ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: การเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 เป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้นการทราบปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะดังกล่าว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19
วิธีการศึกษา:เป็นการศึกษาแบบ case-control study โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 โดยเปรียบเทียบปัจจัยทางคลินิกระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงด้วยสถิติ logistic regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 110 ราย ประกอบด้วยเพศชาย 57 ราย เพศหญิง 53 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 22 ราย และกลุ่มที่ไม่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 88 ราย ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจพบว่ามีโรคร่วมจำนวน 14 ราย (ร้อยละ 63.63) โดยโรคร่วมที่พบ ได้แก่ หอบหืด (ร้อยละ 4.55) โรคหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 22.73) ภาวะอ้วน (ร้อยละ 31.82) เบาหวาน (ร้อยละ 13.64) ช่วงระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน จำนวน 22 ราย (ร้อยละ 100) ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจพบว่าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Chronic pulmonary disease, Croup และ pneumonia ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน (adjusted OR 63.99; 95% CI 1.07-3.82 x 103, p-value 0.046) Croup (adjusted OR 396.47; 95% CI 7.22-2.18x104, p-value 0.003) ค่า white blood cell มากกว่า 10,000 (adjusted OR 63.99; 95% CI 2.80-3.05x102, p-value 0.046) และ Absolute lymphocyte count < 1500 (adjusted OR 19.14; 95% CI 2.59-1.41x102, p-value 0.004)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้แก่ ภาวะอ้วน โรค Croup จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ และค่า absolutely lymphocyte count ที่ต่ำ แพทย์ผู้รักษาจึงควรพิจารณาให้การรักษาและติดตามอาการในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID 19 ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Moreno-Noguez M, Rivas-Ruiz R, Roy-García IA, Pacheco-Rosas DO, Moreno-Espinosa S, Flores-Pulido. Risk factors associated with SARS-CoV-2 pneumonia in the pediatric population. Bol Med Hosp Infant Mex. 2021;78(4):251-8.
Woodruff RC, Campbell AP, Taylor CA, Chai SJ, Kawasaki B, Meek J, et al. Risk factors for severe COVID-19 in children. Pediatrics. 2022;149(1):e2021053418.
Sarkar M, Das B, Mahapatra MK, Roychowdhoury S, Das S, Konar MC. A Retrospective Analysis of Clinical Manifestations, Management and Outcome of Acute Respiratory Distress Syndrome Associated with Coronavirus Disease-2019 Infection in Children. Indian J Crit Care Med. 2022;26(3):331-8.
Kompaniyets L, Agathis NT, Nelson JM, Preston LE, Ko JY, Belay B, et al. Underlying Medical Conditions Associated With Severe COVID-19 Illness Among Children. JAMA Netw Open. 20211;4(6):e2111182.
Tezer H, Bedir Demirdağ T. Novel coronavirus disease (COVID-19) in children. Turk J Med Sci.
;50(SI-1):592-603.
Feldstein LR, Rose EB, Horwitz SM, Collins JP, Newhams MM, Son MBF, et al. Multisystem Inflammatory Syndrome in U.S. Children and Adolescents. N Engl J Med. 2020;383(4):334-46.
Moreno-Noguez M, Rivas-Ruiz R, Roy-García IA, Pacheco-Rosas DO, Moreno-Espinosa S, Flores-Pulido AA. Risk factors associated with SARS-CoV-2 pneumonia in the pediatric population. Bol Med Hosp Infant Mex. 2021;78(4):251-8.
Williams N, Radia T, Harman K, Agrawal P, Cook J, Gupta A. COVID-19 Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) infection in children and adolescents: a systematic review of critically unwell children and the association with underlying comorbidities. Eur J Pediatr. 2021;180(3):689697.
Lee EP, Mu CT, Yen CW, Hsia SH, Lin JJ, Chan OW, et al. Predictors of disease severity and outcomes in pediatric patients with croup and COVID-19 in the pediatric emergency department. Am J Emerg Med. 2023;72:20-6.