ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบาบัดทดแทนไต ในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, การรับรู้, คุณภาพบริการบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตได้แก่ ค่าฮีมาโตรคริต อัตราการกรองของไต ระดับอัลบูมินในเลือด ภาวะเลือดเป็นกรด และความอยากอาหาร โดยมีรูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตที่มารับบริการที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 100 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความอยากอาหาร และ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงพหุคูณตามลำดับ คัดเลือกตัวแปรที่นาเข้าสมการโดยใช้วิธี Stepwise MultipleRegression Analysis ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 85.76, SD = 10.72) ผลการวิเคราะห์ ความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่าความอยากอาหารและภาวะความเป็นกรดร่วมกันทำนายคุณภาพ ชีวิต ของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 3 และร้อยละ 6.5 ตามลาดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .050 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ทีมสุขภาพที่ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตควรตระหนักถึงความสำคัญในการประเมินคุณภาพชีวิต ความอยากอาหารของผู้ป่วย รวมถึงการติดตามประเมินภาวะเลือดเป็นกรดจากค่าไบคาร์บอเนตอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป นอกจากนี้ควรมีศึกษาปัจจัยอื่นๆ เช่นปัจจัยด้านจิตใจ และสังคมร่วมด้วย
References
population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25: 1567– 1575
ทวี ศิริวงศ์. กลเม็ดเคล็ดลับทำอย่างไรไตไม่วาย.พิมพ์ครั้ง ที่ 3.กรุงเทพ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2548
อรรถพงษ์ วงศ์วิวัฒน์. การดูแลโรคไตเรื้อรังในปัจจุบัน. ใน: ทวี ศิริวงศ์, บรรณาธิการ. Update on CKD prevention: Strategies and practical point. พิมพ์ครั้งที่3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550. หน้า43-56
Sayin A, Mutluay R, Sindel S. Quality of life in hemodialysis, peritoneal dialysis, and transplantation patients. Transplantation
Proceedings 2007; 39: 3047-53
Ferrans CE, Zerwic JJ, Wilbur JE, Larson JL. Conceptual model of health-related quality of life. Journal of Nursing Scholarship 2005; 37: 336-42.
Polit, DF, Beck CT. (2008). Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. (8thEd.). Philadelphia:
Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2008.
รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555:132 หน้า
กรวรรณ ปานแพ. ประสบการณ์การมีอาการเบื่ออาหารกลวิธีการจัดการกับอาการและภาวการณ์ทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.140 หน้า
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล.เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด.เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
ศิริณาชค์ ทองเทียม, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หาและ อัษฎาศ์ ลีฬหวนิชกุล. อิทธิพลของคุณภาพการนอนหลับ ภาวะโภชนาการ และ
ภาวะโรคร่วมต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบาบัดทดแทนไต. J Nurs Sci 2016; 34(1): 42-52
Fukuhara S, Yamazakib S, Marumoc F, Akibad T, Akizawae T, Fujimif S, et al. Healthrelated quality of life of predialysis
patients with chronic renal failure. Nephron Clinical Practice 2007; 105: C1-8
McClellan WM, Abramson J, Newsome B, Temple E, Wadley VG, Audhya P, et al. Physical and psychological burden of
chronic kidney disease among older adults. American Journal of Kidney Disease 2010; 31: 309-317
รภัสศา แพรภัทรประสิทธิ์, พรรณวดี พุธวัฒนะและวรรณภา ประไพพานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนอนหลับผิดปกติในผู้ป่วยไต
วายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. Rama Nurs J 2014; 20 (2): 221-235
Lopes AA, Elder SJ, Ginsberg N, Andreucci VE, Cruz JM, Fukuhara S, et al. Lack of appetite in haemodialysis patients -
associations with patient characteristics,Indicators of nutritional status and outcomes in the international DOPPS. Nephrology Dialysis
Transplantation, 2007; 22: 3538-46.
กรวรรณ ปานแพ, อรวมน ศรียุกตศุทธและรัตนา ชวนะสุนทรพจน์. ประสบการณ์การมีอาการเบื่ออาหาร กลวีธีการจัดการกับอาการ และ
ภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. J Nurs Sci 2011; 29 (Suppl2): 59-66
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง