ผลการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามระดับความเร่งด่วน ของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนภาลัย
คำสำคัญ:
การคัดกรองแบบความรุนแรง 3 ระดับ, การคัดกรองแบบระดับความเร่งด่วน, งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้และเปรียบเทียบการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินแบบความรุนแรง 3 ระดับ กับแบบระดับความเร่งด่วน ระยะเวลาในการรับบริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เปรียบเทียบระยะเวลารอคอยแพทย์ตรวจตามเกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และปัญหาต่อการใช้การคัดกรองผู้ป่วยแบบระดับความเร่งด่วน ของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนภาลัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินทั้งหมด 13 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินจานวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกการคัดกรอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงกันยายน พ .ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Paired t-test และ One sample t-test พบผลการศึกษา ดังนี้การคัดกรองแบบความรุนแรง 3 ระดับ มีผลการใช้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 15.4 ส่วนแบบระดับความเร่งด่วนมีผลการใช้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 84.6 และเมื่อเปรียบเทียบผลการใช้ระหว่างแบบความรุนแรง 3 ระดับ กับแบบระดับความเร่งด่วน พบว่าแบบระดับความเร่งด่วนมีผลการใช้ดีกว่าแบบความรุนแรง 3 ระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ทั้งนี้ ในการคัดกรองแบบระดับความเร่งด่วน พบว่า พยาบาลได้ดาเนินการคัดกรองผู้ป่วยวิกฤตได้ทันทีที่มา รองลงมาคือ ผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรง เจ็บป่วยปานกลาง เจ็บป่วยเล็กน้อย และเจ็บป่วยทั่วไป ได้รับการคัดกรองโดยเฉลี่ย 1 นาที 3 นาที 3 นาที และ 10 นาที ตามลำดับ เมื่อส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ ผู้ป่วยวิกฤตใช้เวลารอคอยพบแพทย์เฉลี่ย 1 นาที รองลงมาคือ ผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรงเจ็บป่วยปานกลาง เจ็บป่วยเล็กน้อย และเจ็บป่วยทั่วไป ใช้เวลารอคอยพบแพทย์โดยเฉลี่ย 2 นาที 7 นาที 6 นาที และ 6 นาที ตามลำดับ เปรียบเทียบระยะเวลารอคอยแพทย์ตรวจ กับเกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยในแต่ละประเภท พบว่า ผู้ป่วยแต่ละประเภทใช้เวลารอคอยแพทย์ตรวจ น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรง ปานกลาง และเล็กน้อย น้อยกว่าเกณฑ์ที่กาหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) สำหรับในเรื่องความพึงพอใจต่อการรับบริการ ในภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.8 มีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนในเรื่องปัญหาการใช้การคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน พบว่า ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน (ESI) ร้อยละ 15.4จากผลการวิจัยดังกล่าว ควรใช้การคัดกรองแบบระดับความเร่งด่วนที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชต่อไป และพัฒนาการวิธีการคัดกรองให้มีความผิดพลาดในการจาแนกผู้ป่วยน้อยลง ตลอดจนดาเนินการให้ผู้ป่วยได้พบแพทย์ได้เร็วยิ่งขึ้น
References
ศศิวิมล พงษ์นิลละอาภรณ์. การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจำแนกผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพะเยา.วิทยานิพนธ์
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 2552.
อัมภา ศรารัชต์, จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ, และอมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์. การจำแนกประเภทผู้ป่วยงานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. สำนักการพยาบาล กรมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2557.
Wuerz, R., & Fernandes, C.M.B. Inconsistency of Emergency Department Triage. Annals of Emergency Medicine, 32, 431 – 435. 1998.
Anderson, A.K., Omberg, M., & Svedlund, M. Triage in the Emergency Department : A Qualitative Study of the Factors which
Nurses Consider when Marking Decisions. Nursing in Clinical Care. 11, 136-145, 2006.
Gerdtz M.F., & Bucknall, T.K. Triage Nurses’ Clinical Decision Making: An Observational Study of Urgency Assessment. Journal of
Advanced Nursing, 35, 550-561. 2001.
Travers,D.A., Waller,A.E., Bowling,J.M.,& Tintinalli,J. Five-level Triage System more Effective than Three-level in Tertiary
Emergency Department. Journal of Emergency Nursing, 28, 395-400. 2002.
โรงพยาบาลนภาลัย. ปัญหาการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. สมุทรสงคราม : โรงพยาบาลนภาลัย, 2559.
Australasian College for Emergency Medicine. The Australasian Triage Scale (ATS). (online) Available URL :
http://www.acem.org.aulopen/documents/triage.htm. (Retrieved : October 10, 2017) 2002.
รังสฤษฎ์ รังสรรค์. การคัดกรองผู้ป่วยด้วยระบบ Emergency Severity Index (ESI). (online) Available URL : http://
ergoldbook.blogspot.com/2012/10/emergency-severity-index-esi.html (Retrieved : October 10, 2017) 2555.
ภาสินี คงเพ็ชร์. ผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเกาะสมุย. สุราษฎร์ธานี : รายงานวิจัย. 2557.
สุมาลี จักรไพศาล, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมรและณัฐนันท์ มาลา. ผลการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสระบุรี ต่อความสอดคล้อง
ของการจาแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยระยะเวลารอคอยแพทย์ตรวจ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และความพึงพอใจในงานของพยาบาล
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี. สระบุรี: รายงานวิจัย. 2553.
Hostutler, J.J, Taft, S.H., & Synder,C. Patient needs i the Emergency Department Nurses and Patients Perceptions. Journal of
Nursing Administration, 29(1), 43-50. 1999.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง