ผลของรูปแบบการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศทางคลินิก, การใช้กระบวนการพยาบาล, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
บทนำ: การนิเทศทางคลินิกเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล ในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพยาบาลที่มีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการดูแลผู้ป่วย สร้างสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ดี และพัฒนาทักษะการพยาบาล
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาล การใช้กระบวนการพยาบาล และความพึงพอใจในการนิเทศของพยาบาลวิชาชีพหลังการรับนิเทศทางคลินิก
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่ม วัด 2 ระยะ ก่อนและหลังการนิเทศทางคลินิก ประชากรที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Proctor ประเมินความรู้ การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ และความพึงพอใจหลังการรับนิเทศทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบความต่างด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา: ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพหลังการนิเทศทางคลินิกอยู่ในระดับดี (เฉลี่ย 15.79, SD=1.09) สูงกว่า ก่อนการนิเทศซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 13.63, SD=1.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่าหลังการนิเทศทางคลินิก พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (125.92, SD=6.87) สูงกว่าก่อนการนิเทศทางคลินิกซึ่งอยู่ในระดับมาก (109.13, SD=7.62) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศทางคลินิกเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุป: รูปแบบการนิเทศทางคลินิก ช่วยสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ และสามารถนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ และช่วยให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน ทีมผู้บริหารทางการพยาบาลควรสนับสนุนให้ผู้บริหารระดับต้นนำรูปแบบการนิเทศทางคลินิกไปใช้เพื่อการพัฒนางานพยาบาลต่อไป
References
ดารินทร์ ลิ้มตระกูล. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลวิสัญญีเพื่อมาตรฐานและคุณภาพ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2562; 4(1).
สำราญ คำมี, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพรทิพย์ กีระพงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตากระบวนการพยาบาลในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565; 14(2): 233-47.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ Hospital and Healthcare Standards ฉบับที่ 5. นนทบุรี: ก.การพิมพ์เทียนกวง; 2564. 84-8.
ประกาศสภาการพยาบาล. เรื่องมาตรฐานการพยาบาล พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 97 ง (ลงวันที่ 18 เมษายน 2562).
สุรีภรณ์ กอเซ็ม และชญานันท์ ต่างใจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลด้านคลินิก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาล
นาด้วง 2562; 39(1): 26-36.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II คู่มือนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ ตอนที่ 2 สำหรับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2564. 47-8.
Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention in fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001.
รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญาพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา และรัชนี นามจันทรา. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562; 30(2): 193-209.
ผ่องพรรณ ธนา, กนกรัตน์ แสงอำไพ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(4): 52-60
งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลหนองปรือ. ข้อมูลการทบทวนการดูแลผู้ป่วย และข้อมูลตัวชี้วัดงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลหนองปรือ. 2565.
ขันทอง มางจันดีอุดม. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์ คณะพยาบาลศาสตร์]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.
นุชจรีย์ ชุมพินิจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา การบริหารการพยาบาล]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.
กิ่งกาญจน์ ทรัพย์เย็น, กนกทอง จาตุรงคโชค และกฤตยา ตันติวรสกุล. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562; 38(4): 300-17.
กัญญา เลี่ยนเครือ, สุภาภรณ์ ประยูรมหิศร และศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. Journal of Kaensarn Academi 2565; 7(9): 300-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลหัวหิน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหัวหินเวชสาร เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลหัวหิน
บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารหัวหินเวชสาร ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง