ความสำเร็จของศูนย์บริการเบ็ดเสร็จและความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

บุญสงค์ ลี้สุรพลานนท์
จักรี แก้วคำบ้ง
ปทาน ศรีจันทร์
ฤชาภร ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาได้จัดตั้งศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จในปี 2549 มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเน้นการให้บริการเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ทันเวลา และทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด


วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแจกแจงสัดส่วนความสำเร็จในการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561–2562 และประเมินระดับความพึงพอใจและค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มารับบริการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563


วิธีการวิจัย: ใช้แบบสอบถามจากผู้รับบริการที่สมัครใจ ที่คัดเลือกตัวอย่างแบบ purposive sampling ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2563 จำนวน 231 ราย


ผลการศึกษา: พบว่า การให้บริการศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จมีสัดส่วนความสำเร็จ (คำขออนุญาตได้รับการพิจารณาเสร็จสิ้น) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ 2562 ที่ร้อยละ 99.35 และ 99.67 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.003  สำหรับสัดส่วนความสำเร็จตามเกณฑ์ระยะเวลาที่กำหนด พบร้อยละ 86.15 และ 87.91 พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.497 ส่วนผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการภาพรวม พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 73.52 มีความพึงพอใจระดับมาก เฉลี่ย 4.18 คะแนน หมวดที่พึงพอใจมากที่สุดคือ การให้บริการของเจ้าหน้าที่ พบร้อยละ 87.66 เฉลี่ย 4.38 คะแนน หมวดที่รองลงมาเป็นระดับมาก คือ กระบวนการขั้นตอนในการให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม พบร้อยละ 82.68 และ 79.30 หรือเฉลี่ยที่ 4.13 และ 3.97 คะแนน ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังค้นพบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจที่มีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป: ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการระดับมาก และสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ให้บริการ ดังนั้น ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้รับบริการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). [ อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ม.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและ. ตัวชี้วัด กิจกรรม แบบรายงาน และงบประมาณการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.พ. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph.go.th/sites/kbs/Shared%20Documents/เกี่ยวกับส่วนภูมิภาค/KPI_Book_2563_Link.pdf

สุภัทรา บุญเสริม. การศึกษาแนวทางระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังออกสู่ตลาดในส่วนภูมิภาค.วารสารอาหารและยา 2557;21(1):24-31.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

คำสั่งคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 51/2535 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, หน้า 1.

Yamane, Taro.1967. Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York: Harper and Row.

Likert Rensis A. 1961. New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book.

ศิริขวัญ บริหาร, มโนรมภ์ สินธพอาชา, สิริพร บูรพาเดชะ. ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2552;5(1): 102-9.

อรุณรัตน์ อรุณเมือง. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพก่อนออกสู่ท้องตลาด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. วารสารอาหารและยา 2561;25(1):53-63.