่าความเชื่อมั่น KR20= 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Sample s t – test ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโครงการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส มากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นควรมีการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งควรคำนึงถึงกลุ่มอายุของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสูงอายุ ที่ควรมีผู้ดูแลติดตามเข้าร่วมกิจกรรมด้วยทุกครั้ง ในการสร้างเสริม ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ นอกจากนี้การติดตามกระตุ้นเสริมแรงจูงใจผู้ป่วยด้วยวิธีการโท รศัพท์ เป็นวิธีที่กลุ่มเปู้หมายพึงพอใจสูง เหมาะสมในการนำไปขยายผลการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป
References
สาธารณสุข ลิงค์จาก http://www.hed.go.th/news/3909
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs : มุ่งหน้าสู่เป้าหมายระดับโลก (kick off to the goals) ลิงค์จาก http://www.diabetesatlas.org
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลทางด้านสาธารณสุขนนทบุรี:สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ; 2558
รายงานสถิติข้อมูลเขตสุขภาพที่ 5 กระทรวงสาธารณสุขลิงค์จาก http://hdcservice. moph.go.th
รายงานสถิติเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวาน. ฝุายเวชระเบียนโรงพยาบาลบ้านโป่ง. ราชบุรี; 2557-2560
วชิระ เพ็งจันทร์. (2560). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัยเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 25 มกราคม 2560 : 203.157.62.15/anamai_Web/ewt_dl_link.php?nid=10221
สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2555). อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล
จุฑามณี กันกรุง. (2558). การศึกษาความฉลาดทางสุขภาวะของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์. (2557). ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ศิริรัตน์ นาคงาม. (2559). การประยุกต์แบบจาลองข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในการรับประทานยาของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Pender, N.J., Murdaugh, C.L., Parson, M.A. (2011). The Health Promotion Model Manual University of Michigan.Retrieved.
12 เมษายน 2556. Fromwww.http://nursing. Umich. Edu/faculty – staff/nola – j pende
จรณิต แก้วกังวาล และประตาป สิงหศิวานนท์. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. ตาราวิจัยทางคลินิก 107-143 กรุงเทพฯ :
คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล, 2554. ลิงค์จาก http://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/bookclinic/
Textbook-of-Clinical
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง