การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายโรงพยาบาลนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรงพยาบาลนครพนมเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 345 เตียง รับผิดชอบดูแลประชากรในเขตอำเภอเมืองนครพนม ซึ่งพบว่าสถิติผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น สถิติในปี 2564 และปี 2565 พบผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านร้อยละ 2.71 และ 4.62 ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงร้อยละ 0.38 และ 0.56 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลระยะยาวตามแผนการดูแลร้อยละ 85.02 และ 88.59 พบปัญหาผู้สูงอายุในระยะเปลี่ยนผ่านไม่สามารถเข้าถึงบริการระยะยาวในชุมชนร้อยละ 12.46 และ 23.28 ซึ่งอาจส่งผลเสียให้การฟื้นฟูสภาพล่าช้า เกิดทุพพลภาพ และพึ่งพิงสูงขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน 2) ศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายโรงพยาบาลนครพนม
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ครอบครัว (Family caregiver : FCG) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver : CG) และผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Case manage : CM) เขตอำเภอเมืองนครพนม เครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครพนม ขั้นตอนของการพัฒนาใช้ ปฏิบัติการ 4 ขั้นตอนของ Kemmis & McTaggart ดังนี้1) Planning-P 2) Action -A 3) Observation-O และ 4) Reflection-R เมื่อครบวงจรจะปรับปรุงแผนนำไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึง เดือน มกราคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน Paired sample t-test
ผลการศึกษา : ระบบบริการผู้สูงอายุระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ในบริบทของหน่วยปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลนครพนมถูกพัฒนาขึ้น และเมื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบบริการ 1) ด้านผู้สูงอายุ พบว่า ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงไม่แตกต่างทางสถิติจากก่อนพัฒนา แต่ในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน เพิ่มขึ้นและแตกต่างจากก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุทั้งกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงดีขึ้น และแตกต่างกับก่อนการพัฒนาระบบบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 2) ด้านครอบครัว (FCG) พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียด และภาระในการดูแลผู้ป่วยระยะยาวสำหรับผู้ดูแล ต่ำกว่าก่อนการใช้ระบบบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ 3) ด้านผู้ให้บริการ พบว่า ผลการทดสอบความรู้หลังการอบรมทักษะการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) สูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และความพึงพอใจของผู้ดูแลจัดการการดูแลผู้สูงอายุ (CM) อยู่ในระดับดีมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.47 ± 0.41
สรุปและข้อเสนอแนะ : ระบบบริการผู้ป่วยระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนที่พัฒนาขึ้น ได้ผลลัพธ์ที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนพัฒนา ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุได้รับการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ตรงตามความต้องการ รวดเร็ว ทันเวลา ได้รับการฟื้นฟูสภาพ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ชะลอภาวะพึ่งพิง ด้วยกระบวนการทำงานที่เป็นเครือข่ายและมีการนิเทศติดตามผู้ป่วยระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามศักยภาพ จึงควรขยายระบบบริการผู้ป่วยระยะยาวใช้ในทุกกลุ่มโรค ทุกกลุ่มวัย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kasemsap W. Is Thailand ready? With the step towards a completely aging society. [internet]. Nakhon Pathom: General Administration Division; 2021[cited 24 June 2023 ]. Available from: https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-22-2/
Office of the National Economic and Social Development Council. National economic and social development plan no. 13 (2023-2027). Bangkok; 2022.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). Situation of the Thai elderly in 2019. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2020.
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Guide screening and assessment of older people. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand; 2014.
Darikarnlert L. Integrated care for the elderly in the community: Part 1: Situation and needs for caring for the elderly in the community. Nakhon Pathom: ASEAN Institute for Health Development, mahidol University; 2012.
Chandoevwit W, Watcharakupt Y. Long-term care insurance system: a system suitable for Thailand. [internet]. Bangkok: Thailand Development Research Institute; 2017 [cited 20 June 2023]. Available from: https://tdri.or.th/wp-ontent/uploads/2017/12/OldAge_Insure_system_optimise.pdf
National Health Security Office (NHSO). Guide to the long-term health care system for the elderly who are dependent (Long Term Care) in the National Health Insurance System, fiscal year 2016. Bangkok; 2016.
Medical records and statistics Nakhon Phanom Hospital. Summary of patient statistics 2021-2022. Nakhon Phanom: Nakhon Phanom Hospital; 2022.
Chatakarn W. Action research. Suratthani Rajabhat Journal. 2015;2(1):29-49.
Yamane Taro. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row; 1973
WHOQOL-BREF-THAI. Project to develop a ready-made program for surveying mental health in the area. Chiang Mai: Suan Prung Hospital; 2002.
Boonvas K, Supanunt T, Chunhabordee A, Wae N. Caregiver stress and needs in caring disabled. Journal of the Southern Nursing and Public Health College Network. 2017;4(1):205-16.
Toonsiri C, Sonsern R, Lawarng W. Development of a care burden measurement scale for caregivers of chronically ill patients. Journal of Nursing and Education. 2011;4(1):62-75.
Watcharakupt Y, Kunakornvong W, Phatchana P, Suriyanratakorn S. An effectiveness analysis of the long-term care plans in Udonthani province. Journal of Health Systems Research. 2017;12(4): 608-24.
Yoosamran K, Chanaphant S, Keankarn P. Stress and stress-coping of caregivers for dependent older adults, Mueang district, Nakhon Ratchasima province. Regional Health Promotion Center 9 Journal 2022;16(1):1-16.
Tangwong S. Caregiving burden and quality of life amongst caregivers of the elderly in Nakhon Pathom province. Christian University of Thailand Journal. 2016;22(3):352-65.