ผลการดำเนินการคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
โรคหัวใจล้มเหลว, คลินิกโรคหัวใจล้มเหลว, นอนโรงพยาบาลซ้ำบทคัดย่อ
บทนำ: ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวมีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวสูง การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวที่มีการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวที่มีการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพต่ออัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ 30 วัน หลังจากนอนโรงพยาบาลนครชัยศรีด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครชัยศรีด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2566 และได้มาตรวจติดตามที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวที่มีการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพโดยทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกรและนักโภชนาการ ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยกับกลุ่มที่ตรวจติดตามคลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปที่แพทย์เป็นผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นหลัก
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 144 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ตรวจติดตามที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลว 64 ราย และ ผู้ป่วยที่ตรวจติดตามที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไป 80 ราย ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 67.9 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 34.7 มีผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ 30 วันในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 9.4) ส่วนผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปที่มี 21 ราย (ร้อยละ 26.2) (p=0.010) นอกจากนี้ผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวนอนโรงพยาบาลซ้ำจากทุกสาเหตุที่ 30 วันจำนวน 12 ราย (ร้อยละ 18.8) น้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปที่มี 29 ราย (ร้อยละ 36.2) (p=0.021) เมื่อทำการวิเคราะห์แบบ Univariate analysis พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวมีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ 30 วัน น้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไป (Odd ratio [OR] 0.291, 95% Confidence interval [CI] 0.109-0.772, p= 0.013) เมื่อทำการวิเคราะห์แบบ Multivariate analysis พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวมีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ 30 วัน น้อยกว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจติดตามที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปเช่นกัน (OR 0.217, 95% CI 0.071-0.669, p= 0.008)
สรุป: ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เมื่อทำการตรวจติดตามการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวที่มีการดูแลร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ 30 วันและลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำที่ 30 วัน ได้มากกว่าการตรวจติดตามที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไป
References
Joseph P, Dokainish H, McCready T, Budaj A, Roy A, Ertl G, et al. A multinational registry to study the characteristics and outcomes of heart failure patients: The global congestive heart failure (G-CHF) registry. American Heart Journal. 2020;227:56–63.
Pierce JB, Ikeaba U, Peters AE, DeVore AD, Chiswell K, Allen LA, et al. Quality of Care and Outcomes Among Patients Hospitalized for Heart Failure in Rural vs Urban US Hospitals: The Get With The Guidelines–Heart Failure Registry. JAMA Cardiology. 2023;8(4):376–85.
MacDonald MR, Tay WT, Teng TK, Anand I, Ling LH, Yap J, et al. Regional Variation of Mortality in Heart Failure With Reduced and Preserved Ejection Fraction Across Asia: Outcomes in the ASIAN‐HF Registry. Journal of the American Heart Association.2020;9(1).
Krittayaphong R, Yingchoncharoen T, Puwanant S, Boonyapiphat T, Charoenyos N, Wongtheptien W, et al. Reassessing heart failure therapy in Thailand: Patient insights and treatment outcomes from the Thai heart failure registry. International Journal of Cardiology. 2024;410:132235.
Janwanishstaporn S, Karaketklang K, Krittayaphong R. National trend in heart failure hospitalization and outcome under public health insurance system in Thailand 2008-2013. BMC Cardiovascular Disorders. 2022;22(1):203.
Ponikowski P, Voors AA, Anker SD, et al. 2016ESC guidelines for the diagnosis and treatment ofacute and chronic heart failure. European Journal of Heart Failure. 2016;18(8):891-975.
Azevedo A, Pimenta J, Dias P, Bettencourt P, Ferreira A, Cerqueira-Gomes M. Effect of a heart failure clinic on survival and hospital readmission in patients discharged from acute hospital care. European Journal of Heart Failure. 2002;4(3):353-9.
Kinugasa Y, Kato M, Sugihara S, Yanagihara K, Yamada K, Hirai M, Yamamoto K. Multidisciplinary intensive education in the hospital improves outcomes for hospitalized heart failure patients in a Japanese rural setting. BMC Health Services Research. 2014;14:351.
Pant BP, Satheesh S, Pillai AA, Anantharaj A, Ramamoorthy L, Selvaraj R. Outcomes with heart failure management in a multidisciplinary clinic - A randomized controlled trial. Indian Heart Journal.2022;74(4):327-331.
กมลรัตน์ ทองปลั่ง.การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบสหสาขาวิชาชีพในคลินิกหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5.2561; 37: 108-117.
ภณธนวัฒน์ สุทธิวาทนฤพุฒิ.การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังโดยการจัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลทั่วไปบ้านโป่ง.วารสารแพทย์เขต 4-5.2565; 41: 645-656.
นงนุช วีรปกรณ์.ความสัมพันธ์ของการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพในคลินิกหัวใจล้มเหลวกับอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2565; 36:115-126.
Taklalsingh N, Wengrofsky P, Levitt H. The Heart Failure Clinic: Improving 30-Day All-Cause Hospital Readmissions. Journal for Healthcare Quality. 2020;42(4):215-223.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวพ.ศ. 2562. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2562.
รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์, อรินทยา พรหมินธิกุล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส; 2558.
Faselis C, Arundel C, Patel S, Lam PH, Gottlieb SS, Zile MR, et al. Loop Diuretic Prescription and 30-Day Outcomes in Older Patients With Heart Failure. Journal of the American College of Cardiology. 2020;76(6):669–679.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลหัวหิน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง