การใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองขององค์กรแพทยสภา
Main Article Content
บทคัดย่อ
แพทย์ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับการคาดหวังจากสังคมค่อนข้างสูง ว่าเป็นอาชีพที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานสูง เป็นที่พึ่งของผู้ป่วย แต่บางครั้งอาจถูกผู้ป่วยและญาติฟ้องร้อง เนื่องจากพบปัญหาผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือพบความความเสียหายทางการแพทย์ขึ้น
แพทยสภาเป็นองค์กรตามกฎหมาย แต่สถานะทางกฎหมายขององค์กรแพทยสภายังไม่มีความชัดเจนว่า เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หรือเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน การใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการแพทยสภาจึงเป็นได้หลายลักษณะ ซึ่งส่งผลต่อสิทธิของบุคคลผู้รับคำสั่ง โดยคำสั่งของแพทยสภาเกิดจากการใช้ดุลพินิจก่อนจะทำคำสั่ง และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากการกระทำและการออกคำสั่งของแพทยสภา
บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อนำเสนอ 1.สถานะในทางกฎหมายขององค์กรแพทยสภา 2.การออกคำสั่งทางปกครอง 3.วิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการแพทยสภา โดยพบว่า 1.แพทยสภาไทยเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง แม้ว่าจะไม่ใช่ฝ่ายปกครองโดยตรง 2.การออกคำสั่งทางปกครองจะต้องเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่อันเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จะต้องครบองค์ประกอบ 5 ประเด็น คือ (1)เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ (2) เป็นการใช้อำนาจรัฐ (3) เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมาย (4) เกิดผลเฉพาะกรณี (5) มีผลภายนอกโดยตรง 3.การใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการแพทยสภา เป็นการดำเนินการอันเป็นผลมาจากข้อร้องเรียนอันเกิดจากพฤติกรรมของสมาชิกแพทยสภาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับขององค์กร ทำให้แพทยสภาต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง และนำมาพิจารณาว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการประพฤติคลาดเคลื่อนจากมาตรฐานวิชาชีพด้านใด มีโทษอย่างใด แล้วดำเนินการออกคำสั่งในฐานะหน่วยงานที่ใช้อำนาจปกครอง หากสมาชิกไม่เห็นด้วยก็สามารถฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้โดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Singburudom S. Problems of administrative legal acts issued by the Medical Council [Master‘s thesis]. Faculty of Law. Bangkok: Ramkhamhaeng University;2000. (in thai)
Khomsan P. Analysis of the legal status of the Thai Medical Council. Administrative Court Academic Journal. 2017;17(3):1-16.
Wisarutpit W. Control of the use of administrative discretion by the judicial organization. Administrative Law Journal. 1989;8:41.
Thaweerotkulsri C. The use of discretion by officials according to laws related to imprisonment [Master‘s thesis]. Faculty of Law. Ramkhamhaeng University;2000. (in thai)
Wongsawatkul E. Discretionary power and the control and inspection of discretionary power. In: Study Guidelines for Courses "Higher Administrative Law”. Nonthaburi: Graduate Studies Field of Law study Sukhothai Thammathirat Open University; 2019.
Royal Institute. Dictionary of the Royal Institute. 2nd Edition. Bangkok: Nanmeebooks Publication; 2011. (in Thai)
Wisarutpit W.Control of the use of administrative discretion by the judicial organization.Botbandit,1991;(1)47
Rattanasakaowong K. Basic thoughts on administrative discretion in the Federal Republic of Germany. Botbundit,1986,42(3):32-53
Rattanasakaowong K. Principles of German Administrative Law. Bangkok: Nititham.1994.
Makbun K. Legal problems in the use of discretion by officials according to the Town Planning Act [Master‘s thesis]. Faculty of Law. Bangkok: Ramkhamhaeng University 2006. (in thai)
Aemkrit L. Legal problems regarding the determination of conditions and the exercise of discretion by the Consumer Protection Committee in accordance with consumer protection laws [Master‘s thesis]. Faculty of Law. Bangkok: Sripatum University;2016. (in thai)
Rattanasakaowong K. Administrative orders. In: Study guideline for the Advanced Administrative Law course, Unit 6. Nonthaburi: Graduate Studies Field of Law study Sukhothai Thammathirat Open University; 2019.
Wisarutpit W. Revocation of an administrative order by an official or supervisor of the official who issued the administrative order. 2nd edition. Bangkok: Textbook and teaching materials project. Faculty of Law Thammasat University;2016.
Sawangsak C. Explanation of the law regarding Administrative procedures. Printed no. 12. Bangkok:Winyuchon;2018.
Wongwattanasan C. Administrative Procedure Law, Bangkok: Jirarat Printing, 1997.
Kaenkham P. Issuance of administrative orders. Central Legal Information Center. Office of the Council of State. Bangkok: n.p.2020.
Office of the Council of State, Law Reform Commission. Introduction to the use of discretion by government officials. Bangkok: Office of the Council of State; 2019 [update 2019 Nov 29; cited 2024 Mar 21]. Available from: https://www.lawreform.go.th/index.php/post/674
Khomsan P. Ethical proceedings of the French Medical Council. Administrative Court Academic Journal. 2017;17(3):17-32.