การใส่ท่อหายใจผ่านบริเวณใต้คาง เพื่อการผ่าตัดบริเวณใบหน้า และขากรรไกร: รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

ไพศาล ประธานพิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การผ่าตัดผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้าและขากรรไกร โดยปกติจะใส่ท่อหายใจผ่านทางปากหรือจมูก ในผู้ป่วยบางรายที่มีการแตกหักของฐานกะโหลกร่วมด้วย และการผ่าตัดจำเป็นที่ต้องการดูการสบฟันและทำหัตถการบริเวณจมูก ทำให้ไม่สามารถใส่ท่อหายใจผ่านทางจมูกหรือปากได้ การเจาะคอเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง แต่การเจาะคออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในระหว่างและหลังการผ่าตัดได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะคอ การใส่ท่อหายใจผ่านบริเวณใต้คางจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลทางเดินหายใจระหว่างผ่าตัด


รายงานนี้เป็นรายงานผู้ป่วยอายุ 16 ปี ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ มีกระดูกขากรรไกรบนหักชนิด
Le Fort II  จมูกหักร่วมกับมีกระดูกโหนกแก้มซ้ายหัก ได้รับการรักษาโดยเข้าเฝือกขากรรไกรบนและจมูก โดยการ
ใส่ท่อหายใจผ่านบริเวณใต้คาง ไม่พบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด ซึ่งการใส่ท่อหายใจ
ผ่านบริเวณใต้คางเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพิจารณาใส่ท่อหายใจในผู้ป่วยที่บาดเจ็บบริเวณใบหน้า

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

Das S, Das TP, Ghosh PS. Submental intubation: a journey over the last 25 years. J Anaesthesiol Clin Pharmacol. 2012;28(3):291-303.

Sharma RK, Tuli P, Cyriac C, Parashar A, Makkar S. Submental tracheal intubation in oromaxillofacial surgery. Indian J Plast Surg. 2008;41(1):15-9.

Moo D, Tan E, Lai JB, Chan ST. Submental Intubation with LMA fastrach TM endotracheal tube in maxillofacial trauma: a case report. Open Journal of Anesthesiology.2019;9(12):221-6.

Jindal S, Kothari K, Singh AK. Submental intubation. Dent Res J (Isfahan). 2013;10(3):401-3.

Jeon YG, Lee C, Hong D, Jin Y, Lim HK. Modified submental intubation techniques for maxillofacial surgery - a report of five cases. Anesth Pain Med (Seoul). 2022;17(3):331-7.

Cheong Y, Kang SS, Kim M, Son HJ, Park J, Kim JM. Submental intubation in patients with complex xaxillofacial injuries. J Lifestyle Med. 2016;6(2):68-71.

Valsa A, Kumar L, Sumir G, Williams A, Singh M, Victor JV. Submental intubation for airway management of patients with complex caniomaxillofacial injuries: our experience. Anesth Essays Res. 2012;6(2):161-6.

Emara TA, El-Anwar MW, Omara TA, Anany A, Elawa IA, Rabea MM. Submental intubation versus tracheostomy in maxillofacial fractures. Oral Maxillofac Surg. 2019;23(3):337-41.

Patkar GA, Virkar ND, Anusha. MS, Tendolkar BA. A study of submental intubation for anaesthesia in patients with faciomaxillary injuries. Int J of Clinical Trials 2016;3(3):132-9.

Park KN, Karm MH. Submental/submandibular intubation: a journey from past to future. Anesth Pain Med (Seoul). 2024;19(4):280-93.

Oshima N, Shiraishi T, Kawauchi T, Oba J, Sato D, Fujiki M, et al. J Craniofac Surg. 2018;29(7):1952-5.