ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในหอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง เมื่อเทียบกับการฟื้นฟูแบบเดิม ที่โรงพยาบาลระดับชุมชน

Main Article Content

ภัทราวรรณ พลเหิม

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ได้เริ่มนโยบายการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่โรงพยาบาลชุมชน แต่ยังไม่ได้ทำการศึกษาประสิทธิผลในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ค่าบริการฟื้นฟูของผู้ป่วย และอัตราการจ่ายเงินคืนโรงพยาบาลแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เปรียบเทียบกับการฟื้นฟูแบบเดิม


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ค่าบริการฟื้นฟูของผู้ป่วยและอัตราการจ่ายเงินคืน สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง เทียบกับการฟื้นฟูแบบเดิมที่โรงพยาบาลระดับชุมชน


วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยในที่หอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง และการฟื้นฟูแบบเดิมในหอผู้ป่วยใน ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ถึง เมษายน 2564 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในวันที่ผู้ป่วยเข้านอนโรงพยาบาลวันแรก และทำการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันโดยแบบประเมินคะแนนบาร์เธล วันที่ผู้ป่วยเข้านอนโรงพยาบาลวันแรก วันที่ผู้ป่วยกลับบ้าน นัดติดตามหลังกลับบ้าน 3 เดือน และ 6 เดือน คำนวณประสิทธิผลของการฟื้นฟู รวบรวมข้อมูลค่าบริการฟื้นฟูของผู้ป่วย และอัตราการจ่ายเงินคืนโรงพยาบาลแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test, exact probability test, rank sum test กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ p<0.05 และปรับความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย multivariable mean difference regression analysis (Gaussian regression)


ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 105 ราย เป็นผู้ป่วยในที่หอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางจำนวน 55 ราย และผู้ป่วยในที่หอผู้ป่วยในจำนวน 50 ราย อายุเฉลี่ย  66.84±10.63 ปี ค่าประสิทธิผล และค่าบริการฟื้นฟูของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในหอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง เมื่อเทียบกับการฟื้นฟูแบบเดิมที่โรงพยาบาลชุมชนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในหอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางมีค่ามากกว่า (5.18±3.20 VS. 3.36±2.38 คะแนน, p=0.008 และ 13,384.16±7,878.11  VS. 4,332.83±4,023.37 บาทต่อราย, p< 0.001 ตามลำดับ) แต่อัตราการจ่ายเงินคืนโรงพยาบาลแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของผู้ป่วยที่หอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางมีจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูแบบเดิม (10,338.02±3,396.72 VS. 12,526.13±7,576.30 บาทต่อราย p=0.010)


สรุปและข้อเสนอแนะ:  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยในที่หอฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางมีค่าประสิทธิผลและค่าบริการฟื้นฟูของผู้ป่วยมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูแบบเดิมที่โรงพยาบาลระดับชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อัตราการจ่ายเงินคืนโรงพยาบาลแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม มีจำนวนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการฟื้นฟู  ค่าบริการฟื้นฟูของผู้ป่วยและอัตราการจ่ายเงินคืนโรงพยาบาลแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมโดยเฉพาะในบริบทของพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Global Health Estimates 2019: Top 10 global causes of death in 2019 [Internet]. Geneva: World Health Organization, 2019 [cited 2021 October 29]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/themes/mortality-and-global-health-estimates.

Public Health Statistics A.D. 2019 [Internet]. Nonthaburi: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health; 2020 [cited 2021 October 29]. Available from: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf.

World Stroke Day 2020 [Internet]. Nonthaburi: Division of non-communicable diseases, Department of disease control, Ministry of Public Health; 2021 [cited 2021 October 29]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21374&deptcode=brc.

Guideline for intermediate care [Internet]. Nonthaburi: Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute, Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2020 [cited 2021 October 29]. Available from: http://www.snmri.go.th/snmri_new/wp-content/uploads/2019/03/IMC.pdf.

Rønning OM, Guldvog B. Outcome of subacute stroke rehabilitation: a randomized controlled trial. Stroke. 1998;29:779-84.

Ozdemir F, Birtane M, Tabatabaei R, Kokino S, Ekuklu G. Comparing stroke rehabilitation outcomes between acute inpatient and nonintense home settings. Arch Phys Med Rehabil. 2001;82:1375-9.

Kuptniratsaikul V, Wattanapan P, Wathanadilokul U, Sukonthaman K, Lukkanapichonchut P, Ingkasuthi K, et al. The effectiveness and efficiency of inpatient rehabilitation services in Thailand: a prospective multi-center study. Rehabilitation Process and Outcome.2016;5:13-8.

Suksathien R, Chaiyaphan Y, Roongyoosiri C, Muangkham P. Outcomes of short-course inpatient stroke rehabilitation program in tertiary hospital: a pilot study. J Med Assoc Thai .2015; 98(11): 1139-44.

Pattanasuwanna P. Outcomes of intermediate phase post-stroke inpatient rehabilitation in community hospital. ASEAN J Rehabil Med. 2019; 29(1): 8-13.

Wattanapan P, Lukkanapichonchut P, Massakulpan P, Suethanapornkul S, Kuptniratsaikul V. Effectiveness of stroke rehabilitation compared between intensive and nonintensive rehabilitation protocol: a multicenter study. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2020;29(6):104809.