การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลเนินหอม จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา:โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด ปี 2566 มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูง 2,400.03 รายต่อแสนประชากร ผลกระทบที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะวิกฤตทางสุขภาพจิตแก่ผู้ใกล้ชิดรวมถึงการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การค้นหาคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จะส่งผลโดยตรงการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้ทําการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลเนินหอม จังหวัดปราจีนบุรี
วัตถุประสงค์:เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลเนินหอมจังหวัดปราจีนบุรี
วิธีการศึกษา:เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 36 คน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –31 พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา:1) การเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าของชุมชนตําบลเนินหอม ส่วนใหญ่เป็นการตั้งรับในสถานบริการระดับปฐมภูมิ ไม่มีบริการเชิงรุกในพื้นที่ และเฝ้าระวังโรคโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น 2) รูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่เพิ่มการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน ประกอบด้วย ผู้นําชุมชน ตัวแทนผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และทีมสหวิชาชีพ หลังทดลองใช้รูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าฯพบว่าในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 41.64 เป็นร้อยละ 73.80 และ 3) ความคิดเห็นของเครือข่ายแกนนําในชุมชนที่มีต่อรูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลเนินหอม จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมเห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสมระดับมาก (𝑥̅= 4.06, S.D.= 0.61)
สรุปและข้อเสนอแนะ:การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทําให้สามารถคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น และให้การช่วยเหลือ หรือรักษาตามความรุนแรงของโรค สามารถเป็นต้นแบบให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลได้ จึงควรขยายผลให้ครอบคุลมทุกพื้นที่ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health, Information and Communication Technology Center. Report on access to services for patients with depression, September, fiscal year 2020 [Internet]. Nonthaburi: Information and Communication Technology Center; 2020 [cited 2024 Jan 1]. Available from: https://www.thaidepression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-09-20_mix_HDC.pdf
Chaophya Abhaibhubejhr Hospital, Psychiatry and Narcotics Department. Annual Report 2023. Prachinburi: Psychiatry and Narcotics Department, Chaophya Abhaibhubejhr Hospital; 2023.
Department of Mental Health. Depression and suicide assessment [Internet]. Nonthaburi: Department of Mental Health; 2016 [cited 2024 Jan 1]. Availble from: https://dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rded. Geelong: Deakin University Press; 1988.
Cohen JM, Uphoff NT. Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 1980. 8(3);213-35.
Seikum T, Seikum A. Suicide prevention models in the public Moo 5, Ban Pong Phan Huay Mun subdistrict, Nam Pad district, Uttaradit province in 2023. Uttaradit: Uttaradit Provincial Public Health Offic; 2023.