การศึกษาระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับยาทางไปรษณีย์กับรับยาที่ ห้องตรวจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาลได้ตามปกติ การส่งยาทางไปรษณีย์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาที่น้อยถึงผลต่อระดับน้ำตาลระหว่างการรับยาทางไปรษณีย์ และการรับยาที่ห้องตรวจสุขภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่รับยาทางไปรษณีย์กับกลุ่มที่รับยาที่ห้องตรวจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลลำปาง
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานที่รับยาทางไปรษณีย์และกลุ่มที่รับยาห้องตรวจศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมือง กลุ่มละ 434 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา Fisher’s exact test, Independent t-test และ Multivariable gaussian regression
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งหมด 868 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 555 ราย (ร้อยละ 63.94) มีอายุมากกว่า 60 ปี 599 ราย (ร้อยละ 69.01) เมื่อวิเคราะห์ด้วย Multivariable Gaussian regression พบค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล FBS หลังติดตาม ของกลุ่มรับยาทางไปรษณีย์มีค่าน้อยกว่ากลุ่มรับยาที่ห้องตรวจ 1.25 mg/dl ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value = 0.562) และค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล HbA1c หลังติดตาม ของกลุ่มรับยาทางไปรษณีย์มีค่ามากกว่ากลุ่มรับยาที่ห้องตรวจ 0.12 mg% แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.063)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ระดับน้ำตาล FBS และ HbA1c ระหว่างการรับยาทางไปรษณีย์ และการรับยาที่ห้องตรวจสุขภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการส่งยาทางไปรษณีย์สามารถทดแทนการให้บริการและรับยาที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมืองได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas 2021, 10th edition [Internet]. Brussel: International Diabetes Federation;2021 [cited 2023 Nov 26]. Available from: https://diabetesatlas.org/
Aekplakorn W, Chariyalertsak S, Kessomboon P, Assanangkornchai S, Taneepanichskul S, Putwatana P. Prevalence of Diabetes and Relationship with Socioeconomic Status in the Thai Population: National Health Examination Survey, 2004-2014. J Diabetes Res. 2018;2018:1654530
Fowler MJ. Microvascular and macrovascular complications of diabetes. Clinical diabetes. 2011;29(3):116-22.
Banluekun T. Promma N. Factors relating to the quality of life of type II diabetes mellitus patients at primary care cluster Aranyaprathet, Sa Kaeo province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital. 2022;37(1):53-64.
Nitiyanant W. Diabetes and COVID-19. Diabetes Journal 2022;54(2):85-92.
Soonthorn S, Ngamkham S, Tanglakmankhong K, Wattanakul B, Wattanakul S. Assessing the results of the postal medication delivery service system for diabetes patients in the COVID-19 pandemic situation in Thailand. Nonthaburi: Health Systems Research Institute (HSRI); 2022.
Allen JC. Sample size calculations for two independent groups: a useful rule of thumb. Statistics. Proceedings of Singapore Healthcare 2011; 20(2): 138-40.
Chailak P, Sunongbua A. The outcome of diabetic patients care during the prevention of COVID-19 pandemic situation at Mueang Chaiyaphum primary care unit, 2020. Chaiyaphum Medical Journal 2021;41(1): 111-21.
Tankul S. Comparison of hemoglobin A1c levels in Type 2 diabetic patients betwee home delivery of medication service and outpatient department service during COVID-19 pandemic. Journal of Primary Care and Family Medicinen. 2022;5(2):123-31.
Cunha AS, Pedro AR, Cordeiro JV. Facilitators of and barriers to accessing hospital medical specialty telemedicine consultations during the COVID-19 pandemic: systematic review. J Med Internet Res. 2023;25:e44188.