ประสิทธิผลของการให้แอสไพรินขนาด162 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นปัญหาสำคัญในช่วงของการตั้งครรภ์ และพบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ปัจจุบันทางการแพทย์แนะนำให้แอสไพรินขนาดต่ำ(60-150 มิลลิกรัมต่อวัน) เพื่อป้องกันการเกิดครรภ์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง หลายการศึกษาพบว่า การให้ขนาดแอสไพรินที่สูงกว่า81มิลลิกรัมต่อวันจะช่วยลดการเกิดครรภ์เป็นพิษในอายุครรภ์ก่อนกำหนดได้มากกว่า
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการให้แอสไพรินขนาด 162 มิลลิกรัม เทียบกับขนาด 81 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง
วิธีการศึกษา ศึกษาวิจัยเชิงสถิติแบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort study) โดยเก็บข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีความเสี่ยงสูงของภาวะครรภ์เป็นพิษ จากเวชระเบียนโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2566 โดยแบ่งเป็น 2กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับแอสไพรินขนาด 162 มิลลิกรัมและขนาด 81 มิลลิกรัมต่อวัน วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ อุบัติการณ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษโดยการใช้ Chi-square testและ T-test ตามความเหมาะสม เปรียบเทียบผลต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษและผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ระหว่าง 2 กลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดี่ยวและแบบหลายตัวแปร ด้วย Adjust relative risk แสดงช่วงความเชื่อมั่นที่95%CI และ p-value<0.05
ผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีความเสี่ยงสูงของภาวะครรภ์เป็นพิษ จำนวน 372 ราย มีกลุ่มที่ได้รับแอสไพรินขนาด 162 มิลลิกรัม และ 81 มิลลิกรัม จำนวน 182 ราย และ 190 ราย ตามลำดับ พบว่า อุบัติการณ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในทุกอายุครรภ์ของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ในกลุ่มที่ได้รับแอสไพรินขนาด 162 มิลลิกรัม ลดอัตราการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ ร้อยละ 98 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์พหุหลายระดับ (relative risk 0.012 , 95%CI;0.00-0.21, p=0.001 ) และลดอัตราการคลอดก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ร้อยละ 84 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับแอสไพรินขนาด 81 มิลลิกรัมโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (relative risk 0.16 , 95%CI;0.03-0.78, p=0.024 )
สรุปผลและข้อเสนอแนะ แนะนำการให้แอสไพรินขนาด 162 มิลลิกรัมต่อวันในหญิงตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ดีในการลดภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ เพื่อลดทารกคลอดก่อนกำหนดจากมารดาที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษขึ้นในอายุครรภ์ก่อนกำหนด โดยไม่พบความแตกต่างของภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Lain KY, Roberts JM. Contemporary concepts of the pathogenesis and management of preeclampsia. JAMA. 2002;287(24):3183-6.
Duley L. The global impact of pre-eclampsia and eclampsia. Semin Perinatol. 2009;33(3):130-7.
Steegers EA, Von DP, Duvekot JJ, Pijnenborg R. Pre-eclampsia. Lancet 2010;376(9741):631-44.
ACOG practice bulletin no. 202 Summary: gestational hypertension and preeclampsia. Obstet Gynecol 2019;133(1):1.
National Collaborating Centre for Women's and Children's Health (UK). Hypertension in
Pregnancy : the management of hypertensive disorders during pregnancy. RCOG 2010.
Mol BW, Roberts CT, Thangaratinam S, Magee LA, de Groot CJ, Hofmeyr GJ. Pre-eclampsia. Lancet 2016;387(10022):999-1011.
Faculty of Medicine Chiang Mai University, Department of Obstetrics and Gynecology [Internet]. Chiang Mai: Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine Chiang Mai University; 2020. Guideline for Preeclampsia; n.d. [cited 2021 May 5]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/guideline-for-preeclampsia/
National Institute for Health and Care Excellence. [Internet]. London: NICE; 2019. Hypertension in pregnancy: diagnosis and management NICE guideline [NG133]; 2023 [cited 2021 May 5]. Available from: https://www.nice.org.uk/guidance/ng133
Henderson JT, Whitlock EP, O’Connor E, Senger CA, Thompson JH, Rowland MG. Low-dose aspirin for prevention of morbidity and mortality from preeclampsia: a systematic evidence review for the U.S. Preventive Services Task Force. Ann Intern Med. 2014;160(10):695–703.
ACOG committee opinion no. 743: low-dose aspirin use during pregnancy. Obstetrics & Gynecology. 2018;132(1): 44-52.
ACOG Practice Bulletin No. 202: gestational hypertension and preeclampsia. Obstetrics & Gynecology. 2019. 133(1):1.
Charoenbun C. Low dose aspirin for prevention of preeclampsiaamomg woman at hight risk. Chiangrai Medical Journal. 2021;13(1):153-62.
Tapp S, Guerby P, Girard M, Roberge S, Côté S, Ferreira E, et al. A pilot randomized trial comparing the effects of 80 versus 160 mg of aspirin on midtrimester uterine artery pulsatility index in women with a history ofpPreeclampsia. J Obstet Gynaecol Can. 2020;42(12):1498-504.
Roberge S, Nicolaides K, Demers S, Hyett J, Chaillet N, Bujold E. The role of aspirin dose on the prevention of preeclampsia and fetal growth restriction: systematic review and meta-analysis. Am J Obstet Gynecol. 2017;216(2):110–20. e6.
Van Doorn R, Mukhtarova N, Flyke IP, Lasarev M, Kim K, Hennekens CH, et al. Dose of aspirin to prevent preterm preeclampsia in women with moderate or high-risk factors: a systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2021;16(3):e0247782.