การเปรียบเทียบความแม่นยำระหว่าง SIRS, qSOFA และ NEWS ในการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วย ที่เข้ารับบริการใน ห้องฉุกเฉิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัญหาสำคัญที่มีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงและเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยทั่วโลก การใช้ เครื่องมือคัดกรองที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยให้สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำและให้การรักษาผู้ป่วยได้รวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การลดอัตราการเสียชีวิต และการนอนหอผู้ป่วยวิกฤติได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาที่เปรียบเทียบความแม่นยำว่าการใช้เครื่องมือคัดกรองทั้งสามชนิด ได้แก่ SIRS, qSOFA และ NEWS ว่าเครื่องมือใดมีความแม่นยำในการคัดกรองเพื่อการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากกว่ากันจึงจัดทำงานวิจัยนี้เพื่อหาเครื่องมือคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็วและเหมาะสมยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบความแม่นยำระหว่าง SIRS, qSOFA และ NEWS ในการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตาม SOFA criteria และคาดการณ์การนอนหอผู้ป่วยวิกฤติ และการเสียชีวิตใน 30 วันของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ prospective observational cohort study โดยทำการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินและมีโอกาสมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยพยาบาลคัดกรองจะกรอกข้อมูลคัดกรองตามเครื่องมือคือ SIRS, qSOFA, NEWS และส่งข้อมูลไปยังแพทย์ผู้รักษาในห้องฉุกเฉินและทำการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ติดเชื้อในกระแสเลือดเมื่อผู้ป่วยมีค่า SOFA มากกว่าหรือเท่ากับ 4 คะแนน หรือมีผลการเพาะเชื้อในกระแสเลือดเป็นบวก การนอนหอผู้ป่วยวิกฤติ และการเสียชีวิตใน 30 วัน
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาจำนวน 215 คน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องมือ พบว่า NEWS มีค่าความไวมากที่สุด (sensitivity 87.26) ด้านความจำเพาะเครื่องมือ (specificity) พบว่า qSOFA มีค่าความจำเพาะของเครื่องมือมากที่สุด (specificity 51.72) ด้านค่า positive predictive value (PPV) ของเครื่องมือพบว่า qSOFA มีค่ามากที่สุด (PPV 78.12) ด้าน negative predictive value (NPV) ของเครื่องมือพบว่า NEWS มีค่ามากที่สุด (NPV 45.95) ด้านค่า positive likelihood ratio (PLR) ของเครื่องมือ พบว่า qSOFA มีค่ามากที่สุด (PLR 1.26) และค่า negative likelihood ratio (NLR) ของเครื่องมือ พบว่า SIRS มีค่ามากที่สุด (NLR 0.96) และพบว่า qSOFA มีความสามารถในการคาดการณ์การเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ความแม่นยำในการคาดการณ์การนอนหอผู้ป่วยวิกฤติ และการเสียชีวิตมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือชนิดอื่น โดยพิจารณาจาก AUROC curves
สรุปและข้อเสนอแนะ : qSOFA เป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการการคาดการณ์การนอนหอผู้ป่วยวิกฤติและการเสียชีวิตมากกว่า SIRS และ NEWS จึงควรเลือกใช้ qSOFA เป็นอันดับแรกเพื่อช่วยให้สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำและให้การรักษาผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anan K. mortality rate in sepsis and severe sepsis, community-acquired [Internet]. Health Data Center, Ministry of Public Health Thailand.2021[cited 2021Nov18].Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=144fdf97a756b3f82dce197287e06316&id=00366a85bd3c2b6932a228df29137252.
Hayden GE, Tuuri RE, Scott R, Losek JD, Blackshaw AM, Schoenling AJ, et al. Triage sepsis alert and sepsis protocol lower times to fluids and antibiotics in the ED. Am J Emerg Med. 2016;34(1):1-9.
.Seymour CW, Gesten F, Prescott HC, Friedrich ME, Iwashyna TJ, Phillips GS, et.al. Time to treatment and mortality during mandated emergency care for sepsis. N Engl J Med. 2017 8;376(23):2235-44.
Tangsuwanaruk T, Wittayachamnankul B, Chenthanakij B. How does the length of time in the emergency department to achieve the therapeutic goals in patients with severe sepsis or septic shock affect the in-hospital all-cause mortality rate? Chiang Mai Medical Journal 2018;57(1):33-47.
Askim Å, Moser F, Gustad LT, Stene H, Gundersen M, Åsvold BO, et al. Poor performance of quick-SOFA (qSOFA) score in predicting severe sepsis and mortality - a prospective study of patients admitted with infection to the emergency department. Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 2017;25(1):56.
Finkelsztein EJ, Jones DS, Ma KC, Pabón MA, Delgado T, Nakahira K, et al. Comparison of qSOFA and SIRS for predicting adverse outcomes of patients with suspicion of sepsis outside the intensive care unit. Crit Care. 2017;21(1): 73.
Müller M, Guignard V, Schefold JC, Leichtle AB, Exadaktylos AK, Pfortmueller CA. Utility of quick sepsis-related organ failure assessment (qSOFA) to predict outcome in patients with pneumonia. PLoS One. 2017;12(12): e0188913.
Usman OA, Usman AA, Ward MA. Comparison of SIRS, qSOFA, and NEWS for the early identification of sepsis in the Emergency Department. Am J Emerg Med. 2019;37(8): 1490-97.
Smith GB, Prytherch DR, Meredith P, Schmidt PE, Featherstone PI. The ability of the National Early Warning Score (NEWS) to discriminate patients at risk of early cardiac arrest, unanticipated intensive care unit admission, and death. Resuscitation. 2013;84(4):465-70.
Churpek MM, Snyder A, Han X, Sokol S, Pettit N, Howell MD, et al. Quick sepsis-related organ failure assessment, systemic inflammatory response syndrome, and early warning scores for detecting clinical deterioration in infected patients outside theintensive care unit. Am J Respir Crit Care Med. 2017;195(7): 906–11.
González Del Castillo J, Clemente C, Candel FJ, Martín-Sánchez FJ. New sepsis criteria: do they replace or complement what is known in the approach to the infectious patient? Rev Esp Quimioter. 2017;30 Suppl 1: 48-51.