ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา ผู้ป่วยที่กลับมาตรวจซ้ำที่ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง การกลับมาตรวจซ้ำทำให้เกิดการวินิจฉัย การรักษาที่ล่าช้าและผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน นำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงต่อผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดี ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่นานขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉิน และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องที่กลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงในห้องฉุกเฉิน ในด้านการนอนโรงพยาบาลและการได้รับการผ่าตัด
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงสังเกตการณ์แบบ Case-control เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากบันทึกเวชระเบียนในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 มีนาคม 2565 การวิเคราะห์ใช้สถิติ Fisher’s exact test, t- test และ logistic regression
ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินที่เข้าเกณฑ์ศึกษามีทั้งหมด 318 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินและกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง 96 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้กลับมาตรวจซ้ำ 222 คน ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value <0.05 ได้แก่ อายุน้อยกว่าเท่ากับ 30 ปี (Adjusted odds ratio 3.95) อายุ 46-60 ปี (Adjusted odds ratio 5.54) อายุมากกว่า 60 ปี (Adjusted odds ratio 3.86) อาการปัสสาวะแสบขัดร่วม (Adjusted odds ratio 4.24) การวินิจฉัยครั้งแรกเป็นโรคลำไส้อักเสบ (Adjusted odds ratio 9.23) โรคทางนรีเวช (Adjusted odds ratio 9.16) โรคนิ่วทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Adjusted odds ratio 16.44) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการในการรักษาครั้งแรก (Adjusted odds ratio 2.48) ผลการรักษาของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินแล้วกลับมาตรวจซ้ำได้รับการนอนโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 32.29 และได้รับการผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 17.71
สรุปผลและข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่ทำให้กลับมาตรวจซ้ำของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉิน ได้แก่ อายุน้อยกว่าเท่ากับ 30 ปี อายุมากกว่า 45 ปี อาการปัสสาวะแสบขัดร่วม การวินิจฉัยครั้งแรกเป็นโรคลำไส้อักเสบ โรคทางนรีเวช และโรคนิ่วทางระบบทางเดินปัสสาวะ และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการในการรักษาครั้งแรก ผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาและการประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องในห้องฉุกเฉินเพื่อช่วยลดการกลับมาตรวจซ้ำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Cervellin G, Mora R, Ticinesi A, Meschi T, Comelli I, Catena F, et al. Epidemiology and outcomes of acute abdominal pain in a large urban Emergency Department: retrospective analysis of 5,340 cases. Ann Transl Med. 2016;4(19):362.
Saaristo L, Ukkonen MT, Laukkarinen JM, Pauniaho SK. The rate of short-term revisits after diagnosis of non-specific abdominal pain is similar for surgeons and emergency physicians - results from a single tertiary hospital emergency department. Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 20201;28(1):63.
Maharjan R, Joshi A, Thapa G. Prevalence and outcomes of unscheduled revisits within 72 hours of discharge from emergency department. Journal of Patan Academy of Health Sciences. 2021;8(1):36-43.
Sri-On J, Nithimathachoke A, Tirrell GP, Surawongwattana S, Liu SW. Revisits within 48 Hours to a Thai Emergency Department. Emerg Med Int. 2016;2016:1-5.
Yau FF, Yang Y, Cheng CY, Li CJ, Wang SH, Chiu IM. Risk Factors for Early Return Visits to the Emergency Department in Patients Presenting with Nonspecific Abdominal Pain and the Use of Computed Tomography Scan. Healthcare (Basel). 2021;9(11):1470.
Wu CL, Wang FT, Chiang YC, Chiu YF, Lin TG, Fu IT, et al. Unplanned emergency department revisits within 24 hours in a referral hospital. J Emerg Crit Care Med. 2008;19(4):146-53.
Wu CL, Wang FT, Chiang YC, Chiu YF, Lin TG, Fu LF, et al. Unplanned emergency department revisits within 72 hours to a secondary teaching referral hospital in Taiwan. J Emerg Med 2010;38(4):512-7.
Kachalia A, Gandhi TK, Puopolo AL, Yoon C, Thomas EJ, Griffey R, et al. Missed and delayed diagnoses in the emergency department: a study of closed malpractice claims from 4 liability insurers. Ann Emerg Med. 2007;49(2):196-205.
Cappendijk VC, Hazebroek FW. The impact of diagnostic delay on the course of acute appendicitis. Arch Dis Child. 2000;83(1):64-6
Srisuk P, Chanthawatthanarak S, Ussahgij W, Twinprai M, Thatphet P. Unscheduled revisits after diagnosis of abdominal pain at Emergency Department, Mukdahan Hospital. J Med Assoc Thai 2021;104(Suppl1):S40-3.
Liu SW. Risk factors of admission in 72-h return visits to emergency department. Tzu Chi Med J. 2021;33(2):169–74.