ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยสหสาขาวิชาชีพตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุ (ageing society) ในปี 2565 พบมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 13 ล้านคนจากประชากร 66.8 ล้านคนหรือร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งหมดและพบว่ามีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป บาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มและต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 89,355 คน และเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มจำนวน 1,255 คนซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจและสังคมตามมา
วัตถุประสงค์ :เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยสหสาขาวิชาชีพในผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนเขต รพ.สต.บ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental research) ชนิดสองกลุ่มในช่วงเวลา 12 อาทิตย์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้มและมีคะแนนความเสี่ยงจากการประเมินการพลัดตกหกล้มด้วย Thai-FRAT ตั้งแต่ 4-11 คะแนน และ/หรือ TUGT มากกว่า 12 วินาที จำนวน 82 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 41 คนและกลุ่มควบคุม 41 คน โดยวิธี block randomization เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) การประเมินการทรงตัวและการเดิน Timed Up and Go Test (TUGT) 3) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) 4) ประเมินการทรงตัวด้วย 4 stage balance test 5) โปรแกรมการออกกำลังกายประกอบด้วย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 3 ท่า การฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ส่วนล่าง 4 ท่า การฝึกการทรงตัว 3 ท่า เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม โดยผู้วิจัยได้ปรับปรุงอ้างอิงจากยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอาย 6) แผ่นพับและคลิปวีดีโอ โปรแกรมออกกำลังกายและการจัดสิ่งแวดล้อม 7) แบบติดตามการออกกำลังกาย ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และ Dependent and Independent T–Test
ผลการศึกษา : ผลการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและการจัดสิ่งแวดล้อม 12 สัปดาห์ มีคะแนน Thai-FRAT (p<0.000) ผลการทดสอบ TUGT (p<0.001) และ ผลการทดสอบ 4 Stage Balance Test (P<0.001) ทั้ง 4 stage ดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างเฉลี่ย(mean difference) ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนน ดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) ยกเว้น 4 Stage Balance Test stage 4 (p=0.188) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยสหสาขาวิชาชีพช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ สามารถทำให้ผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการหกล้มได้มากขึ้น ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Situation of the Thai
older persons 2021. Nakhon Pathom; 2022.
Bureau of Elderly Health. Wellness plan [Internet]. 2020 [cited 2023 Dec 10]. Available from:
https://eh.anamai.moph.go.th/ th/elderly-manual/211989#
Lampang Public Health Office. Anti-aging Lampang program [Internet]. 2022 [cited 2024 Jan
. Available from: https://lpg.hdc.moph.go.th/
Sriburi C, Musikarat P. Silsupadol P, Srisupornkornkool K. Effects of backward and forward walking training on balance, spatiotemporal gait characteristics and risk of fall in elderly. Thai Journal of Physical Therapy.2022; 44(1):12-28.
Rodsrida P. Fall prevention among the elderly living in a community: the nursing role
In home health care. Thai Red Cross Journal 2018;11(2):15-25.
Ditsra W, Pannee B. Effects of exercise on balance of the elderly: a systematic review. Journal of Health Research and Innovation. 2022;5(2) :1-13.
Thongpra J. Comparison of the effects of exercise programs in the elderly to prevent falls.
ThaLuang Hospital Lopburi Province. Mahasarakham Hospital Journal. 2020; 21(1): 110-21.
Sap-in R, Chaoroptham Y. The elderly and media in Thailand. Dhruakit Pundit Communication Art Journal. 2017;11(2):369-86.
Jarutat T. Project to study minimum standards for housing & environment of the elderly: complete research report. Bangkok: Office of the Science Promotion Commission Research & Innovation; 2005.
Lamsa-ad W, Pinij K. Effectiveness of a fall prevention model for elderly by applying
protection motivation theory in elderly club, Rayong Province, Thailand. Journal of Health
Research and Development Nakorn Ratchasrima Provincial Public Health Office. 2023;9(1):103-14.
Rodsungnoen J. Effects of exercise programs on balance and fear of falling among
elderly in the community. Regional Health Promotion Center. 2023:15(38):541-60.
Keawtep P, Wichayanrat W, Boripuntakul S, Chattipakorn SC, Sungkarat S.Cognitive benefits of physical exercise, physical – cognitive training and technology-based intervention in obese individuals with and without postmenopausal condition: a narrative review. Int J Environ Res Public Health. 2022;19(20):13364.
Thiamwong L, Thamarpirat J , Maneesriwongul W, Jitapunkul S. Thai falls risk assessment test
(Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2008;91(12):
-32.