ผลของการให้ความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา เวียงหก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่
  • ทิพวรรณ เทียมแสน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สื่อดิจิทัล, สื่อสังคมออนไลน์, พฤติกรรมสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากไม่สามารถควบคุมได้ จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา และอาจรุนแรงจนเสียชีวิต การให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมระดับความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกนั้นมีข้อจำกัดหลายประการ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลของการให้ความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความรู้โรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตในผู้ป่วยความดัน โลหิตสูง แผนผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแพร่ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแพร่

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบสองกลุ่มมีกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (The pretest-posttest control group design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่ห้องตรวจอายุรกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับความรู้ด้วยวิธีปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่า CVI และ KR-20 เท่ากับ 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ที่มีค่า CVI และ Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.90 และ 0.85 ตามลำดับ และแบบบันทึกค่าความดันโลหิตด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi - square test, Pair t-test, Wilcoxon sign-ranks test และ Mann-Whitney U test

ผลการศึกษา: หลังได้รับความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนคะแนนความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงไม่แตกต่างกัน และกลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตลดต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนระดับความดันโลหิตของกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน

สรุป: การให้ความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง       มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพ และควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีกว่าการให้ความรู้ด้วยวิธีปกติ

References

World Health Organization. Hypertension [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2024 Aug 16]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads/files/4155620240314033823.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2023 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2024]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads/files/4155620240314033823.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ข้อมูลระดับจังหวัด: รายงานตามตัวชี้วัด NCD Clinic Plus ปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่; 2023 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2024]. เข้าถึงได้จาก: https://pre.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2023

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. ทริค ธิงค์ เชียงใหม่; พิมพ์ครั้งที่ 1. เมษายน 2562.

ศุภลักษณ์ ทองขาว. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้วัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564;32(2):73-86.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ประสิทธิผลของ Prevent-U application ต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2565.

อติพร สำราญบัว, เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล. ผลของการใช้แอปพลิเคชันอาหารลดความดันต่อความเชื่อด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564;32(1):228-42.

วรรัตน์ มากเทพพงษ์, อุไร นิโรธนันท์ และ นปภัช ทองคำวงศ์. ผลของโปรแกรมพหุองค์ประกอบแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2566;39(1):78-88.

Orem DE. Nursing concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007; 39(2):175-91.

ณัฐพร ศศิฉาย และ สุระรอง ชินวงศ์. ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์และแผ่นพับภาษาปกาเกอะญอต่อความรู้และการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยปกาเกอะญอ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(3):892-900.

กองสุขศึกษา, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 ส.ค. 2024]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/07102020-115113-1176.pdf

อัมภรณ์รัตน์ มากแก้ว, สุทธีพร มูลศาสตร์ และ มนตรี บุญเรืองเศษ. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2565;32 (3):133-150

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13

How to Cite

เวียงหก ม. ., & เทียมแสน ท. . (2025). ผลของการให้ความรู้ด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแพร่. หัวหินเวชสาร, 4(3), 72–88. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/273938