การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การถอดท่อช่วยหายใจในเด็กโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรงมีความยุ่งยากซับซ้อน หากล้มเหลว หรือไม่สำเร็จ อาจทำให้พิการ เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นหรือถึงแก่ชีวิตได้ การพัฒนา และใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำจะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนา และศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ พยาบาลหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมจำนวน 13 คน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรง จำนวนทั้งหมด 154 ราย การศึกษาแบ่งออกเป็นสองช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ก่อนใช้แนวปฏิบัติ (เมษายน 2561-มีนาคม 2562) ช่วงที่ 2 หลังใช้แนวปฏิบัติ (เมษายน 2563-มีนาคม 2564) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรง 2) แบบประเมินความยาก-ง่ายในการนำไปใช้ และความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการถอดท่อช่วยหายใจ 3) แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ และ 5) แบบบันทึกผลลัพธ์การปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา และสถิติที
ผลการศึกษา : แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การประเมินความพร้อมก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจทุกวัน (2) การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (3) การประเมินก่อนถอดท่อช่วยหายใจโดยการทดสอบการรั่วและใช้แบบประเมิน CALMS criteria (4) การพยาบาลขณะถอดท่อช่วยหายใจ และ (5) การพยาบาลหลังถอดท่อช่วยหายใจ 2) ผลของการใช้แนวปฏิบัติพบว่า แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นสามารถปฏิบัติได้ง่ายมาก (คะแนนเฉลี่ย3.89+0.25) ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการถอดท่อช่วยหายใจ อยู่ในระดับที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งหมด (คะแนนเฉลี่ย 3.88+0.25) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการนำไปใช้ระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.69+0.63) เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติพบว่า ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001 และ p=0.050 ตามลำดับ) ส่วนอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ (p=0.070) อัตราการเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน (p=0.604) และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย (p=0.089) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำในเด็กป่วยด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลได้ จึงเสนอแนะให้ขยายผลนำไปใช้กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงทุกราย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Nascimento MS, Prado C, Troster EJ, Valério N, Alith MB, Lourenco de Almeida JF. Risk factors for post-extubation stridor in children: the role of orotracheal cannula. Einstein (Sao Paulo). 2015;13(2):226-31.
Valenzuela J, Araneda P, Cruces P. Weaning from mechanical ventilation in paediatrics. State of the art. Arch Bronconeumol. 2014;50(3):105-12.
Laham J, Breheny P. Extubations in the PICU – Where are we now?. J Intensive Crit Care. 2017;3(3):1-2.
Bunburaphong T. Respiratory care in clinical practice. 6th ed.Bangkok: Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; 2016.
Li W, An X, Fu M, Li C. Emergency treatment and nursing of children with severe pneumonia complicated by heart failure and respiratory failure: 10 case reports. Exp Ther Med. 2016;12(4):2145-9.
The Thai Society of Pediatric Respiratory and Critical Care Medicine, The Royal College Pediatricians of Thailand and Pediatric Society of Thailand. Clinical guidelines for acute respiratory infection in children 2019. Bangkok: Beyond Enterprise; 2019.
Araya S, Lovera D, Zarate C, Apodaca S, Acuña J, Sanabria G, et al. Application of a prognostic scale to estimate the mortality of children hospitalized with community-acquired pneumonia. Pediatr Infect Dis J. 2016;35(4):369-73.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1988.
Melnyk BM, Fineout-Overholt E. Evidence-based practice in nursing & healthcare:a guide to best practice.4th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer;2019.
Kneyber MCJ, de Luca D, Calderini E, Jarreau PH, Javouhey E, Lopez-Herce J, et al. Recommendations for mechanical ventilation of critically ill children from the Paediatric Mechanical Ventilation Consensus Conference (PEMVECC). Intensive Care Med. 2017;43(12):1764-80.
Newth CJ, Venkataraman S, Willson DF, Meert KL, Harrison R, Dean JM, et al. Weaning and extubation readiness in pediatric patients. Pediatr Crit Care Med. 2009;10(1):1-11.
Mikalsen IB, Davis P, Qymar K. High flow nasal cannula in children: a literature review. Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 2016;24:93.
Satcha T, Nakarit K. The development of nursing service system for tuberculosis patients in Ranong hospital. Journal of Nursing Division 2012;39(2):22-36.
Sricharoenchai T. High flow nasal cannula uses. In: Staworn D, Piyavechviratana K, Poonyathawon S, editors. ICU everywhere. Bangkok: The Thai Society of Critical Care Medicine; 2018.p.18-41.
Hernández G, Vaquero C, González P, Subira C, Frutos-Vivar F, Rialp G, et al. Effect of postextubation high-flow nasal cannula vs conventional oxygen therapy on reintubation in low-risk patients: a randomized clinical trial. JAMA. 2016;315(13):1354-61.
Yurtseven A, Saz EU. The effectiveness of heated humidified high-flow nasal cannula in children with severe bacterial pneumonia in the emergency department. J Pediatr Res. 2020;7(1):71-6.
Khemani RG, Hotz J, Morzov R, Flink R, Kamerkar A, Ross PA, et al. Evaluating risk factors for pediatric post-extubation upper airway obstruction using a physiology-based tool. Am J Respir Crit Care Med. 2016;193(2):198-209.
Khemani RG, Hotz J, Morzov R, Flink RC, Kamerkar A, LaFortune M, et al. Pediatric extubation readiness tests should not use pressure support. Intensive Care Med. 2016;42(8):1214-22.
Artime CA, Hagberg CA. Tracheal extubation. Respir Care. 2014;59(6):991-1005.
Nickson C. Extubation assessment in the ICU. 2020 Nov 3. In: Life in the fastlane [Internet]. Cadogan M, Nickson C, editors. [cited 2022 Apr 27]. [about 2 screens]. Available from: https://litfl.com/extubation-assessment-in-the-i
Thille AW, Richard JC, Brochard L. The decision to extubate in the intensive care unit. Am J Respir Crit Care Med. 2013;187(12):1294-302.
Kerdpitak S, Thampanichawat W, Nookong A. Factors related to success of weaning from mechanical ventilation in pediatric patients: a preliminary study. J Nurs Sci. 2014;32(2):32-40.