ปัจจัยที่มีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลเชียงแสน

Main Article Content

ณัฐดนัย มะลิวัน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การฝากครรภ์คุณภาพ หมายถึง การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตลอดระยะการตั้งครรภ์ โดยพบแพทย์หรือพยาบาลคลินิกฝากครรภ์ ได้รับการยืนยันอายุครรภ์ การตรวจร่างกายทั่วไป การให้คำแนะนำและการปฏิบัติตัว ตลอดการฝากครรภ์ เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุด การให้บริการฝากครรภ์ของโรงพยาบาลเชียงแสน ยังไม่มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล สถิติของการฝากครรภ์คุณภาพ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกช้าหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และปัจจัยที่อาจมีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลเชียงแสน


วิธีการศึกษา : ศึกษาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างเชิงวิเคราะห์ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย จากคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงรายตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - เดือนธันวาคม 2566 จำนวน 200 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามส่วนบุคคล จากผู้เข้าร่วมงานวิจัย และสมุดฝากครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square, t-test, multivariable logistic regression analysis กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05


ผลการศึกษา : ร้อยละของการมาฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลเชียงแสน เท่ากับ 40.50 อายุเฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ช้าหลัง 12 สัปดาห์เท่ากับ 21.37 6.13 ปี และปัจจัยที่มีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้าคือ  อายุหญิงตั้งครรภ์ที่น้อยกว่า 18 ปี (aOR=8.12, 95%CI=1.94-17.02, p= 0.001) สิทธิการรักษาประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและชำระเงิน (aOR=1.39, 95%CI=1.16-10.64, p= 0.001) เจตคติต่อการตั้งครรภ์และฝากครรภ์ที่ไม่ดี (aOR=6.24, 95%CI=1.08-24.69, p= 0.009) การรับรู้ผลเสียของการฝากครรภ์ช้าต่ำ  (aOR=3.41, 95%CI=1.24-19.86, p= 0.019)


สรุปผลและข้อเสนอแนะ : อุบัติการณ์ของการฝากครรภ์ช้า หรือฝากครรภ์ครั้งแรกหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลเชียงแสนเป็นร้อยละ 40.50 โดยปัจจัยที่มีผลต่อการฝากครรภ์ช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุน้อยกว่า 18 ปี  สิทธิการรักษาประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและชำระเงิน เจตคติต่อการตั้งครรภ์และฝากครรภ์ที่ไม่ดี และการรับรู้ผลเสียของการฝากครรภ์ช้าน้อย จึงควรนำปัจจัยดังกล่าวประกอบการพัฒนาเพื่อหาแนวทางลดการมาฝากครรภ์ช้า และพัฒนาระบบการฝากครรภ์คุณภาพต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Jaipeeng K. Factors associated with delayed initiation of antenatal care in pregnant women receiving services at La Phun Hospital [Master’s thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2011.

Haddrill R, Jones GL, Mitchell CA, Anumba DO. Understanding delayed access to antenatal care: a qualitative interview study. BMC Pregnancy Childbirth. 2014;14:207.

Siriworanchana P. Pregnancy care. In: Thongsong T, Wanaphirak C, editors. Obstetrics. Bangkok: P.B. Frenbus Center; 1998. p. 68-80

Suwannarat J. High-risk pregnancy: assessment of fetal health in the antenatal care unit. Songkhla: Faculty of Medicine Songklanagarin University; 2006.

Sawasdikamon S. Obstetrics: pregnancy care. Bangkok: Philivong; 2005.

Department of Health, HHDC Lampang. Antenatal care: Number of ANC visits by district [Internet]. Lampang: Health Center for Ethnic, Marginalized and Migrant Workers, Department of Health (HHDC Lampang); 2024 [update 2024 Apr 22; cited 2024 Apr 9]. Available from: https://hhdclampang.anamai.moph.go.th:8080/hhdcdashboard/hdc/anc12?year=2024

Acup W, Opollo MS, Akullo BN, Musinguzi M, Kigongo E, Opio B, et al. Factors associated with first antenatal care (ANC) attendance within 12 weeks of pregnancy among women in Lira City, Northern Uganda: a facility-based cross-sectional study. BMJ Open. 2023;13(7):e071165.

Srisuk R, Deoisres W, Sawatphanit W. Factors influencing initiation of antenatal care within the first 12 weeks of pregnancy among pregnant women visiting antenatal clinics in Phanat Nikhom District, Chonburi Province. Chonburi Hospital J. 2016;41(2):149-56.

Department of Health, Health Promotion Division. Maternal and child health standards. Nonthaburi: Health Promotion Division; n.d.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998;17(14):1623-34.

A study of factors related to late pregnancy by Dr. Chant Malai Kanok, Specialist Doctor, Health Promotion Hospital Center 7, Khon Kaen; 2017[cited 2023 Dec 20]. Available from: http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2561000801.docx

Klaomyong S. Obstetrics and gynecology: factors related to the quality of pregnancy in adolescent pregnant women [Master Thesis on the Internet]. Chonburi: Burapha University; 2020 [cited 2023 Dec 20]. Available from: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/58920245.pdf

Sungsongkiate S. Factor related to late attendance for antenatal care in pregnant women receiving service at community medical unit of Krabi hospital. Krabi Med J. 2018;1(2):13-23. Available from: https://thaidj.org/index.php/kmj/article/view/6599/6210