การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นกลุ่มติดบ้านและติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อาจต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การให้การพยาบาล บริการด้านสังคม รวมถึงการช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน หากได้รับการดูแลและฟื้นฟูจากทีมสุขภาพที่มีศักยภาพในการด้านการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่จังหวัดพะเยา และศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดพะเยา
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่รับผิดชอบงานผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายในชุมชน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง รวมทั้งสิ้นจำนวน 112 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ระยะการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และ paired t-test
ผลการศึกษา : รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้มีการพัฒนาขึ้นเรียกว่า SKILL model ประกอบด้วย 1.แรงสนับสนุนทางสังคม, 2. ความเมตตาในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ, 3.การบูรณาการงานร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน, 4.การประเมินและประสานเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสุขภาพ ปลอดภัย มั่นคง และ 5.การเรียนรู้ ฟื้นฟูทักษะของผู้ดูแล หลังจากที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวมีภาวะพึ่งพิงที่พัฒนาขึ้น พบว่า การรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลทั้ง 8 ด้าน คือ ความสามารถในการประเมิน INHOMESSS, การทำแผลกดทับ, การให้อาหารทางสายยาง, การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการเคลื่อนย้ายจากเตียงมานั่งบนล้อเข็น, การดูแลสายสวนปัสสาวะ, การแนะนำเรื่องการใช้ยา, การประเมินและให้คำปรึกษาสุขภาพจิต และ การประสานความช่วยเหลือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปและข้อเสนอแนะ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ SKILL model ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง สามารถใช้นำไปขยายผลให้กับพื้นที่อื่น โดยอาศัยศักยภาพของชุมชน และทุนทางสังคมภายใต้บริบทของพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World report on ageing and health. Geneva: World Health Organization; 2015.
Phayao Provincial Public Health Office. Health Data Center [internet]. Phayao: Phayao Provincial Public Health Office; 2021 [cited 2021 Mar 27]. Available from: https://pyo.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?%20hcat_id=%206966b0664b89805a484d7ac96c6edc48
National Health Security Office. The manual of long term care for the dependent elderly in community (Long term Care) under universal health coverage scheme, fiscal year. Bangkok; 2016. (In Thai)
National Health Security Office. Handbook for supporting the management of the public health long-term care service system, for the elderly who are dependent on the national health insurance system. Bangkok; 2016. (In Thai)
Srithamrongsawat S, Suriyawongpaisarn P, Kasemsap W, Ekkaplakorn W, Leeraphan B. Complete report of a research project to develop a long-term care system for the elderly. having a state of dependency under the National security system. Bangkok: Department of Community Medicine Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital; 2018. (In Thai).
Boontong T, Nuntaboot K. Model of the development of long-term care system for the elderly. Nonthaburi: Thailand Nursing and Midwifery Council; 2019. (In Thai)
Chokwiwatana W. Learning from Japan. System for caring for elderly people stuck at home and bedridden. Bangkok: Samdee Printing Equipment; 2019. (In Thai).
Kemmis S, Mc Taggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1988.
Ratanasuwan W, Opasanan P. Development of the capacity building model for caregivers of dependency elderly persons in the community. Journal of Nursing and Education 2018;11(4): 156-74. (In Thai).
Yapradit P, Kongtan O. Development of long-term care services for dependent
elderly people. Nong Sim subdistrict, Borabue district, Maha Sarakham province. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences. 2020;40(3);48–65.(In Thai)
Kanyakarn K, Kosalavit T, Boonyaniwarawat N. Long-term care model. Integrated with
community participation for elderly people who are dependent on Dong Bang subdistrict health promotion hospital Mueang district Ubon Ratchathani province. Journal of Humanities & Social Sciences 2019;17(1): 1-19. (In Thai)
Phorawat R. Guidelines for developing care for the elderly who are dependent on
elderly in Nakhon Chum subdistrict, Muang, Kamphaeng Phet province. Journal of Humanities
and Social Sciences. 2019;25(4):76-85. (In Thai).