ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด “วันเพ็ญ โมเดล” เพื่อพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูผู้ปุวย COPD stage 2-4 class C,D ที่ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหัวหิน
คำสำคัญ:
โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, วันเพ็ญ โมเดล, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดบทคัดย่อ
ที่มาและความสาคัญ : ผู้ปุวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลหัวหิน มักมีอาการหอบ เหนื่อย ง่าย รูปร่างผอม ลักษณะของทรวงอกขาดความยืดหยุ่น และมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน และขา ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจาวันได้เหมือนคนปกติ ทางโรงพยาบาลจึงได้มีการพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูผู้ป่วย COPD stage 2- 4 class C, D ในรูปแบบ ที่เรียกว่า “วันเพ็ญ โมเดล” และต้องการศึกษาผลของโปรแกรมนี้ วิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลด้านสมรรถภาพของปอด ค่า FEV1/ FVC %, FEV1%, FVC%, ระยะทางในการเดินทางราบ 6 นาที, การขยายตัวของทรวงอก, ค่าความเหนื่อยขณะพัก, ค่าความเหนื่อยหลังออกกำลังกาย, ความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ผลกระทบของโรคถุงลมโปุงพองต่อความผาสุก และระดับความเครียดของผู้ปุวย COPD stage 2 - 4 class C, D ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหัวหิน ก่อนและหลังการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด “วันเพ็ญ โมเดล” กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปุวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ระดับ 2 - 4 class C, D จำนวน 13 คน จากคลินิกโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังงานผู้ปุวยนอกโรงพยาบาลหัวหิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาวิเคราะห์ และ paired t – test ผลการวิจัย : 1. ค่าการขยายตัวของทรวงอกระดับบน และระดับล่างหลังการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 โดยมีค่าการขยายตัวของทรวงอกระดับบน และระดับล่างหลังการฝึก (xˉ =4.46 และ5.00) สูงกว่าก่อนการฝึก (xˉ =2.69 และ2.38) 2. ผลกระทบของโรคถุงลมโปุงพองต่อความผาสุก(CAT score) หลังการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 โดยหลังการฝึก (xˉ =1.307) ต่ำกว่าก่อนฝึก (xˉ =1.6154) 3. ค่าความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจวัตรประจำวันหลังการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (mMRC score) มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 โดยหลังการฝึก (xˉ =1.62) ต่ำกว่าก่อนฝึก (xˉ =2.92) และ 4. ระดับความเครียดหลังการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 โดยหลังการฝึก (xˉ =1.07) ต่ำกว่าก่อนฝึก (xˉ =2.00) ส่วนผลด้านสมรรถภาพของปอดของผู้ป่วย FEV1/FVC% FEV1% FVC% ระยะทางในการเดินทางราบ 6 นาที ค่าความเหนื่อยขณะพัก ค่าความเหนื่อยหลังออกกำลังกาย หลังการฟื้นฟูมีค่าเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 สรุปผล: โปรแกรมการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด “ วันเพ็ญ โมเดล” สามารถเพิ่มการขยายตัวของทรวงอก ส่วนบน และส่วนล่าง ความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ผลกระทบของโรคถุงลมโปุงพองต่อความ ผาสุก และระดับความเครียดลดลง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ในผู้ปุวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง stage 2 - 4 class C, D class C, D ที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลหัวหิน แต่ไม่มีผลต่อสมรรถภาพของปอด
References
Reilly, John J. Silverman, Edwin K.; Shapiro, Steven D. "Chronic Obstructive Pulmonary Disease". Harrison's Principles of Internal Medicine 2011; 18th ed: 2151–9.
Vestbo, Jørgen.Diagnosis and Assessment.Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease 2013; 9–17.
Decramer M,Janssens W,Miravitlles M .Chronic obstructive pulmonary disease. Lancet 2012: 1341–51.
งานนโยบายและยุทธศาสตร์.สถิติผลการให้บริการผู้ปุวยโรค COPD asthma โรงพยาบาลหัวหิน .ประชุมชี้แจงตัวชี้วัดเตรียมความพร้อมรับการตรวจราชการปีงบประมาณ 2560 รอบที่1. 15 ธันวาคม 2559 ห้องประชุม 2 ชั้น10 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวามหาราช โรงพยาบาลหัวหิน.อาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์; 2559.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.แบบ ประเมินความเครียด ST5. 2516 สืบค้นเมื่อ[สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2560] เข้าถึงได้ทาง:
http://www.dmh.go.th/test/qteST-5/
คลินิกโรคปอด โรงพยาบาลอินทร์บุรี.mMRC dyspnea scale (คะแนนความรู้สึกเหนื่อย).2013 [สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2560]
เข้าถึงได้ จาก:http://chest.inburihospital.net/copd/mmrc-dyspnea-scale
บริษัทแกล็กโซสมิทไคลน์. COPD Assessment Test.2009 [สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2560] เข้าถึงได้ จาก:http://www.catestonline.org/english/index_Thai.htm
The refined ABCD assessment tool. Global initiative for Chronic Obstructive Lung Disease.2017;35
Zsuzsama,Laszlo และ Janos. Role of chest expansion in pulmonary rehabilitation.European.department of Pulmonary rehabilitation Budapest, Hungary Respiratory Society Annual Congress 2013.
Eleni A. Kortianou,Andea Aliverti, Zafeiris Louvaris, Maroula Vasilopoulou,Loannis Nasis,Andreas Asimakos, Spyros Zakyntninos
,et.al.Limitation in tidal volume expansion partly determines the intensity of physical activity in COPD.National and Kapodistrian
University of Athens, Department of Physical education and sport scince ,Italy; 2014
Retana P Basso-Venelli, Valeria A Pires Di Lorenzo,Ivana G Labadessa,Elosia M G Regueria Mauricio Jamami,Evelim
LFD Gomes and Dirceu Costa.Effect of inspiratory Muscle Training and Calisthenics – and – breathing Exercise in COPD With and without respiratory muscle weakness. Sao Paulo and Centro University,Brazil; 2016
Chou-Chin Lan, Hui-Chuan Huang, Mei-Chen Yang, Chih-Hsin Lee, Chun-Yao Huang and Yao-Kuang Wu. Pulmonary
Rehabilitation Improves Subjective Sleep Quality in COPD. Division of Pulmonary medicine, Taiwan; 2014
Croitoru A1, Ionită D, Stroescu C, Pele I, Gologanu D, Dumitrescu A, et.al. Benefits of a 7-week outpatient pulmonary rehabilitation program in COPD patients.National Institute of Pneumology, Bucharest, Romania; 2013.
Garuti G, Cilione C, Dell’Orso D, Gorini P, Lorenzi M.C, Totaro L, et.al. Impact of comprehensive pulmonary rehabilitation on anxiety and depression in hospitalized COPD patients. Manaldi Arch Chest Dis 2003; 59:1, 56-61
โชติยา สงเสวก.ผลของโปรแกรมการฟื้นฟู สมรรถภาพปอด ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.กรุงเทพ; 2550.
สุมาลี เกียรติบุญศรี .ราไทชิ ชี่กง ฟื้นฟู สมรรถภาพปอดเรื้อรัง. ผู้จัดการออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต].2555 [สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม
2560] ; 2555 :[1].เข้าถึงได้จาก : http://www.manager.co.th/qol
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง